คนมองหนัง ดูใหม่ “October Sonata” 13 Oct 202013 Oct 2020 เพิ่งได้ดู “October Sonata รักที่รอคอย” รอบล่าสุด ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ นี่น่าจะเป็นการดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกในทศวรรษ 2560 ของผม หลังจากที่ผมวนเวียนดูมันอยู่รอบแล้วรอบเล่าเมื่อหนังเข้าฉายตอนปี 2552 และอีกหลายปีถัดมา พอมานั่งชมผลงานชิ้นเอกของ “สมเกียรติ วิทุรานิช” อีกครั้งในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระลอกใหม่ของการเมืองไทยพอดี ผมก็เกิดข้อสังเกต-คำถามใหม่ๆ ขึ้นมาราว 2-3 ประเด็น หนึ่ง คงเป็นเพราะได้มาดูหนังในวัยที่เพิ่มมากขึ้น (และอาจผนวกด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่แน่ชัดนัก) ผมเพิ่งรู้สึกชัดเจนว่า “October Sonata” นั้นมีความเป็น…
คนมองหนัง… ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน 6 Oct 20206 Oct 2020 (หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…
ข่าวบันเทิง 10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”? 26 May 202026 May 2020 วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…
คนมองหนัง ผู้สร้างและผู้ทำลายที่ชื่อ “Ema” 17 May 202017 May 2020 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=O57_XbgFL00 “Ema” คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ “พาโบล ลาร์เรน” ผู้กำกับชาวชิลี ที่มีผลงานสร้างชื่อ อาทิ “No” หนังว่าด้วยกระบวนการรณรงค์ก่อนการลงประชามติโค่นล้มเผด็จการ “ปิโนเชต์” และ “Jackie” ภาพยนตร์ชีวประวัติของ “แจ็กเกอรีน เคนเนดี้” หลังจากดู “Ema” จบ (หนังจะเผยแพร่ในเว็บไซต์ MUBI อีกราวครึ่งเดือน) ผมรู้สึกว่าลาร์เรนเก่งดี ที่สามารถหยิบฉวยเรื่องการเต้น เพศสภาพ ชนชั้น สถาบันครอบครัว ฯลฯ มาขยำรวมกัน…
คนมองหนัง 3 ประเด็นกับ “ชะตาธิปไตย” 5 Oct 20195 Oct 2019 https://www.youtube.com/watch?v=XjksMofqRPc จุดที่ชอบมาก ผมชอบวัตถุดิบหลักของหนังสารคดีเรื่องนี้ นั่นคือการไปตามติดชีวิตการหาเสียงเมื่อการเลือกตั้งปี 2554 ของหมอชลน่าน ศรีแก้ว หมอบัญญัติ เจตนจันทร์ หมอภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ เพื่อนนักเรียนแพทย์ศิริราช ซึ่งหันมาทำงานการเมืองคล้ายๆ กัน แต่ต่างพรรค ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับ/ผู้บันทึกเรื่องราว คือ คุณหมอเดชา ปิยะวัฒน์กูล จะตั้งใจหรือไม่ แต่ไปๆ มาๆ การตามติดสามคุณหมอนักการเมือง ได้นำไปสู่ผลลัพธ์สามแบบบนจอภาพยนตร์ หนังประสบความสำเร็จในการฉายภาพหมอชลน่านออกมาเป็นมนุษย์สามัญ (แบบลูกผู้ช้ายลูกผู้ชาย) ผู้เคยผ่านการสูญเสียสำคัญในวัยเยาว์ ผู้คลุกคลีใกล้ชิดเข้าถึงชาวบ้านด้วยสื่อกลางเช่นสุราและซองงานศพ ผู้เป็นมนุษย์ที่อาจไม่ได้มีแง่มุมความคิด/ทัศนคติชีวิตดีงามราวพระเอกไปเสียทุกเรื่อง (ผมคิดว่าเนื้อหาพาร์ตนี้จะนำไปสู่ข้อถกเถียงมากพอสมควร…
ในน้ำเน่ามีเงาจันทร์ “ภาพยนตร์ร้อยกรอง” กับกระบวนการทางการเมือง 11 Apr 201911 Apr 2019 https://www.youtube.com/watch?v=e3gS7BDmZlw "โลกนี้มีทั้งภาพยนตร์ร้อยแก้วและภาพยนตร์ร้อยกรอง ซึ่งภาพยนตร์ประเภทหลังนั้นมีความข้องเกี่ยวกับการเมืองอยู่เสมอ เนื่องเพราะมันทำงานผ่านการตั้งคำถาม และเมื่อคุณเริ่มต้นครุ่นคิดอะไรบางอย่างภายในหัวของตนเอง กระบวนการทางการเมืองก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว" อลิซ โรห์วาเคอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน ("Happy as Lazzaro" ผลงานเรื่องล่าสุดของเธอได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2018) ที่มาเนื้อหา https://www.theguardian.com/film/2019/mar/31/alice-rohrwacher-italian-film-director-interview-happy-as-lazzaro เครดิตภาพประกอบ Simona pampallona [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)]
คนมองหนัง “มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก 3 Apr 20193 Apr 2019 รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…
คนมองหนัง แสงกระสือ: “หมู่บ้าน” และ “ตำนานปรัมปรา” ในหนังไทยยุคใหม่ 27 Mar 201927 Mar 2019 หนึ่ง ในบางแง่ “แสงกระสือ” ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านภาพลักษณ์ “ใหม่หมดจด” แม้จะมีบางองค์ประกอบของงานโปรดักชั่นที่แลดู “ใหม่” ตรงกันข้าม ท้องเรื่องของหนังนั้นย้อนไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนที่รูปลักษณ์ของ “ผีกระสือ” ซึ่งพวกเราคุ้นเคยจะก่อกำเนิดเสียอีก) ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ก็แสดงความเคารพต่อหนัง/ละคร “ผีกระสือ” รุ่นเก่าๆ อย่างไม่ปิดบัง ตั้งแต่การอ้างอิงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างของผีประเภทนี้ ไปจนถึงการปรากฏตัวของนักแสดงอาวุโส “น้ำเงิน บุญหนัก” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเคียงคู่กับเรื่องราวของ “กระสือ” ในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทย สอง ถ้าถามว่ามีอะไร “ใหม่” บ้างหรือไม่ในเนื้อหาของ “แสงกระสือ”?…
คนมองหนัง 4 หนังที่นึกถึง ก่อนเลือกตั้ง 24 มีนา 23 Mar 201923 Mar 2019 หลายวันก่อน เห็น The Matter ทำสกู๊ป “ก่อนเลือกตั้งดูอะไร หนังเรื่องไหนที่คนในแวดวงหนังไทยชวนดู” เลยลองมานั่งทำลิสต์เล่นๆ ดูบ้างว่า ถ้าให้คิดอย่างไวๆ มีหนังเรื่องไหนที่ตัวเองนึกถึงก่อนหน้าการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ October Sonata รักที่รอคอย เหตุผลที่นึกถึงหนังไทยอันยอดเยี่ยมเรื่องนี้ ก็เพราะผลงานของ “สมเกียรติ์ วิทุรานิช” ได้เน้นย้ำให้เราตระหนักว่าการต่อสู้ทางอุดมการณ์การเมืองนั้นเป็นการต่อสู้ในทางยาว ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ และเราอาจไม่ได้มองเห็นหรือลิ้มรสความสำเร็จของมันในชั่วชีวิตของตนเอง แม้จะน่าท้อถอยเหนื่อยหน่าย แต่ในทางกลับกัน การท่องไปบนเส้นทางการต่อสู้อันยาวไกลดังกล่าวก็ต้องอาศัยความอดทน (ที่จะรอคอย)…
คนมองหนัง “โลกเฉพาะ?” ใน The Favorite 28 Feb 201928 Feb 2019 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LwF0x0jBefA ชอบรูปแบบการคลี่คลายตัวของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตัวละครสตรีสามรายในหนังเรื่องนี้ เริ่มจาก “เลดี้ซาร่าห์” ที่เหมือนจะมีบทบาทครอบงำ “ควีนแอนน์” แล้ว “เลดี้อบิเกล” ก็ผงาดขึ้นมากำจัดโค่นล้ม “เลดี้ซาร่าห์” แต่ท้ายสุด หนังก็ชวนตั้งคำถามว่า “เลดี้อบิเกล” เข้ามาแทนที่ “เลดี้ซาร่าห์” ในฐานะอะไรกันแน่? คู่รัก/คนโปรด? ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเบื้องหลังราชินี? หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆ” ที่เป็นลูกจำลอง/ของเล่น/เบี้ยล่าง ซึ่งอาจมีชะตากรรมแปรผันไปตามอารมณ์อันผันผวนของ “ควีนแอนน์”? เพราะหลังจากมีบทบาทในเชิง “ตั้งรับ/ถูกชักจูง” เป็นส่วนใหญ่ มาตลอดทั้งเรื่อง ตัวละคร “ควีนแอนน์” กลับแสดงบทบาทในฐานะ…