บันทึกถึง Afterimage, Toni Erdmann และ Nocturama

Afterimage (Andrzej Wajda) หนังเปิดเทศกาล European Union Film Festival 2017 จะว่าไปแล้ว หนังไม่ได้อยู่ในระดับ "ดีมาก" นอกจากนี้ ไม่แน่ใจด้วยว่าเรื่องราวของหนังที่อิงมาจากชีวิตของคนจริงๆ มันสอดคล้องต้องตรงกับ "เรื่องจริง" ขนาดไหน? แต่ประเด็นหลักของหนังนั้น "ทรงพลัง" อย่างมาก หนังเล่าเรื่องราวชีวิตของ Władysław Strzemiński จิตรกรเอกแนวอาวองการ์ด ที่ช่วงชีวิตของเขาดำเนินไปท่ามกลางการปฏิวัติรัสเซีย-สงครามโลก-สงครามเย็น หนังแสดงให้เห็นวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงของ Strzemiński จากการเป็นศิลปินที่เลือกทำงานรับใช้ระบอบการเมือง (สหภาพโซเวียต) มาสู่การเป็นครูสอนศิลปะที่เชื่อว่าศิลปะกับการเมืองควรมีระยะห่างจากกัน…

เมื่อ “อุทัยเทวี” จวนจะปิดกล้อง ส่วนจักรๆ วงศ์ๆ เก่าเล่าใหม่คิวถัดไป คือ “เทพสามฤดู”

ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าละครจักรๆ วงศ์ๆ ช่วงเช้าเสาร์-อาทิตย์ทางช่อง 7 เรื่องปัจจุบันอย่าง "อุทัยเทวี" นั้นกำลังจวนจะปิดกล้องและถึงคราอำลาจอ และก็เป็นที่คอนเฟิร์มแล้วเช่นกันว่า ละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องใหม่ (แต่แฟนๆ น่าจะคุ้นเคยชื่อเสียงเรียงนามกันเป็นอย่างดี) ซึ่งจะมาต่อคิวฉายเป็นลำดับถัดไป ก็คือ "เทพสามฤดู" ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากอินสตาแกรมของ "สามเศียร" บริษัทผู้สร้างละครจักรๆ วงศ์ๆ หนึ่งเดียวของช่อง 7 (https://www.instagram.com/samsearn/) ก่อนหน้านี้ ทางดาราวิดีโอ-ดีด้า-สามเศียร เคยผลิต "เทพสามฤดู" ลงจอช่อง 7 มาแล้วสองหน…

“ฉลาดเกมส์โกง”: เครื่องรางในห้องสอบ, ข้อสอบชอยส์ในมหา’ลัย และ โหยวตั้นจือ

คงไม่เขียนวิจารณ์เจาะลึกอะไรมากมาย เพราะหลายคนเขียนกันไปหมดแล้ว พร้อมๆ กับการที่รายได้ของหนังทะลุหลักร้อยล้าน แต่อยากจะเขียนถึง 3 ประเด็นในหนังเรื่องนี้ ที่สัมผัสกับประสบการณ์ส่วนตัวของตนเอง ข้อแรก จะมีฉากเล็กๆ ฉากหนึ่งที่ผมชอบมากๆ คือ ฉากที่ "ลิน" เข้าห้องน้ำก่อนเข้าห้องสอบที่ออสเตรเลีย แล้วทำท่ายกมือไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรบางอย่าง ซึ่งมันสวนทางกับบุคลิก "เด็กเนิร์ด เด็กเรียน หัวสมัยใหม่" ที่ผ่านมาของเธอพอสมควร ตรงนี้ ทำให้ผมคิดถึงตัวเองตอนเด็กๆ เหมือนกัน จำได้ว่าก่อนขึ้นประถมศึกษา ตัวเองเคยไปเที่ยวญี่ปุ่นกับครอบครัว แล้วที่บ้านก็ซื้อ "เครื่องราง" ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา ให้ผม…

ความรู้สึกหลังดู “ทวิภพ” ฉบับ “สุรพงษ์ พินิจค้า” เวอร์ชั่น “Director’s Cut” รอบสอง

1. เป็นการดูรอบสองที่โรงหนังศรีศาลายา หลังจากเคยดูเมื่อครั้งที่หนังเวอร์ชั่นนี้เข้าฉาย ณ House RCA เมื่อหลายปีก่อนโน้น การฉายที่ศรีศาลายาเหมือนจะมีปัญหาเรื่องระบบเสียงหน่อยนึง เวลาตัวละครที่รับบทโดย "นิรุตติ์ ศิริจรรยา" พูด (ประโยครูปแปลกๆ ด้วยเสียงที่อยู่ในลำคอ) จึงค่อนข้างฟังลำบากอยู่พอสมควร 2. แต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าตัดปัญหาเรื่องเสียงออกไป ผู้ชมยังสัมผัสได้ถึง "พลังเต็มเปี่ยม" ของหนังเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่า "ทวิภพฉบับสุรพงษ์" นั้น เป็นหนังไทยที่ "ทะเยอทะยาน" จริงๆ ทั้งในแง่การกล้าลงทุนสร้างหนังแบบนี้ (แต่ผลตอบรับกลับสวนทางกับทุนสร้างแบบสุดๆ) ซึ่งถ้ามองจากยุคปัจจุบัน…

หนังสั้นไทย “500,000 ปี” ได้รับรางวัลจากเทศกาล “Oberhausen” ที่เยอรมนี

เทศกาลภาพยนตร์สั้น Oberhausen ครั้งที่ 63 ซึ่งนับเป็นเทศกาลหนังสั้นที่เก่าแก่และสำคัญของประเทศเยอรมนี เพิ่งจะปิดฉากไปเมื่อวานนี้ มีข่าวน่ายินดีว่าหนังสั้นไทยเรื่อง "500,000 ปี" ผลงานการกำกับ "ชัยศิริ จิวะรังสรรค์" ได้รับรางวัล "Principal Prize" ซึ่งเป็นรางวัลสำคัญลำดับที่สองในสายการประกวดนานาชาติ จากเทศกาลในครั้งนี้ด้วย คณะกรรมการระบุว่า "500,000 ปี" คือ ภาพยนตร์การเมืองที่ลึกซึ้งและชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตรึกตรองอย่างงดงาม ซึ่งได้สำรวจตรวจสอบถึงสภาพการณ์ที่ความทรงจำถูกก่อร่างสร้างขึ้นโดยประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ, อนุสาวรีย์, ภาพยนตร์ และความรุนแรง ทั้งนี้ ชัยศิริไม่ได้เดินทางไปรับรางวัลด้วยตนเอง แต่เขาได้ส่งข้อความไปขอบคุณคณะกรรมการและเทศกาล…

จับตา “หนัง (จาก/เกี่ยวกับ) อาเซียน” ในเทศกาลคานส์ 2017

นอกจากในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 2017 จะมีหนังเกี่ยวกับคุกไทยเรื่อง "A Prayer Before Dawn" ของผู้กำกับชาวฝรั่งเศส "Jean-Stéphane Sauvaire" เข้าฉายนอกสายการประกวดหลัก ในโปรแกรม "Midnight Screening" แล้ว (คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่) ยังมีหนังจาก (หรือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าสนใจอีกจำนวนหนึ่งในเทศกาลคานส์ปีนี้ เริ่มต้นด้วย "The Venerable W." ผลงานภาพยนตร์สารคดีโดย "Barbet Schroeder" นักทำหนังอาวุโสเชื้อสายอิหร่านชาวสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะได้ฉายนอกสายการประกวดในโปรแกรม "Special Screenings"…

คิดนู่นคิดนี่ หลังได้ไปดู “Baahubali 2: The Conclusion”

หนึ่ง แน่นอน หนังสนุก มันส์ ดีงาม เวอร์วังอลังการ ตามท้องเรื่อง เอาเป็นว่านี่คือการใช้เวลาประมาณสามชั่วโมงในโรงภาพยนตร์ที่เพลิดเพลินและคุ้มค่ามากๆ สอง แต่มันก็มี "จุดต่าง" บางประการ ระหว่างหนังภาคแรกกับภาคสอง ที่ทำให้ผมชอบภาคแรกมากกว่าอยู่นิดๆ ประเด็นหลักสำคัญในหนังภาคสอง คือ การอธิบายถึงความสัมพันธ์สามเส้าระหว่าง "ผู้ปกครอง>>อำนาจ<<ประชาราษฎร" และชี้ว่าความพลั้งผิดของผู้ปกครอง อาจนำไปสู่ "การปฏิวัติ" ลุกฮือโดยประชาราษฎรได้ง่ายๆ (ตัวอย่างความผิดพลาดที่หนังนำเสนอได้อย่างน่าประทับใจ คือ การตัดสินใจผิดของ "สิวะกามี" มหารานีผู้เปรื่องปราด ขุนนางสอพลอคนหนึ่งถึงกับเคยกล่าวสรรเสริญว่าพระศิวะอาจ "พลาด" ได้…

Birdshot: เมื่อ “คดีนกประจำชาติตาย” สำคัญกว่า “คดีคนถูกอุ้มหาย”

หนึ่ง "Birdshot" เป็นหนังฟิลิปปินส์ ผลงานการกำกับของ "มิคาอิล เรด" คนทำหนังรุ่นใหม่วัยยี่สิบกลางๆ หนังเพิ่งคว้ารางวัล Special Mention (รางวัลชมเชย) จากเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ครั้งล่าสุด ย้อนไปเมื่อปลายปีก่อน Birdshot ก็ได้รับรางวัล Best Asian Future Award จากเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016 (รางวัลเดียวกับทึ่ "มหาสมุทรและสุสาน" เคยได้รับเมื่อปี 2015) ถึงจะเป็นหนังรางวัล/หนังเทศกาล แต่ Birdshot ก็ไม่ใช่หนังอาร์ตดูยาก…