“มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก

รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…

แสงกระสือ: “หมู่บ้าน” และ “ตำนานปรัมปรา” ในหนังไทยยุคใหม่

หนึ่ง ในบางแง่ “แสงกระสือ” ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านภาพลักษณ์ “ใหม่หมดจด” แม้จะมีบางองค์ประกอบของงานโปรดักชั่นที่แลดู “ใหม่” ตรงกันข้าม ท้องเรื่องของหนังนั้นย้อนไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนที่รูปลักษณ์ของ “ผีกระสือ” ซึ่งพวกเราคุ้นเคยจะก่อกำเนิดเสียอีก) ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ก็แสดงความเคารพต่อหนัง/ละคร “ผีกระสือ” รุ่นเก่าๆ อย่างไม่ปิดบัง ตั้งแต่การอ้างอิงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างของผีประเภทนี้ ไปจนถึงการปรากฏตัวของนักแสดงอาวุโส “น้ำเงิน บุญหนัก” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเคียงคู่กับเรื่องราวของ “กระสือ” ในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทย สอง ถ้าถามว่ามีอะไร “ใหม่” บ้างหรือไม่ในเนื้อหาของ “แสงกระสือ”?…

Short Note: หนังใหม่น่าสนใจที่ได้ดูในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2562

(หมายเหตุ 1-2 ปีหลัง ผมจะเขียนบันทึกสั้นๆ ถึงหนังที่ได้ดูไว้ในเฟซบุ๊กส่วนบุคคล แต่ไม่ได้ตั้งค่าเปิดเผยต่อสาธารณะ ปีนี้ เลยอยากทดลองนำบางส่วนของโน้ตเหล่านั้นมาปรับปรุงและเผยแพร่ในวงกว้างผ่านบล็อก อย่างไรก็ตาม สำหรับหนังเรื่องไหนที่ผมชอบมากและสามารถเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ยาวๆ ได้ ก็จะนำไปแยกเขียนเป็นชิ้นงานต่างหากเหมือนที่เคยทำครับ) Spider-Man: Into the Spider-Verse หนังสนุกและน่าสนใจดี แม้จะยังรู้สึกว่าถ้าประเด็นหลักของหนังคือการชู “พหุนิยม” หนังก็ยังแค่แตะๆ ประเด็นดังกล่าว และคลี่คลายมันอย่างง่ายๆ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เข้าท่าดีเหมือนกัน ที่แสดงให้เห็นว่า "สไปเดอร์แมน" จากจักรวาลที่หลากหลาย อาจไม่ได้มารวมตัวปฏิบัติภารกิจยิ่งใหญ่ร่วมกันเพื่อคุณค่าอย่างอื่น นอกเสียจากการปกป้องผลประโยชน์เฉพาะ/จักรวาลของตนเอง ก่อนที่ทั้งหมดจะแยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน…

“สิงสู่”: “หนังผี” และ/หรือ “หนังการเมือง”

(เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) ไปไกลกว่า “ไลท์โนเวล” https://www.youtube.com/watch?v=Smg3sicyLh4 ระยะหลังๆ ผมมักรู้สึกว่า “วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง” ซึ่งทำหนังและเขียนนิยายควบคู่กันไป ดูจะได้รับอิทธิพลจากงานแนว “ไลท์โนเวล” มาอย่างเด่นชัด การบอกว่าหนังของวิศิษฏ์มีลักษณะเป็น “ไลท์โนเวล” มิได้หมายความว่างานเหล่านั้นเป็นหนังไม่ดี หรือมีความอ่อนด้อยทางศิลปะ ตรงกันข้าม งานแบบ “ไลท์โนเวล” มักห่อหุ้มไว้ด้วยพล็อตเรื่อง บุคลิกลักษณะตัวละคร หรือรายละเอียดเกร็ดข้อมูลประกอบเรื่องราว ที่น่าตื่นตาตื่นใจบางอย่าง ขณะเดียวกัน สารที่ดำรงอยู่ภายในก็ต้องถูกนำเสนอออกมาอย่างคมชัด กระชับง่าย มีคำตอบให้แทบทุกปมปัญหาในเรื่องราว หรือต้องคลี่คลายสะสางความซับซ้อนยุ่งเหยิงทั้งหลายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยในตอนท้าย ลักษณะเด่นประการหลังนี่เองที่อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าเสียดายในผลงานยุคหลังของวิศิษฏ์อยู่บ้าง ตั้งแต่หนัง-นิยาย…

บันทึกถึง “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2”

(เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=vtscThMjc8s ขอเริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่ค่อยชอบก่อน ประการแรก รู้สึกว่าโครงสร้างเรื่องราวในภาคนี้มันคมชัดเป็นระบบน้อยลง เมื่อกรอบโครงความคิดที่เคยแข็งแกร่งของหนังคล้ายจะอ่อนแอลงหรือไม่ถูกเน้นย้ำ การถ่ายทอดภาพรวมหรือภาพแทนของหมู่บ้าน/ชุมชน/สังคมอีสานร่วมสมัยในมุมมองเชิงวิพากษ์ ซึ่งโดดเด่นมากๆ ในสองภาคแรก จึงเลือนรางลงไปด้วย ประการต่อมา เห็นด้วยว่านี่คือหนังภาค “2.2” ไม่ใช่ “3” เพราะหนังใช้เวลามากพอสมควรในการเล่าเรื่องราวที่ย้อนกลับหรือทับซ้อนคาบเกี่ยวกับหลายเหตุการณ์ในภาค “2.1” โดยส่วนตัวแอบรู้สึกว่าการออกสตาร์ทประเด็นใหม่ๆ ของ “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2” นั้นเริ่มต้นช้าไปนิด สอง เมื่อ “ไทบ้านฯ 2.2” ไม่เน้นโครงสร้างหรือภาพกว้าง นี่จึงเป็นหนังที่เล่าเรื่องราวผ่านการลงรายละเอียดชีวิตของบรรดาตัวละครหลักๆ…

ว่าด้วย “เปรมิกาป่าราบ”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LHqxwIci6-c โอเค หนังมันวางตัวเองเป็น "หนังผี/ตลกเกรดบี" แบบชัดเจน ซึ่งก็สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีพอสมควร อาจมีจุดสะดุดหรือขรุขระอยู่บ้างตามรายทาง แต่ไม่ทำให้โจทย์รวมๆ ของตัวหนังหันเหผิดเพี้ยนไปเท่าไหร่ นอกจากนี้ "เปรมิกาป่าราบ" เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า "ตระกูลหนังผี/ตลกแบบไทยๆ" นั้น มันอาจไม่ใช่ "ข้อจำกัด" หรือ "เพดาน" อะไรบางอย่างเสียทีเดียว แต่หากฉวยใช้มันให้เป็น มันก็อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปิด "โอกาส" ให้คนทำได้พูดถึงประเด็นที่ไม่สามารถถูกบอกเล่าได้อย่างเป็นปกตินักในพื้นที่สื่อบันเทิงไทยทั่วไป สอง แต่ถามว่าประเด็นของ "เปรมิกาป่าราบ" มันแหลมคมมากมายไหม? มันก็ไม่ได้คมคายแปลกใหม่อะไรมากมายนัก ประเด็นหลักๆ…

“เพื่อน..ที่ระลึก” อีกหนึ่ง “ลักษณะอาการ” ของ “หนังไทยหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง”

หนึ่ง เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 มีโอกาสไปร่วมฟังงานประชุมวิชาการด้านภาพยนตร์ศึกษาครั้งที่ 7 จัดโดยสถาบันหนังไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยส่วนตัว หนึ่งในการนำเสนอที่น่าสนใจมากๆ ของงานวันนั้น ก็คือ งานวิชาการหัวข้อ “จาก ‘โหยหา’ ถึง ‘โมโห’: เมื่อ ‘ตลกเตะฝรั่ง’ ในบริบทภาพยนตร์ไทยหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ศ.2540-2546)” โดยอิทธิเดช พระเพ็ชร นักศึกษาปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็นหลักที่อิทธิเดชนำเสนอ คือ ลักษณะเด่น…

“น้องฮัก”: ผีใบ้หวย, วงจรแห่งความอาฆาตแค้น, ลำดับชั้นการขูดรีด และสังคมลาวที่เปลี่ยนแปลง

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=euvEXRBn-BY โดยส่วนตัวยังรู้สึกงงๆ กับตรรกะของบรรดา "ผี" ใน "น้องฮัก" อยู่เล็กน้อย คำอธิบายเรื่อง "กระบวนการเห็นผี" ของตัวละครนำรายหนึ่งของหนังนั้น มา "ชัดเจน" เอาตอนบทสรุปสุดท้าย ตรงส่วนนี้ไม่มีปัญหาคาใจใดๆ แต่ผมยังแอบบสงสัยนิดนึงว่าทำไม "(ว่าที่) ผี" จึงต้องพากันมาใบ้หวยผ่านตัวละครรายนั้น (เธอและคนใกล้ตัวเคยช่วยเหลือหรือมีสายสัมพันธ์กับพวกเขาหรือ? ก็เปล่า ยกเว้นกรณีท้ายสุด) นอกจากนี้ ถ้าคิดแบบตัดพ้อ เราก็อาจรู้สึกได้ว่าทำไม "อำนาจเหนือธรรมชาติ" จึงยอมตกเป็น "เครื่องมือ" ให้ "คนตาดี"…

ว่าด้วย “สยามสแควร์”

"สยามสแควร์" กับ "The Inerasable" ระหว่างดู "สยามสแควร์" ผมนึกถึงหนังญี่ปุ่นเรื่อง "The Inerasable" (Yoshihiro Nakamura) อยู่รางๆ เพราะทั้งสองพยายามเล่นกับ "พื้นที่" "เวลา" และประเด็น "ผีในผี" เหมือนๆ กัน ในแง่ "พื้นที่" ทั้ง "สยามสแควร์" และ "The Inerasable" คล้ายจะเริ่มต้นด้วยการ "ตรึงผี" ไว้ ณ…

สะใภ้บรื๋อ..อ์อ์ : “หน้าที่” ของหนังผีตลกในสังคมไทย

ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคปเมื่อ 7-8 ปีก่อน นำมาเผยแพร่อีกครั้งเนื่องในวาระที่ "ธนิตย์ จิตนุกูล" มีอายุครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 นักดูหนังจำนวนหนึ่งในสังคมไทย อาจจะรู้สึกยี้กับบรรดาหนังผี ตลก กะเทย ซึ่งถูกผลิตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ว่าเป็นความบันเทิงอันซ้ำซากและไร้คุณค่าทางศิลปะ เพราะหนังเหล่านั้นไม่ต้องตรงกับรสนิยม โลกทัศน์และชีวทัศน์ของพวกตน ในวันแห่งความรักที่เพิ่งผ่านมา หนังผีตลกอีกเรื่องหนึ่งก็มีโอกาสได้ลงโรงฉายอย่างเงียบๆ หนังเรื่องดังกล่าวคือ "สะใภ้บรื๋อ..อ์อ์" ผลงานร่วมกำกับของธนิตย์ จิตนุกูล และ เสรี พงศ์นิธิ…