ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน

(หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…

บันทึกถึง “แผลเก่า” ของ “เชิด ทรงศรี” (ฉบับบูรณะใหม่)

หนึ่ง สิ่งแรกเลยที่ตื่นตะลึง คือ ความงดงามของ “นันทนา เงากระจ่าง” จะนิยามว่านี่คือ “ความสวยแบบไทยๆ” ได้หรือเปล่า? ก็ไม่ค่อยแน่ใจ แต่อย่างน้อย นี่เป็น “ความสวยงาม” ที่หาได้ยากมากใน “วัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหว” นานาชนิดของสังคมไทยยุคปัจจุบัน ซึ่งคอนเซ็ปท์เรื่อง “ความสวย” ของสตรีได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว พอเห็นหน้าคุณนันทนา ก็นึกถึงประเด็นหนึ่งขึ้นมาได้ คือ ในวัยประมาณ 8-9 ขวบ ผมมีโอกาสไปวิ่งเล่นอยู่ใกล้ๆ กองถ่ายภาพยนตร์ “ทวิภพ” ของคุณเชิด และติดตากับรูปลักษณ์ที่สวยเด่นของ “จันทร์จิรา…

บันทึกหลังดูหนัง “[นิรโทษกรรม จำเลยคดี ๖ ตุลา]”

https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/videos/1257150591001805/?hc_ref=PAGES_TIMELINE   หนึ่ง ที่มาของหนังน่าสนใจดี คือ มาจาก "วีซีดี" แผ่นหนึ่ง จากหลายแผ่น ที่แจกมาพร้อมกับหนังสืองานศพของ "พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์" เมื่อคุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ไปค้นพบ เลยนำมาให้หอภาพยนตร์ ก่อนที่ตัวหนังจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2559" ส่วนชื่อ [นิรโทษกรรม จำเลยคดี ๖ ตุลา] นั้น หอภาพยนตร์ตั้งขึ้นมาเอง เนื่องจากวีซีดีไม่ได้ระบุชื่อ/หัวข้อของ…

ข้อสังเกตเพิ่มเติมถึง “ดาวคะนอง” (หลังดูรอบสอง): เห็ด รา และ “ประวัติศาสตร์” แบบใหม่ๆ

หมายเหตุ เป็นข้อสังเกตเพิ่มเติม ที่ช่วยขยับขยายความเข้าใจ "ส่วนตัว/เฉพาะตัว" ของผู้เขียนเอง และไม่ได้เป็นข้อสังเกต "ใหม่" เสียทีเดียว ว่าด้วยเห็ด, รา และวรรคทองของหนัง ตอนดูรอบแรก ผมไม่เข้าใจเลยว่า "เห็ด-รา" มีความหมายและหน้าที่อย่างไรในหนังเรื่องนี้ ระหว่างดูรอบสอง จึงเริ่มเห็นนัยยะของ "สิ่งมีชีวิต" เหล่านี้มากขึ้น หลังหนังจบ มีคนถามคุณใหม่ อโนชา ผู้กำกับ ในประเด็นนี้พอดี ซึ่งคุณใหม่ตอบราวๆ ว่า "เห็ด-รา" สื่อให้เห็นถึงสิ่งมีชีวิตที่เติบโตขึ้นมาจากความย่อยสลาย ผุพัง รวมทั้งยังแสดงให้เห็นถึง…

รวมสกู๊ป-งานเขียนเกี่ยวกับ “ดาวคะนอง” จากมติชนสุดสัปดาห์ สองฉบับล่าสุด

รู้จัก "ผู้กำกับฯ ดาวคะนอง" อีกหนึ่งหนังประวัติศาสตร์ "6 ตุลาฯ" (มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 ตุลาคม 2559) คอลัมน์นี้เคยกล่าวถึงข่าวคราวของ "ดาวคะนอง" ภาพยนตร์โดย "อโนชา สุวิชากรพงศ์" ไปบ้างแล้ว แต่หากจะให้ทบทวนอีกครั้ง ก็คงสามารถบอกคร่าวๆ ได้ว่า "ดาวคะนอง" คือ "หนังการเมือง" ที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทว่า อโนชาได้เลือกที่จะพร่าเลือนองค์ประกอบทางการเมืองในหนัง ผ่านการสร้างกรอบโครงที่มุ่งครุ่นคิดถึงประเด็นว่าด้วยพลังอันอธิบายได้ยากของ "เวลา"…

ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง”

ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ถูกชวนให้ไปดูหนังเรื่องนี้ในรอบพิเศษ เพื่อรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาฯ ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ เมื่อได้ดูหนังแล้ว ก็พบว่าเป็นงาน "ยาก" มากๆ ที่จะเรียบเรียง-ประมวลความคิดออกมา เพื่อเขียนถึงหนังเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เลยคิดว่า คงยังไม่เขียนบทความถึง "ดาวคะนอง" อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะได้ดูซ้ำอีกอย่างน้อยสักหนึ่งรอบในช่วงปลายปี ที่หนังจะเข้าฉายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อสังเกต-ความรู้สึกสั้นๆ ที่กระจัดกระจาย และไม่เป็นระบบระเบียบเท่าไหร่ครับ…

รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย

(อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561) 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย 2529…

“River of Exploding Durians” : การต่อสู้, ประวัติศาสตร์ และหนุ่มสาวผู้ร้าวราน

ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์  26 สิงหาคม - 1 กันยายน 2559 ในที่สุด ก็มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์มาเลเซีย ฝีมือการกำกับของ "เอ็ดมันด์ โหย่ว" ที่งานเปิดเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 และพบว่านี่เป็นหนังเกี่ยวกับช่วงชีวิตเปลี่ยนผ่านของวัยรุ่น รวมถึงการต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมือง ที่สนุกครบรสทีเดียว "River of Exploding Durians" เริ่มต้นเรื่องราวในเมืองชายทะเล ซึ่งกำลังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์-โรงงานถลุงแร่หายาก อย่างไรก็ตาม ครึ่งแรกของหนัง กลับเน้นหนักไปที่ประเด็นความรักของนักเรียนวัยรุ่นสองราย ได้แก่ "หมิง" และ "เหมย…

ปฏิกิริยาต่อ “ดาวคะนอง” จากนักวิจารณ์หนังต่างชาติ

ปฏิกิริยาต่อ "ดาวคะนอง" จากนักวิจารณ์หนังต่างชาติ (มติชนสุดสัปดาห์ 19-25 สิงหาคม 2559) ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โน 2016 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเทศกาลประจำปีนี้ มีภาพยนตร์ไทยเรื่อง "ดาวคะนอง" โดย "อโนชา สุวิชากรพงศ์" ถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายการประกวดนานาชาติด้วย แม้ไม่ได้รางวัลอะไรติดไม้ติดมือกลับมา แต่หลายเสียงก็ชื่นชมในความแปลกแหวกแนวและรูปแบบการเล่าเรื่องที่หลุดพ้นออกจาก "ขนบมาตรฐาน" ของหนังเรื่องนี้ "ออเรลี โกเดต์" เขียนวิจารณ์ "ดาวคะนอง" ในเว็บไซต์ทางการของเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้รับมรดกตกทอดมาจาก "เจ้านกกระจอก" หนังยาวเรื่องแรกของอโนชา ที่ไม่ได้เล่าเรื่องราวอันข้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความทรงจำออกมาในรูปของการเรียงลำดับเหตุการณ์…

พาไปดูละครจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ในหนังมาเลเซีย

River of Exploding Durians เป็นหนังมาเลเซียที่ออกฉายในปี 2014 กำกับและเขียนบทโดย Edmund Yeo หนังเล่าเรื่องราวของเมืองชายฝั่งทะเลแห่งหนึ่ง ซึ่งกำลังจะมีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแร่ธาตุหายาก (แรร์ เอิร์ธ) มาก่อสร้าง ส่งผลให้ชาวบ้านตกอยู่ในอาการหดหู่ และหวาดกลัวต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกัมมันตรังสี ตัวละครเอกคนหนึ่งของหนัง คือ หมิง นักเรียนหนุ่มในโรงเรียนมัธยม ที่ไม่ได้สนใจไยดีกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังรุกคืบเข้ามา สิ่งที่เขาเอาใจใส่กลับกลายเป็นการใช้เวลาในยามบ่ายอย่างมีความสุขกับเหมย อัน เพื่อนในวัยเด็ก ที่เขาแอบหลงรัก ขณะเดียวกัน ลิ้ม ครูสาวผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ให้กับหมิง ก็เริ่มจัดตั้งกลุ่มนักกิจกรรม เพื่อทำการประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า…