10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”?

วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…

สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต”

“ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…

Shoplifters: ทางเลือกที่ 3 จากปัญหา “ครอบครัว” 2 แบบ และ “ดอกไม้ไฟ” ที่มองไม่เห็น

พื้นที่ตรงกลาง? ระหว่าง “สายเลือด” กับ “สายใยสังคม” ชอบท่าทีและประเด็นหลักของหนัง ซึ่งด้านหนึ่ง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” กำลังพยายามตั้งคำถามกับเรื่องความสัมพันธ์ “ทางสายเลือด” อยู่แน่ๆ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็ไม่ได้โรแมนติไซส์ “สายใย/สายสัมพันธ์ทางสังคม” รูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้าง “ครอบครัว” ทดแทนความสัมพันธ์ชนิดแรก ดังจะเห็นได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของ “ครอบครัว (ที่เพิ่งสร้าง)” ในหนัง มันมีลักษณะ “สองหน้า” หรือกระตุ้นให้คนดูรู้สึกคลางแคลงใจได้บ่อยๆ (นับแต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่องเป็นต้นไป) ว่าตัวละครเหล่านั้นกำลัง “จริงใจ” หรือ “ไก่กา”…

“ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” คนทำหนังญี่ปุ่นรายล่าสุด ผู้คว้า “ปาล์มทองคำ”

หมายเหตุ ปรับปรุงแก้ไขจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีจุดผิดพลาดตรงข้อมูลสถิติเรื่องแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นกับรางวัลปาล์มทองคำ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” วัย 55 ปี เพิ่งพาหนังใหม่ของตนเองเรื่อง “Shoplifters” คว้า “ปาล์มทองคำ” อันเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 71 นี่คือครั้งที่ 7 ซึ่งหนังของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการเข้าประกวดสายหลักเสีย 5 เรื่อง (โคเรเอดะได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำหนแรกจากหนังเรื่อง “Distance” เมื่อปี 2001) ผู้กำกับฯ แนวหน้าจากญี่ปุ่น…

เมื่อ “เทศกาลเมืองคานส์” ไม่ใช่ “เทศกาลภาพยนตร์” (สำหรับทุกคน)

https://www.youtube.com/watch?v=3zJ3_JZnH_Q ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ประจำปี 2018 พร้อมกับการก้าวขึ้นคว้ารางวัลปาล์มทองคำของ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” (ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น ที่ผลงานของเขาได้เข้ามาฉายในเมืองไทยโดยต่อเนื่อง) จากหนังเรื่องล่าสุดอย่าง “Shoplifters” อย่างไรก็ตาม เราอยากจะพาคอหนังไปสัมผัสกับมุมมองเชิงวิพากษ์ที่มีต่อเทศกาลหนังเมืองคานส์กันบ้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา “ดินา ยอร์ดาโนวา” ศาสตราจารย์ด้านภาพยนตร์โลกและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ส ได้เขียนบทความหัวข้อ Cannes is not a film festival – it’s a club for insiders…

มาแล้ว! ตัวอย่าง “เกาะเพชร” หนังกัมพูชาคว้ารางวัลสายนักวิจารณ์ที่คานส์

บล็อกของเราเคยแนะนำให้ท่านได้รู้จักกับภาพยนตร์กัมพูชาเรื่อง "Diamond Island" ผลงานของ "ดาวี่ ชู" ซึ่งได้รับรางวัล "เอสเอซีดี ไพรซ์" จากงานสัปดาห์นักวิจารณ์นานาชาติ ซึ่งเป็นงานคู่ขนานของเทศกาลหนังเมืองคานส์ ประจำปีนี้ ล่าสุด ตัวอย่างของหนังเรื่องนี้ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว น่าดูขนาดไหน ติดตามรับชมกันได้เลย https://www.facebook.com/PuPrumPage/videos/275207226211486/?pnref=story   คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม รู้จักคนทำหนังกัมพูชา ผู้คว้ารางวัลสายนักวิจารณ์ที่คานส์

ปาล์มทองคำตัวที่สองของ “เคน โลช” ผู้กำกับ “สัจสังคมนิยม” จากอังกฤษ

(มติชนสุดสัปดาห์  27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2559) "เคน โลช" ผู้กำกับภาพยนตร์อาวุโสชาวอังกฤษ เพิ่งนำหนังเรื่องล่าสุดของตนเองชื่อ "I, Daniel Blake" ขึ้นคว้า "รางวัลปาล์มทองคำ" จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ที่เพิ่งปิดฉากลงไป นับเป็นครั้งที่สอง ที่โลช นักรณรงค์ทางสังคมและนักทำหนังแนว "สัจสังคมนิยม" เจ้าของผลงานภาพยนตร์กว่า 50 เรื่อง ในวัยย่าง 80 ปี สามารถคว้ารางวัลเกียรติยศดังกล่าวมาครอบครอง หลังจาก…

“ศัตรู” อันเป็นอนันต์

ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 3-9 กุมภาพันธ์ 2555 "The Wind that Shakes the Barley" กำกับโดย "เคน โลช" เป็นหนังรางวัลปาล์มทองคำประจำปี 2006 จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ซึ่งเข้าฉายในเมืองไทยช่วงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549 ก่อนหน้ารัฐประหาร 19 กันยาฯ ราว 3 สัปดาห์ หนังเล่าเรื่องราวของ "เท็ดดี้-เดเมี่ยน โอซุลลิแวน" สองพี่น้องชาวไอริช ที่ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20…

เมื่อ “เคน โลช” ได้ปาล์มทองคำเป็นหนที่สอง

เคน โลช ผู้กำกับภาพยนตร์อาวุโสชาวอังกฤษ นำหนังเรื่อง "I, Daniel Blake" ขึ้นคว้ารางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งล่าสุด ที่เพิ่งปิดฉากลง นี่เป็นครั้งที่สอง ที่โลช นักรณรงค์ทางสังคมและนักทำหนังเจ้าของผลงานกว่า 50 เรื่อง วัยย่าง 80 ปี สามารถคว้ารางวัลเกียรติยศดังกล่าวมาครอบครอง หลังจาก "The Wind That Shakes the Barley" หนังที่เล่าเรื่องราวว่าด้วยขบวนการปฏิวัติไอริชของเขา เคยได้รับรางวัลปาล์มทองคำเมื่อปี 2006 "I,…

มาแล้ว! ตัวอย่างภาพยนตร์ “สันติ-วีณา” ก่อนไปร่วมเทศกาลหนังเมืองคานส์

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊ก Santi-Vina ได้เผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ "สันติ-วีณา" หนังเก่าเมื่อ พ.ศ.2497 ฝีมือการกำกับของ "ครูมารุต" หรือ "ทวี ณ บางช้าง" อำนวยการสร้างโดย "รัตน์ เปสตันยี" ที่ได้รับการบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์ และเตรียมจะเข้าฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่งานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ประจำปีนี้ ในสายคานส์ คลาสสิค คลิกชมตัวอย่างภาพยนตร์ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=_17LNtbrTs8&feature=youtu.be คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่