โปรแกรมไดเร็คเตอร์เทศกาลโตเกียว อธิบาย ทำไมเลือกฉายหนังแปดชั่วโมงของลาฟ ดิแอซ

ไปฟังเหตุผลของ “โยชิฮิโกะ ยาตาเบะ” หรือ คุณโยชิ โปรแกรมไดเร็คเตอร์ที่ทำหน้าที่คัดเลือกภาพยนตร์ในสายการประกวดหลัก ประจำเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว และมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกหนังนานาชาติเข้ามาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลด้วย ว่าทำไม เขาจึงเลือกหนังเรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของลาฟ ดิแอซ มาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลประจำปีนี้ หมายเหตุ ก่อนหน้าบทสนทนาในคลิปไม่นาน คุณโยชิตอบคำถามสื่อมวลชนต่างชาติรายหนึ่งว่า ในฐานะโปรแกรมไดเร็คเตอร์ แกไม่สามารถเลือกหนังอาร์ตเฮาส์เข้ามาฉายในสายการประกวดหลักทั้ง…

“สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย” บน VOD (ย้อนอ่านบทวิจารณ์หนังเรื่องนี้ควบ “แม่โขง โฮเต็ล”)

"สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย" ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของวิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ซึ่งออกฉายต้้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน จะถูกเผยแพร่ผ่านแพลทฟอร์ม VOD ในเว็บไซต์ www.watchod.com จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.2021 (รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 5 ปี) บล็อกคนมองหนัง จึงขออนุญาตรื้อบทความที่เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้คู่กับ "แม่โขง โฮเต็ล" ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เมื่อปลายปี 2555 มาเผยแพร่อีกครั้ง เชิญอ่าน "สิ้นเมษาฝนตกมาปรอยปรอย" และ "แม่โขง…

รวมสกู๊ป-งานเขียนเกี่ยวกับ “ดาวคะนอง” จากมติชนสุดสัปดาห์ สองฉบับล่าสุด

รู้จัก "ผู้กำกับฯ ดาวคะนอง" อีกหนึ่งหนังประวัติศาสตร์ "6 ตุลาฯ" (มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 ตุลาคม 2559) คอลัมน์นี้เคยกล่าวถึงข่าวคราวของ "ดาวคะนอง" ภาพยนตร์โดย "อโนชา สุวิชากรพงศ์" ไปบ้างแล้ว แต่หากจะให้ทบทวนอีกครั้ง ก็คงสามารถบอกคร่าวๆ ได้ว่า "ดาวคะนอง" คือ "หนังการเมือง" ที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทว่า อโนชาได้เลือกที่จะพร่าเลือนองค์ประกอบทางการเมืองในหนัง ผ่านการสร้างกรอบโครงที่มุ่งครุ่นคิดถึงประเด็นว่าด้วยพลังอันอธิบายได้ยากของ "เวลา"…

เพลงพระราชนิพนธ์ใดประทับอยู่ในใจ “คงเดช จาตุรันต์รัศมี”?

https://www.youtube.com/watch?v=LqKmq_bx2lM https://www.youtube.com/watch?v=-L-V-Ky86w8 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้สัมภาษณ์นักร้อง-นักดนตรี-นักแต่งเพลงของวงการเพลงสากลไทยหลายคน ถึง "เพลงพระราชนิพนธ์" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่พวกเขาประทับใจ หนึ่งในบุคคลผู้ถูกสัมภาษณ์ คือ "คงเดช จาตุรันต์รัศมี" นักแต่งเพลง นักร้องนำของวงสี่เต่าเธอ และผู้กำกับภาพยนตร์ เพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่คงเดชประทับใจ คือ "แว่ว" (Echo) คงเดชระบุว่านอกจากเขาจะชื่นชอบเพลง "แว่ว" ด้วยเหตุผลทางด้านดนตรีแล้ว เวลาฟังเพลงนี้ เขายังสามารถจินตนาการถึงภาพบางอย่างขึ้นมาในหัว นั่นคือภาพหญิงสาว ชายหาด และเรื่องราวความรัก ในมุมมองของนักดนตรี-ผู้กำกับคนดัง คุณลักษณะดังกล่าวของเพลงที่สวยงามเพลงนี้…

ชมภาพยนตร์ “365 พระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 9” เผยแพร่โดยหอภาพยนตร์

มติชนออนไลน์รายงานว่า หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้รวบรวมภาพยนตร์พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ 365 พระราชกรณียกิจในอดีต ระหว่างปี 2503-2523 โดยเปิดให้สื่อมวลชน สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ เข้าชมและดาวน์โหลด เพื่อนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชนได้ที่ http://www.youtube.com/playlist?list=PLvc284hzb2J_0K2434Y7BA25k2L8E878P ทั้งนี้ คลิปชุดดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ มีพระชนมพรรษาครบ ๘๕ พรรษา ซึ่งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดกิจกรรมพิเศษ "365 วันนี้ในอดีต พระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 9" ขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย ที่มา…

“Mr.Zero” ได้รับคัดเลือกเข้าฉายในโครงการ Visual Documentary Project 2016 ที่ญี่ปุ่น

"Visual Documentary Project" เป็นโครงการที่จัดร่วมกันโดย เดอะ เจแปน ฟาวเดชั่น เอเชีย เซ็นเซอร์ และศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างพื้นที่ให้คนทำหนังเอเชีย ได้เปิดเผยความจริงที่พวกตนประสบผ่านการทำหนังสารคดี รวมทั้งแนะนำนักทำหนังเหล่านั้นให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ในโครงการประจำปีนี้ ผู้จัดงานได้เปิดรับสมัครภาพยนตร์สารคดีหัวข้อ "การเมืองในวิถีชีวิตประจำวันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ปรากฏว่ามีผลงานหนังสารคดีจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถูกจัดส่งเข้ามาร่วมโครงการ 75 เรื่อง ล่าสุด Visual Documentary Project 2016 ได้ประกาศรายชื่อหนังเพียง 5 เรื่อง ที่ถูกคัดเลือกเข้าฉายในโครงการประจำปีนี้ออกมาแล้ว หนึ่งในนั้น…

เมื่อ “เจ้ย” พูดถึงทหาร-ความชรา-หลุมดำ ส่วน “ปราบดา” เปิดตัวเทรลเลอร์ “โรงแรมต่างดาว”

ทหาร ความชรา และหลุมดำในสังคมไทย จากมุมมอง "อภิชาติพงศ์" ยังคงมีงานและบทสัมภาษณ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับ "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" นักทำหนังคนสำคัญของไทย โดยล่าสุด อภิชาติพงศ์เพิ่งมีไซด์โปรเจ็คท์กับห้องสมุด "เดอะ รีดดิ้ง รูม" สีลม 19 ภายใต้ชื่อว่า "เกษียณสโมสร" หรือในชื่อภาษาอังกฤษ "Soldier/Senility" (ทหาร/ความชรา) ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้กำกับดังได้เชิญกลุ่มนายทหารที่เกษียณอายุราชการแล้ว มานั่งพูดคุยถึงบทบาทของกองทัพในสังคมไทย ส่วนในวันที่ 10 ตุลาคม…

ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง”

ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ถูกชวนให้ไปดูหนังเรื่องนี้ในรอบพิเศษ เพื่อรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาฯ ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ เมื่อได้ดูหนังแล้ว ก็พบว่าเป็นงาน "ยาก" มากๆ ที่จะเรียบเรียง-ประมวลความคิดออกมา เพื่อเขียนถึงหนังเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เลยคิดว่า คงยังไม่เขียนบทความถึง "ดาวคะนอง" อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะได้ดูซ้ำอีกอย่างน้อยสักหนึ่งรอบในช่วงปลายปี ที่หนังจะเข้าฉายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อสังเกต-ความรู้สึกสั้นๆ ที่กระจัดกระจาย และไม่เป็นระบบระเบียบเท่าไหร่ครับ…

รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย

(อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561) 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย 2529…

ความพร่าเลือนของรัฐ-ชาติ และความทับซ้อนของศาสนา ใน ‘สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์’

หมายเหตุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวาระครบรอบ 7 ปี แห่งการเสียชีวิตของ "บัณฑิต ฤทธิ์ถกล" หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของไทย   บล็อกคนมองหนังขอรำลึกถึงบัณฑิต ผ่านบทความว่าด้วย "สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์" ภาพยนตร์ใน "ยุคปลาย" ของเขา ซึ่งถูกกล่าวถึงไว้ไม่มากนัก   บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคป ภายหลังบัณฑิตเสียชีวิตได้ไม่นาน ไอ้กล่อมเป็นชายหนุ่มชาวโยเดีย/อยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังเมาะตะมะโดยกองทัพอังวะ เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ครั้นเมื่ออังวะกรีฑาทัพมารบกับกรุงเทพฯ ในสงครามเก้าทัพสมัยรัชกาลที่ 1 กล่อมก็ถูกกองทัพพม่าเกณฑ์ให้ไปร่วมรบด้วย หลังทัพอังวะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิสามสบและท่าดินแดง…