ข้อสังเกตเพิ่มเติมถึง “ดาวคะนอง” (หลังดูรอบสอง): เห็ด รา และ “ประวัติศาสตร์” แบบใหม่ๆ

หมายเหตุ เป็นข้อสังเกตเพิ่มเติม ที่ช่วยขยับขยายความเข้าใจ "ส่วนตัว/เฉพาะตัว" ของผู้เขียนเอง และไม่ได้เป็นข้อสังเกต "ใหม่" เสียทีเดียว ว่าด้วยเห็ด, รา และวรรคทองของหนัง ตอนดูรอบแรก ผมไม่เข้าใจเลยว่า "เห็ด-รา" มีความหมายและหน้าที่อย่างไรในหนังเรื่องนี้ ระหว่างดูรอบสอง จึงเริ่มเห็นนัยยะของ "สิ่งมีชีวิต" เหล่านี้มากขึ้น หลังหนังจบ มีคนถามคุณใหม่ อโนชา ผู้กำกับ ในประเด็นนี้พอดี ซึ่งคุณใหม่ตอบราวๆ ว่า "เห็ด-รา" สื่อให้เห็นถึงสิ่งมีชีวิตที่เติบโตขึ้นมาจากความย่อยสลาย ผุพัง รวมทั้งยังแสดงให้เห็นถึง…

อีกหนึ่งโค้ชมวยคิวบาที่ถูกคนไทยลืม (และลูกสาวของเขา)

พอเห็นข่าวการเสียชีวิตของ "ฟิเดล คาสโตร" ไม่รู้อะไรดลใจทำให้นึกไปถึงพวกโค้ชมวยคิวบา เวลาพูดถึงโค้ชมวยคิวบากับเมืองไทย เรามักนึกถึงแต่ "ตำนาน" ของ "ฮวน ฟอนตาเนียล" ที่สร้างเหรียญทองโอลิมปิกหลายสมัยให้ทีมมวยสากลสมัครเล่นไทย แต่เอาเข้าจริง หลังไม่ได้ทำทีมชาติไทยแล้ว ฟอนตาเนียลก็เหมือนจะไม่เคยประสบความสำเร็จในระดับสูงอีกเลยเช่นกัน ไปๆ มาๆ โค้ชมวยคิวบาที่เคยเข้ามาทำงานในเมืองไทย แล้วต่อมาสามารถยืนระยะและพัฒนาตัวเองในแวดวงมวยสากลอาชีพได้อย่างน่าทึ่ง กลับกลายเป็น "อิสมาเอล ซาลาส" ถ้าจำไม่ผิด เหมือนซาลาสจะเริ่มต้นเข้ามาทำงานในทวีปเอเชีย ด้วยการเป็นโค้ชทีมมวยสากลสมัครเล่นของปากีสถาน ก่อนจะจับพลัดจับผลูมาเป็นเทรนเนอร์มวยสากลอาชีพของค่าย ส.เพลินจิต ที่เมืองไทย แน่นอน ศิษย์เอกของเขาก็คือ "แสน…

“ถึงคน..ไม่คิดถึง” มองความสัมพันธ์ “ไทย-พม่า” ในมุมใหม่ๆ

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2559) "ถึงคน..ไม่คิดถึง" (From Bangkok to Mandalay) เป็นผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ "ชาติชาย เกษนัส" หนังเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครชาวเมียนมาและไทย โดยได้เสียงตอบรับที่ดีในประเทศเมียนมา แต่สำหรับในไทย กลับได้โรงฉายไม่มากแห่งและไม่มากรอบนัก ก่อนหน้านี้ "ถึงคน..ไม่คิดถึง" คล้ายจะต้องลาโรงไปอย่างเงียบๆ ทว่า กระแสปากต่อปากก็ส่งผลให้หนังสามารถยืนระยะต่อไปได้ จากการเป็น "ชายขอบ" ของโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ หนังเรื่องนี้จะได้รอบฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ ราม่า อาร์ซีเอ ตั้งแต่วันที่ 24…

สะใภ้บรื๋อ..อ์อ์ : “หน้าที่” ของหนังผีตลกในสังคมไทย

ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคปเมื่อ 7-8 ปีก่อน นำมาเผยแพร่อีกครั้งเนื่องในวาระที่ "ธนิตย์ จิตนุกูล" มีอายุครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 นักดูหนังจำนวนหนึ่งในสังคมไทย อาจจะรู้สึกยี้กับบรรดาหนังผี ตลก กะเทย ซึ่งถูกผลิตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ว่าเป็นความบันเทิงอันซ้ำซากและไร้คุณค่าทางศิลปะ เพราะหนังเหล่านั้นไม่ต้องตรงกับรสนิยม โลกทัศน์และชีวทัศน์ของพวกตน ในวันแห่งความรักที่เพิ่งผ่านมา หนังผีตลกอีกเรื่องหนึ่งก็มีโอกาสได้ลงโรงฉายอย่างเงียบๆ หนังเรื่องดังกล่าวคือ "สะใภ้บรื๋อ..อ์อ์" ผลงานร่วมกำกับของธนิตย์ จิตนุกูล และ เสรี พงศ์นิธิ…

ดูหนังอาเซียนในโตเกียว “การปฏิวัติ” ที่ยังไม่สิ้นสุด และ “ภาพแทนของอดีต” อันหลากหลาย

ดูหนังอาเซียนในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว "การปฏิวัติ" ที่ยังไม่สิ้นสุด และ "ภาพแทนของอดีต" อันหลากหลาย (1) (มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 พฤศจิกายน 2559) ในที่สุด ก็มีโอกาสได้ชมหนังฟิลิปปินส์เรื่อง "A Lullaby to the Sorrowful Mystery" ของ "ลาฟ ดิแอซ" ซึ่งคว้ารางวัลหมีเงิน Alfred Bauer Prize (มอบแก่ผลงานที่เผยให้เห็นถึงแง่มุมใหม่ๆ ของศิลปะภาพยนตร์) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่…

ธงชัย วินิจจะกูล ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์-ความต่อเนื่อง-การแทนที่-ฟิล์มภาพยนตร์”

ต้นเรื่อง "...อาจารย์สายชล (สัตยานุรักษ์ - บล็อกคนมองหนัง) เข้าใจว่าการแทนที่หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่าอย่างรวดเร็วฉับพลัน ส่วนความต่อเนื่องหมายถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ขยับปรับตัวเป็นวิวัฒนาการในสังคมนั้นเอง อาจารย์สายชลยังเห็นว่าลักษณะแรกเกิดกับสังคมฝรั่ง ลักษณะหลังเกิดกับสังคมไทย อย่างแรกคือพวกที่เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นผลจากปัจจัยภายนอก ส่วนอย่างหลังเป็นผลของการคลี่คลายภายใน อาจารย์สายชลจึงวิพากษ์ผมว่า เอาทฤษฎีวิธีการฝรั่งมาใช้กับสังคมไทย..." ประวัติศาสตร์-ความต่อเนื่อง-การแทนที่-ฟิล์มภาพยนตร์ "...ขอยกตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเลย แต่เพื่อเป็นอุปมาว่าความต่อเนื่องกับการแทนที่นั้นบางกรณีอาจเป็นกระบวนการเดียวกันสนิท แยกไม่มีทางได้ ความต่างกลับอยู่ที่แง่มุมและวิธีการของตัวผู้ศึกษาเอง "ผู้อ่านทุกท่านเคยดูภาพยนตร์จอใหญ่มาแล้วทั้งนั้น คงไม่มีใครเถียงว่าความเคลื่อนไหวบนจอภาพยนตร์มีลักษณะต่อเนื่องราบเรียบ แต่ผู้พอมีความรู้พื้น ๆ ย่อมรู้ดีว่าความต่อเนื่องบนจอนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นผลของการที่ภาพนิ่งในกรอบต่าง ๆ กันบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาแทนที่กรอบก่อนหน้าในอัตราเร็วเกินกว่าสายตามนุษย์จะจับการเข้าแทนที่นั้นได้ "คิดในทางกลับกัน การเคลื่อนไหวของเวลาซึ่งดูเหมือนต่อเนื่องราบเรียบไปเรื่อย…

รู้ไหม? “สายโลหิต” ที่ช่อง 7 กำลังฉายรีรัน มีการตัด “บางฉาก” ออกไป?

ระหว่างนั่งดู "สายโลหิต 2538" เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. ซึ่งนำเสนอฉากรบที่อ่าวหว้าขาว ผมรู้สึกตงิดใจอยู่นิดๆ ว่ามันมีอะไรบางอย่างขาดหายไป จากความทรงจำส่วนตัว ฉากหนึ่งในละครเรื่องนี้ที่ติดตาผมมากๆ คือ ฉากทหารพม่ารุมฆ่า "ขุนรองปลัดชู" (รับบทโดยธนา สินประสาธน์) ที่อ่าวหว้าขาว คาแรคเตอร์ของขุนรองปลัดชูในละครเรื่องนี้ เป็นคนหนังเหนียวมีคาถาอาคม ฟันแทงด้วยอาวุธไม่เข้า ดังนั้น ตัวละครทหารพม่าหลายคนจึงต้องมารุมอัดรุมทุบขุนรองฯ แล้วอุ้มแกไปกดน้ำให้ขาดอากาศหายใจในทะเล (ดาราวิดีโอมัก "เก่ง?" ในเรื่องอย่างนี้ ตอนละคร "ฟ้าใหม่" เมื่อปี 2547…

รวมข่าวคราวความคืบหน้า กรณีเลื่อนฉาย “โรงแรมต่างดาว”!

อรรถพล ณ บางช้าง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายรายการ บจก.ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป ผู้ให้ทุนสร้างภาพยนตร์เรื่อง "โรงแรมต่างดาว" (Motel Mist) ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ถึงเหตุผลที่เลื่อนฉายภาพยนตร์ดังกล่าวว่า เพราะยังไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ประชาชนโศกเศร้าเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงคิดว่าควรเลื่อนการฉายออกไปก่อน ซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องเนื้อหาที่มีฉากโป๊เปลือย หรือเรื่องการเมืองแต่อย่างใด โดยทางบริษัทก็กำลังตรวจสอบเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฉายภาพยนตร์อยู่ คลิกอ่านข่าวฉบับเต็ม http://www.matichon.co.th/news/363689 ขณะเดียวกัน ปราบดา หยุ่น ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ http://bk.asia-city.com/ ว่า "ผู้ให้ทุนสร้างรู้สึกไม่โอเคกับเนื้อหาของหนัง หลังจากนั้น พวกเขาจึงบอกกับทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์ให้ยุติการฉายหนังเอาไว้ก่อน"…

ความรู้สึกต่อ From Bangkok to Mandalay

ความรู้สึกต่อ From Bangkok to Mandalay (ชาติชาย เกษนัส) เบื้องต้น : ชอบ ผมโอเคกับสิ่งที่หนังเสนอ และสิ่งที่หนัง (ต้องการและพยายามจะ) เป็น โดยไม่ได้รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไรมากนัก ระหว่างดู ก็ทั้งรู้สึกสนุกและซาบซึ้งไปตามเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ผมยังรู้สึกชอบทั้งพาร์ทอดีตและพาร์ทปัจจุบันพอๆ กัน ไม่ได้รู้สึกว่าพาร์ทอดีตดีหรือแข็งแรงกว่าพาร์ทปัจจุบัน (แต่โอเค ชอบน้องนางเอกพม่าของพาร์ทแรกมากกว่าน้องนางเอกไทยของพาร์ทหลัง 555) From Bangkok to Mandalay กับหนังไทยเรื่องอื่นๆ ถ้าให้เปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ…

Ben and Me หนังการ์ตูนที่ทำให้ผมเริ่มต้นรู้จัก “การเมืองอเมริกัน”

https://www.youtube.com/watch?v=c1X6l99y23Y ถ้าจะให้พูดถึงประสบการณ์ในการทำความรู้จัก "การเมืองอเมริกัน" ผ่านภาพยนตร์ กลับกลายเป็นว่าหนังเรื่องแรกที่ผมนึกถึง คือ ภาพยนตร์การ์ตูนสั้นของดิสนีย์เรื่อง Ben and Me นี่น่าจะเป็น "หนังการเมืองอเมริกัน" เรื่องแรกที่ผมได้ดูเลยมั้ง ถ้าจำไม่ผิด ตัวเองได้ดูหนังการ์ตูนเรื่องนี้ ประมาณช่วง ป.1-3 (เพิ่งมารู้เมื่อไม่กี่ปีก่อนว่า หนังออกฉายตั้งแต่ปี 1953/2496) แล้วก็ประทับใจมาก จนดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่หลายรอบ หนังเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อผมหลายอย่าง หนึ่ง คือ ทำให้ไปขวนขวายหาหนังสือเกี่ยวกับประวัติของเบนจามิน แฟรงคลิน มาอ่าน สอง ระหว่างดูรอบหลังๆ…