บงจุนโฮ: “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลี

“Parasite” ไม่ใช่ภาพยนตร์ซึ่งไร้ที่มา วงการภาพยนตร์เกาหลีมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และ “Parasite” ก็ถือเป็นความสืบเนื่องต่อจากหนังเกาหลีเรื่องอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาก่อนหน้า หนังเรื่องนี้คือส่วนต่อขยายในประวัติศาสตร์ของพวกเรา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสุดที่วงการภาพยนตร์เกาหลีพุ่งผงาดขึ้นมาได้ในลักษณะนี้ หนังเรื่อง “The Handmaiden” ของ “ปักชานวุก” เคยได้รับรางวัลบาฟต้ามาแล้ว ขณะที่เมื่อปีก่อน “Burning” (โดย “อีชางดง”) ก็มีรายชื่อผ่านเข้าสู่รอบชอร์ตลิสต์ (หนัง 9 เรื่องที่มีโอกาสเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม -ชื่อ ณ ขณะนั้น- บนเวทีออสการ์ แต่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ 5 เรื่องสุดท้ายได้สำเร็จ)…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

บันทึกถึง “One Cut of the Dead”

https://www.youtube.com/watch?v=3i3Ny4mn-bU เบื้องต้นเลย คือ หนังงดงามและสนุกมากๆ ทีนี้มาว่ากันถึงประเด็นน่าสนใจในหนังเป็นข้อๆ ไป หนึ่ง ไม่แปลกใจถ้าจะมีการนำหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มาวางคู่กับ “เณรกระโดดกำแพง” ในฐานะ “หนังพี่น้อง” ที่บอกกล่าวเล่าระบายถึงภาวะดิ้นรนของคนทำหนังตัวเล็กๆ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่หนังทั้งสองเรื่องแชร์ร่วมกัน กลับถูกถ่ายทอดออกมาด้วยมุมมองและกลวิธีที่คล้ายจะแตกต่างกัน สอง ขณะที่ “เณรกระโดดกำแพง” พูดถึงชีวิต ความฝัน ความทุกข์ของคนทำหนังอินดี้นอกระบบอุตสาหกรรม “One Cut of the Dead” กลับเล่าถึงความสุข ความปรารถนาของคนทำหนังในระบบอุตสาหกรรม ที่รับงานหลากหลายจิปาถะ และยอมเรียกร้องงบประมาณจากนายทุน/เจ้าของเงินในราคาไม่สูงนัก…

“กระเบนราหู-มะลิลา” ชิงรางวัลใหญ่ระดับภูมิภาค – หนังและนักแสดงไทยที่เทศกาลม้าทองคำ

"กระเบนราหู-มะลิลา" ชิงรางวัลใหญ่ใน "เอเชีย แปซิฟิก สกรีน อวอร์ดส์" งานมอบรางวัลภาพยนตร์ "เอเชีย แปซิฟิก สกรีน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 12" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ประกาศรายนามผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสาขาต่างๆ ออกมาแล้ว ปีนี้ มีภาพยนตร์ 46 เรื่อง จาก 22 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วมชิงรางวัล…

บันทึกถึงหนังจีนเรื่อง “Youth”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=seYQDzEDb4o รวมๆ แล้ว เมื่อดูเสร็จจะนึกถึง October Sonata คือนี่เป็นหนังที่ถ่ายทอดชะตากรรมของผู้คน ที่ดำเนินคู่ขนานไปกับชะตากรรมทางการเมืองของประเทศ ผ่านแง่มุมความรักโรแมนติกภายในกรอบเวลายาวนานหลายทศวรรษ (1976-1995, พร้อมกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี 2005 และ 2016 โดยไม่มีภาพ) ซึ่งอบอุ่น กรุ่นๆ กำลังดี โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังมันมีอาการ “จบไม่ลง” ในช่วงท้ายๆ จากจังหวะที่สามารถทำให้เราร้องไห้โฮได้ เลยเหลือแค่มีน้ำตารื้นๆ ออกมา สอง สิ่งแรกที่เซอร์ไพรส์ คือ หนังไม่ได้ฉายภาพชีวิตหนุ่มสาวที่ร้าวรานแตกสลายใน/สืบเนื่องจาก…

Shoplifters: ทางเลือกที่ 3 จากปัญหา “ครอบครัว” 2 แบบ และ “ดอกไม้ไฟ” ที่มองไม่เห็น

พื้นที่ตรงกลาง? ระหว่าง “สายเลือด” กับ “สายใยสังคม” ชอบท่าทีและประเด็นหลักของหนัง ซึ่งด้านหนึ่ง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” กำลังพยายามตั้งคำถามกับเรื่องความสัมพันธ์ “ทางสายเลือด” อยู่แน่ๆ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็ไม่ได้โรแมนติไซส์ “สายใย/สายสัมพันธ์ทางสังคม” รูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้าง “ครอบครัว” ทดแทนความสัมพันธ์ชนิดแรก ดังจะเห็นได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของ “ครอบครัว (ที่เพิ่งสร้าง)” ในหนัง มันมีลักษณะ “สองหน้า” หรือกระตุ้นให้คนดูรู้สึกคลางแคลงใจได้บ่อยๆ (นับแต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่องเป็นต้นไป) ว่าตัวละครเหล่านั้นกำลัง “จริงใจ” หรือ “ไก่กา”…

Burning: ว่าด้วยการ “มี/ไม่มี” และ “จินตนาการ/ปฏิบัติการ”

https://www.facebook.com/DocumentaryClubTH/videos/1598340833610403/ (เปิดเผยเนื้อหา เหมาะสำหรับผู้ชมภาพยนตร์แล้ว) มี/ไม่มี: จินตนาการ/ปฏิบัติการ แน่นอน ใครที่ดูหนังมาเรียบร้อยแล้ว คงตระหนักได้ว่าประเด็นหลักอันเป็นจุดใหญ่ใจความของ “Burning” คือ ข้อถกเถียงเรื่อง “การมีอยู่” หรือ “การไม่มีอยู่” ของสิ่งของ/ผู้คนต่างๆ ขณะเดียวกัน “การมีอยู่” และ “การไม่มีอยู่” ก็มิได้ดำรงอยู่โดยแยกขาดจากกัน หากมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างซับซ้อน สิ่งที่ “ไม่มี” อยู่จริง อาจปรากฏว่า “มีขึ้น” ในจินตนาการความคิดฝันได้ หากเรา “ลืม” ว่ามัน…

“Bangkok Nites” หนังญี่ปุ่นน่าจับตา ฉายครั้งแรกในไทย 28 ม.ค.นี้

"Bangkok Nites" หรือ "กลางคืนที่บางกอก" ภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของหนุ่มชาวญี่ปุ่นที่มาพบรักกับหญิงสาวซึ่งทำงานอยู่บนถนนธนิยะ ย่านธุรกิจกลางคืนใจกลางกรุงเทพฯ ผลงานการร่วมกำกับของ คัตสึยะ โทมิตะ และ อภิชา ศรัณย์ชล กำลังจะได้ฉายในเมืองไทยเป็นครั้งแรก วันที่ 28 มกราคมนี้ Bangkok Nites ได้รับความสนใจจากเทศกาลภาพยนตร์หลายประเทศทั่วโลก และคว้ารางวัล First Prize of the Junior Jury ที่เทศกาลภาพยนตร์โลการ์โนปี 2016 รวมทั้งได้รับเลือกให้ติดอันดับ 1 ใน…

น่ายินดี! หนังไทย “ฉลาดเกมส์โกง-มะลิลา” ได้เข้าชิงรางวัล “Oscars เอเชีย” เรื่องละสองสาขา

ประกาศออกมาแล้ว สำหรับรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลเอเชียน ฟิล์ม อวอร์ดส์ ที่มีสถานะคล้ายๆ รางวัลออสการ์ของฝั่งเอเชีย โดยปีนี้ มีหนังไทยสองเรื่องที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล เริ่มจาก "ฉลาดเกมส์โกง" ที่ได้เข้าชิงรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ขณะที่ "ออกแบบ ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง" นักแสดงนำหญิงของเรื่อง ได้เข้าชิงรางวัลนักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ทางด้าน "มะลิลา" ซึ่งมีกำหนดจะเข้าฉายในเมืองไทยช่วงต้นปีนี้ หลังจากตระเวนไปคว้ารางวัลระดับนานาชาติมามากมาย ก็ได้เข้าชิงสองรางวัล โดย "เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ส่วน "อนุชา บุญยวรรธนะ" ได้เข้าชิงรางวัลผู้กำกับหน้าใหม่ยอดเยี่ยม…

8 หนังไทยในฟุกุโอกะ และโปรเจ็คท์ของ “นนทรีย์-นนทวัฒน์” ที่ถูกคัดเลือกเข้าตลาดใหญ่ปูซาน

8 หนังไทยที่ฟุกุโอกะ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโฟกัส ออน เอเชีย ฟุกุโอกะ 2017 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-24 กันยายนนี้ ได้วางโปรแกรมพิเศษสำหรับภาพยนตร์ไทยโดยเฉพาะ โปรแกรมดังกล่าวมีชื่อว่า "Thai Films-A Diversity in Charm" (ภาพยนตร์ไทย: ความหลากหลายภายในความมีเสน่ห์) โดยจะมีการจัดฉายหนังไทยถึง 8 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ฉลาดเกมส์โกง (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ), ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์), เทริด…