บันทึกถึง “กรงกรรม” (2): ก่อนอวสาน

หนึ่ง ในบันทึกชิ้นก่อนหน้านี้ เคยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะเด่นเชิง “พื้นที่” ซึ่งปรากฏในละครเรื่อง “กรงกรรม” นั่นคือ เครือข่ายของจักรวาลน้อยๆ ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ “บ้านแบ้” ในตลาดชุมแสง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในอีกหลายๆ ตำบลของอำเภอชุมแสง ตลอดจนอำเภออื่นๆ ร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ถ้าเปรียบคนเขียนนิยาย คนเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ หรือกระทั่งคนดู เป็นเหมือน “นักมานุษยวิทยา” ที่เดินทางไปทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาชีวิตของ “คนบ้านแบ้” “สนาม” ที่พวกเขาศึกษา ก็มิใช่หมู่บ้านชนบทอันห่างไกล เดี่ยวๆ โดดๆ หากเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในหลายๆ พื้นที่…

เปิดตัว “คนขับเสภาหญิง” แห่งวงการละครจักรๆ วงศ์ๆ ไทยร่วมสมัย

หลังสงกรานต์ เรตติ้ง “ขวานฟ้าหน้าดำ” กลับมาเกิน 4 อีกหน หลังจากเรตติ้งตกไปอยู่ในหลัก 3 ตอนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ล่าสุด ความนิยมของละครจักรๆ วงศ์ๆ “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” ก็หวนกลับคืนสู่หลัก 4 ได้อีกหน https://www.instagram.com/p/BwlRcArHs08/ โดยในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 20 และ 21 เมษายน ละครเรื่องนี้คว้าเรตติ้งไป 4.285 และ 4.270 ตามลำดับ ต้องมาลุ้นกันว่าดัชนีความนิยมของ “ขวานฟ้าหน้าดำ…

รู้จัก “มเหสีบุษบง-นางยักษ์กาขาว” ใน “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562”

รู้จัก 2 นักแสดงหญิงผู้รับบท “มเหสีบุษบง-นางยักษ์กาขาว” เมื่อดำเนินเรื่องไปถึงตอนที่เป็นหลักสิบ “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” ก็มีตัวละครน่าสนใจเพิ่มเติมขึ้นมาตามลำดับ คนแรก คือ “มเหสีบุษบง” แห่งนครคันธมาทน์ ซึ่งเป็นการหวนคืนสู่แวดวงละครจักรๆ วงศ์ๆ อีกหนของ “เอ๋ อัจฉรา ทองเทพ” “เอ๋ อัจฉรา” เคยเป็นนักแสดงละครพื้นบ้านคนสำคัญในช่วงกลางทศวรรษ 2530 ถึงต้น 2540 นอกจากผลงานโด่งดังสุดใน “ปลาบู่ทอง” (2537) แล้ว เธอยังฝากฝีมือไว้ใน “จันทโครพ…

2 นักออกแบบเสียงไทยสุดยอด! ผนึกกำลังคว้ารางวัลฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ดส์

เมื่อวันที่ 14 เมษายน มีการประกาศผลรางวัลฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ดส์ ครั้งที่ 38 โดยดาวเด่นประจำงาน คือ ผู้กำกับ-นักแสดง-ทีมงานของภาพยนตร์ทริลเลอร์แนวตำรวจจับผู้ร้ายเรื่อง “Project Gutenberg” ซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และ ออกแบบเครื่องแต่งกายและแต่งหน้ายอดเยี่ยม ไปครอง รวมทั้งสิ้น 7 สาขา อย่างไรก็ตาม มีข่าวน่ายินดีเกิดขึ้น เมื่อปรากฏชื่อชาวไทยสองคนได้รับรางวัลในคราวนี้ด้วย คือ “ณพวัฒน์…

“ธัญญ์วาริน” ให้สัมภาษณ์ The Guardian ประกาศไม่ได้เข้าสภาเพื่อไปสร้างความบันเทิง!

“ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์” นักทำหนังและว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เพิ่งให้สัมภาษณ์กับ “ฮันนาห์ เอลลิส-ปีเตอร์เซน” แห่ง "เดอะ การ์เดียน" โดยมีประเด็นน่าสนใจ ซึ่งบล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำมาแปล-สรุปความ-เรียบเรียงใหม่ และแบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้ ส.ส.ข้ามเพศคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ฮันนาห์-ปีเตอร์เซน ระบุว่าแม้การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม จะเต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพ และยังไม่แน่ชัดว่าพรรคการเมืองฝ่ายไหนจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้มีจุดเล็กๆ ทว่าสำคัญ ที่บางคนอาจมองข้ามไป นั่นคือรัฐสภาไทยจะได้ต้อนรับธัญญ์วาริน ในฐานะ ส.ส.คนข้ามเพศรายแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ บรรดานักการเมืองหน้าใหม่ที่มีธัญญ์วารินเป็นหนึ่งในนั้น…

“ภาพยนตร์ร้อยกรอง” กับกระบวนการทางการเมือง

https://www.youtube.com/watch?v=e3gS7BDmZlw "โลกนี้มีทั้งภาพยนตร์ร้อยแก้วและภาพยนตร์ร้อยกรอง ซึ่งภาพยนตร์ประเภทหลังนั้นมีความข้องเกี่ยวกับการเมืองอยู่เสมอ เนื่องเพราะมันทำงานผ่านการตั้งคำถาม และเมื่อคุณเริ่มต้นครุ่นคิดอะไรบางอย่างภายในหัวของตนเอง กระบวนการทางการเมืองก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว" อลิซ โรห์วาเคอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน ("Happy as Lazzaro" ผลงานเรื่องล่าสุดของเธอได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2018) ที่มาเนื้อหา https://www.theguardian.com/film/2019/mar/31/alice-rohrwacher-italian-film-director-interview-happy-as-lazzaro เครดิตภาพประกอบ Simona pampallona [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)]

เรตติ้ง “ขวานฟ้าหน้าดำ” ทะลุ 5 แล้ว – ใครคือผู้รับบท “เจ้าพ่อเขาเขียว”?

“ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” เรตติ้งทะลุ 5 https://youtu.be/1Jca4qHABwA ในที่สุด เรตติ้งของละครจักรๆ วงศ์ๆ “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” ก็ทะลุหลัก 5 ได้สำเร็จ ณ สุดสัปดาห์ส่งท้ายเดือนมีนาคม โดยในวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม “ขวานฟ้าหน้าดำ” ตอนที่ 4 ทำผลงานค่อนข้างแผ่ว ได้เรตติ้งไป 4.096 แต่พอวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม ละครตอนที่ 5 กลับมีตัวเลขความนิยมพุ่งกระฉูดไปถึง…

“มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก

รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…