สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต”

“ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…

ใครๆ ก็มีฤทธิ์ และอำนาจใหญ่โตของคนเล็กคนน้อยใน “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562”

https://www.youtube.com/watch?v=2QmxnM8GnJA ออกอากาศมาได้ 15 ตอนแล้ว (ณ วันที่ 11 พฤษภาคม) สำหรับ “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” ในฐานะที่เคยได้ยินแค่ชื่อเสียง แต่แทบไม่เคยรับชม “ขวานฟ้าหน้าดำ” มาก่อนเลย (เวอร์ชั่นปี 2526 ออกฉายขณะที่ผู้เขียนยังเด็กเกินจะดูทีวีรู้เรื่อง ส่วนเมื่อเวอร์ชั่นปี 2540-41 ออกฉาย ผู้เขียนก็อยู่ในช่วงวัยรุ่นก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังมองว่าละครจักรๆ วงศ์ๆ เป็นสื่อบันเทิงที่เชยและล้าหลัง) ผู้เขียนค่อนข้างชื่นชอบองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ของ “ขวานฟ้าหน้าดำ” ฉบับปัจจุบัน…

“มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก

รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…

“โลกเฉพาะ?” ใน The Favorite

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LwF0x0jBefA ชอบรูปแบบการคลี่คลายตัวของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตัวละครสตรีสามรายในหนังเรื่องนี้ เริ่มจาก “เลดี้ซาร่าห์” ที่เหมือนจะมีบทบาทครอบงำ “ควีนแอนน์” แล้ว “เลดี้อบิเกล” ก็ผงาดขึ้นมากำจัดโค่นล้ม “เลดี้ซาร่าห์” แต่ท้ายสุด หนังก็ชวนตั้งคำถามว่า “เลดี้อบิเกล” เข้ามาแทนที่ “เลดี้ซาร่าห์” ในฐานะอะไรกันแน่? คู่รัก/คนโปรด? ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเบื้องหลังราชินี? หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆ” ที่เป็นลูกจำลอง/ของเล่น/เบี้ยล่าง ซึ่งอาจมีชะตากรรมแปรผันไปตามอารมณ์อันผันผวนของ “ควีนแอนน์”? เพราะหลังจากมีบทบาทในเชิง “ตั้งรับ/ถูกชักจูง” เป็นส่วนใหญ่ มาตลอดทั้งเรื่อง ตัวละคร “ควีนแอนน์” กลับแสดงบทบาทในฐานะ…

บันทึกถึง “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2”

(เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=vtscThMjc8s ขอเริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่ค่อยชอบก่อน ประการแรก รู้สึกว่าโครงสร้างเรื่องราวในภาคนี้มันคมชัดเป็นระบบน้อยลง เมื่อกรอบโครงความคิดที่เคยแข็งแกร่งของหนังคล้ายจะอ่อนแอลงหรือไม่ถูกเน้นย้ำ การถ่ายทอดภาพรวมหรือภาพแทนของหมู่บ้าน/ชุมชน/สังคมอีสานร่วมสมัยในมุมมองเชิงวิพากษ์ ซึ่งโดดเด่นมากๆ ในสองภาคแรก จึงเลือนรางลงไปด้วย ประการต่อมา เห็นด้วยว่านี่คือหนังภาค “2.2” ไม่ใช่ “3” เพราะหนังใช้เวลามากพอสมควรในการเล่าเรื่องราวที่ย้อนกลับหรือทับซ้อนคาบเกี่ยวกับหลายเหตุการณ์ในภาค “2.1” โดยส่วนตัวแอบรู้สึกว่าการออกสตาร์ทประเด็นใหม่ๆ ของ “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2” นั้นเริ่มต้นช้าไปนิด สอง เมื่อ “ไทบ้านฯ 2.2” ไม่เน้นโครงสร้างหรือภาพกว้าง นี่จึงเป็นหนังที่เล่าเรื่องราวผ่านการลงรายละเอียดชีวิตของบรรดาตัวละครหลักๆ…

ปราบมารโดย “ไม่ฆ่า”: ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในตอนจบ “เทพสามฤดู” ฉบับล่าสุด

ขอเขียนถึง "เทพสามฤดู" เวอร์ชั่นล่าสุดเป็นการส่งท้าย โดยเน้นน้ำหนักไปที่ตอนอวสานเมื่อวันเสาร์ที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา ชะตากรรมอันน่าผิดหวังของ "มาตุลีเทพบุตร" ดังที่ผมเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ว่าใน "เทพสามฤดู 2546" บทบาทของตัวละครสมทบรายสำคัญอย่าง "มาตุลีเทพบุตร" ที่แสดงโดย "ท้าวดักแด้" นั้นค่อยๆ เฝดหายไป (อย่างไร้เหตุผล) ในช่วงท้าย ก่อนจะโผล่มานิดหน่อยตรงช่วงปลายของตอนอวสาน โดย "มาตุลีเทพบุตร" ได้ร่วมฉากตลกๆ เป็นกิมมิกเล็กๆ กับเจ้างั่ง กระหังป่า ("มาตุลี" บอกว่าตนเองมัวแต่หลงป่าอยู่ เลยหายตัวไปนาน…

บันทึกสั้นๆ ถึง “ไม่มีสมุยสำหรับเธอ” และ “มะลิลา”

ไม่มีสมุยสำหรับเธอ https://www.youtube.com/watch?v=iA3jEfxq9OY หนึ่ง นี่เป็นหนังของพี่ต้อม เป็นเอก ที่ผมชอบ แต่ไม่ได้ชอบในระดับ "มากที่สุด" นอกจากนี้ ถ้าให้เปรียบเทียบกับงานอื่นๆ ของแก ผมเห็นว่า "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" มีลักษณะร่วมกับ "ฝนตกขึ้นฟ้า" ชัดเจน อย่างน้อย ก็ในแง่ "ประเด็นหลัก" ของเรื่อง (ตามการตีความของผม) สอง ถ้าให้สรุปประเด็นอย่างรวบรัดและไม่เฉลยเนื้อเรื่องเกินไป ผมตีความว่า "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" กำลังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "ความหลากหลาย/การพลิกผันของเรื่องเล่า" และ "โครงสร้างอันแข็งตัวของอำนาจ" หนังพยายามหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า…

Mother!: แรงกาย-หัวใจของผู้หญิง, โลกภายในบ้าน และการผลิตซ้ำ

(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์) หนึ่ง อยากลองตีความหนังสนุกเรื่องนี้เล่นๆ โดยมีโจทย์/ข้อจำกัดใหญ่ๆ สองข้อ คือ (1) จะพยายามไม่มองมันผ่านกรอบเรื่องคริสต์ศาสนา เพราะเห็นหลายคนทำกันไปแล้ว และ (2) ด้วยความที่เป็นคนดูหนังมาไม่เยอะนัก ผมเลยไม่มีความสามารถมากพอจะเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้เข้ากับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้า ในฐานะ "สัมพันธบท" ระหว่างกัน นอกจากนี้ ผมยังได้รับแรงบันดาลใจเล็กๆ อีกหนึ่งประการ หลังจากดู "Mother!" จบลงที่โรงภาพยนตร์แถวปิ่นเกล้า กล่าวคือ ตรงที่นั่งด้านหลังผมมีคู่รักชาย-หญิง ซึ่งตีตั๋วมาดูหนังเรื่องนี้ด้วยกัน ระหว่างเอ็นด์เครดิตขึ้นจอ ทั้งสองคนพยายามขบคิดตีความว่าสัญลักษณ์ต่างๆ ในหนังนั้นหมายถึงอะไรบ้าง? แล้วฝ่ายชายก็เริ่มพูดถึงพระเจ้า…

“Little People” : ลัทธิความเชื่อ ระบอบเผด็จการ และพลังอำนาจของคนเล็กคนน้อย

(ปรับปรุงจากข้อเขียนที่เผยแพร่ครั้งแรกในเพจเฟซบุ๊ก "คนมองหนัง" เมื่อเดือนธันวาคม 2556) ตอนอ่านนวนิยายเรื่อง "1Q84" ของ "ฮารูกิ มูราคามิ" จบ เมื่อประมาณปี 2555 ผมขบคิดไม่ค่อยแตกว่าไอ้ "Little People" นี่มันมีนัยยะหมายถึงอะไร? จริงๆ กระทั่งตอนนั่งพิมพ์ข้อเขียนชิ้นนี้ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ค่อยได้ติดตามว่ามีใครตีความ/ถกเถียงเกี่ยวกับตัวละครกลุ่มดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง? https://thebookvineyard.files.wordpress.com/2012/02/air-chrysalis.jpg แต่พอมานั่งครุ่นคิดถึง "Little People" ของมูราคามิในช่วงปลายปี 2556 ก็เริ่มมองเห็นอะไรบางอย่างที่น่าสนใจดี ข้อแรก (ซึ่งหลายคนคงเอะใจตั้งแต่ตอนอ่านหนังสือ) คือ…

ไปดูหนังมหากาพย์อินเดีย เรื่อง “บาฮูบาลี”

อ่านบทวิจารณ์หนังภาคสอง คลิกที่นี่ จ้า ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 9-15 กันยายน 2559 เพิ่งมีโอกาสได้ชมหนังมหากาพย์จากอินเดียเรื่อง "บาฮูบาลี" ภาคแรก (Bahubali : The Beginning) ที่โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ในเทศกาล Indian Film Festival of Thailand 2016 หลังจากได้ยินชื่อเสียงของหนังเรื่องนี้มานาน ทั้งในแง่การเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนสร้างมากที่สุดของประวัติศาสตร์บอลลีวู้ด (1,755 ล้านบาท) แถมหนังยังทำรายได้ทั่วโลกไปมากถึง 2,900…