สนทนากับคนทำหนัง “เพื่อนบ้าน”- ลาฟ ดิแอซ และ เดวี่ ชู

https://www.youtube.com/watch?v=HMm7xKHIJi4 -ในท้องเรื่องของหนังเรื่องนี้ จุดประสงค์ของการปฏิวัติหรือความหมายแท้จริงของเสรีภาพ คือ การปลดแอกตนเองออกจากเจ้าอาณานิคมสเปน ถ้าปัจจุบันเรายังต้องการการปฏิวัติอยู่ อยากทราบว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของมัน? เรื่องราวในหนังมันเป็นแค่พื้นผิว แต่ในความเป็นจริง พวกเรายังต้องทำงานให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกๆ ชาติ ก็เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้น ตอนนี้ พวกเรามีเสรีภาพกันจริงๆ ไหมล่ะ? นี่คือคำถาม ปัจจุบันนี้ เราย้อนกลับไปมีประธานาธิบดีที่เป็นนักปลุกระดม นี่คือสิ่งที่ผมถ่ายทอดไว้ในหนัง เป็นฉากผู้คนเดินหลงวนไปมารอบต้นไม้ นั่นคือวิธีเลือกผู้นำของพวกเขา (ประชาชน) คุณคิดว่าตอนนี้มันมีเสรีภาพจริงไหมล่ะ? ประชาชนเลือกผู้นำคนนี้ เพราะเชื่อว่าตนเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชาติ พวกเขาเคยถูกกีดกันออกไปเป็นคนชายขอบ แต่ “ดูแตร์เต” เป็นนักปลุกระดมที่เดินไปบอกคนเหล่านั้นว่า…

โปรแกรมไดเร็คเตอร์เทศกาลโตเกียว อธิบาย ทำไมเลือกฉายหนังแปดชั่วโมงของลาฟ ดิแอซ

ไปฟังเหตุผลของ “โยชิฮิโกะ ยาตาเบะ” หรือ คุณโยชิ โปรแกรมไดเร็คเตอร์ที่ทำหน้าที่คัดเลือกภาพยนตร์ในสายการประกวดหลัก ประจำเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว และมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกหนังนานาชาติเข้ามาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลด้วย ว่าทำไม เขาจึงเลือกหนังเรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของลาฟ ดิแอซ มาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลประจำปีนี้ หมายเหตุ ก่อนหน้าบทสนทนาในคลิปไม่นาน คุณโยชิตอบคำถามสื่อมวลชนต่างชาติรายหนึ่งว่า ในฐานะโปรแกรมไดเร็คเตอร์ แกไม่สามารถเลือกหนังอาร์ตเฮาส์เข้ามาฉายในสายการประกวดหลักทั้ง…