“ปิ๊ง จิดาภา” นักแสดง “นางสิบสอง” ผู้คว้าเกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะบัญชีฯ จุฬาฯ

https://www.instagram.com/p/B1gZ4hBp-oH/ “จิดาภา วัชรสินาพร” หรือ “ปิ๊ง” น่าจะเริ่มเป็นที่รู้จักของแฟนละครจักรๆ วงศ์ๆ มากขึ้น ภายหลังเธอได้ประเดิมรับบท “คล้าย” พี่สาวคนที่หกของ “เภา” ใน “นางสิบสอง 2562” อย่างไรก็ดี ประวัตินอกจักรวาลสามเศียรของนักแสดงสาวคนนี้นั้นมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ด้านหนึ่ง เธอเคยผ่านเวทีการประกวดสำคัญๆ เช่น มีสทีนไทยแลนด์ 2015 และมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2016 มาแล้ว แต่อีกด้าน ปิ๊งก็มีโปรไฟล์การศึกษาที่ไม่ธรรมดา โดยสาววัย 22 ปีผู้นี้…

ท่องนคร “ทานตะวัน” เมืองยักษ์ใน “นางสิบสอง 2562”

หลังจากชมละคร “นางสิบสอง 2562” ไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าเมือง “ทานตะวัน” ของ “นางยักษ์สันธมาลา” นั้นถูกออกแบบหรือจัดวางโครงสร้างเอาไว้เป็นอย่างดี มีระบบระเบียบ จนน่านำมาเขียนถึง ดังนี้ “พระแม่เจ้า” กับ “แม่ย่า” จุดสูงสุดบนยอดพีระมิดหรือชนชั้นนำผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในเมืองยักษ์แห่งนี้ล้วนเป็นสตรีเพศ ทว่าพวกนางก็ดูจะแบ่งออกเป็นสองขั้ว ขั้วแรก คือ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” อีกขั้วหนึ่ง คือ “แม่ย่า” “พระแม่เจ้าสันธมาลา” นั้นพำนักอยู่ในปราสาทราชวัง และทำหน้าที่ปกครองดูแลอาณาจักร ขณะที่ผู้เฒ่าเช่น “แม่ย่า” กักตัวบำเพ็ญตนอยู่ในถ้ำ ครั้งหนึ่ง…

“ฮักบี้ บ้านบาก”: สายสัมพันธ์ระหว่าง “บ้านบาก” กับ “พระนคร-สยาม” และ “เอ็มเคสุกี้”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=mgoDF97ixg4 คนส่วนใหญ่อาจนิยามให้ “ฮักบี้ บ้านบาก” เป็น “หนังบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” อย่างไรก็ตาม จากรสนิยมและฉันทาคติส่วนตัว ผมเลือกจะมองว่า “ปื๊ด ธนิตย์ จิตนุกูล” ซึ่งมีเครดิตเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อตัวหนังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน “สวัสดีบ้านนอก” (2542) ผลงานของ “ปื๊ด ธนิตย์” ถือเป็นหนังไทยในดวงใจของผม ณ ช่วงแรกเริ่มดูหนังตอนต้นทศวรรษ 2540 น่าสนใจว่า “สวัสดีบ้านนอก” และ “ฮักบี้ บ้านบาก”…

“ยุคทอง” ใน Last Night I Saw You Smiling

ไม่ขอลงรายละเอียดหรือบรรยายอะไรเกี่ยวกับตัวหนังมากนัก เพราะคิดว่าคงมีท่านอื่นๆ เขียนถึงไปเยอะแล้ว หรือกำลังจะเขียนในอนาคตอันใกล้ โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังสารคดีจากกัมพูชาเรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่ 2-3 จุด https://www.youtube.com/watch?v=HJzcUx_jUqM หนึ่ง คนดูจะไม่ได้มองเห็นรูปพรรณสัณฐานของ “the White Building” ช่วงก่อนถูกทุบ ในมุมกว้างๆ เลย แต่จะเห็นเพียงเสี้ยวเล็กส่วนน้อยภายในตึกหรือด้านนอกอาคาร รวมทั้งภาพนิ่งที่สื่อถึงความโอ่อ่าทันสมัยของมันเมื่อแรกสร้างเสร็จ ณ ทศวรรษ 1960 สอง ผมชอบที่หนังเลือกจับภาพส่วนเสี้ยวเล็กๆ กระจัดกระจายของบางชีวิตใน “the White Building” โดยไม่พยายามจะเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าหากันเป็นองค์รวม หรือพยายามทำให้หลายๆ…

“อโนชา สุวิชากรพงศ์” คนทำหนังไทยรายที่ 2 ผู้คว้ารางวัล Prince Claus จากรบ.เนเธอร์แลนด์

“อโนชา สุวิชากรพงศ์” นักทำหนังชาวไทย คือ หนึ่งในผู้ได้รับรางวัล Prince Claus Awards ประจำปี 2019 โดย Prince Claus Fund องค์กรที่จัดให้มีการมอบรางวัลดังกล่าว ได้บรรยายถึงผู้กำกับหญิงเก่งรายนี้ว่า "อโนชาเป็นนักทำหนังทดลองผู้ผลักเคลื่อนอาณาเขตทางสุนทรียศาสตร์, ระบบสัญลักษณ์ และรูปแบบของภาพยนตร์ เพื่อจะส่องสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และภาวะร่วมสมัยของสังคมไทย "ผลงานของอโนชานั้นมีตั้งแต่การเพ่งพินิจพิจารณาระบอบปิตาธิปไตยและการแสดงออกทางศิลปะใน 'เจ้านกกระจอก' (2009) มาจนถึงการสำรวจตรวจสอบความทรงจำและประวัติศาสตร์ใน 'ดาวคะนอง' (2016) "นอกจากนี้ ในปี 2017 เธอยังเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานประกาศรางวัลของสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติในประเทศไทย…

Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน) มานุษยวิทยา

(เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=V5umHfC9sfA เข้าไปดูหนังเรื่องนี้โดยแทบไม่รู้อะไรมาก่อน ไม่รู้จักผู้กำกับ คือ “อารี แอสเตอร์” และไม่เคยดูหนังเรื่องอื่นๆ ของเขา ที่พอรู้เลาๆ คือ หนังเรื่องนี้เหมือนจะเป็น “ภาพยนตร์สยองขวัญ” ครั้นเมื่อเข้าไปดูจริงๆ ในโรงหนัง ผมกลับรู้สึกว่า นี่เป็นภาพยนตร์ที่นักมานุษยวิทยาหรือคนเรียนมานุษยวิทยาน่าจะชอบ อิน หรืออยากอภิปรายถกเถียงกับมันมากๆ โดยส่วนตัว ผมอยากจะลองนิยาม (มั่วๆ) ให้ “Midsommar” เป็น “anthropological film” ซึ่งมิได้หมายถึงภาพยนตร์สารคดีชาติพันธุ์ (ethnographic…