“เจี๊ยบ ประชากุล” : ภาพวาดในฐานะภาพยนตร์อันปราศจากความเคลื่อนไหว

https://www.instagram.com/p/CEjstfAlJ5M/ สัมผัสเรื่องแสงในผลงานภาพวาดของเจี๊ยบนั้นมีความโดดเด่นมากๆ สอดคล้องกับการที่เธอเคยประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาก่อน แสงที่ปรากฏขึ้นอย่างค่อนข้างเข้มข้น ได้ผูกรัดบุคคลในภาพเข้ากับสภาพแวดล้อมรายรอบ ไปพร้อมๆ กับการเน้นย้ำถึงความโดดเดี่ยวและภาวะอ้างว้างของพวกเขา “ฉันชอบนึกถึงผลงานศิลปะของตัวเองในฐานะที่มันเป็นภาพยนตร์อันปราศจากความเคลื่อนไหว เป็นบันทึกความทรงจำของห้วงเวลาเฉพาะช่วงหนึ่ง ซึ่งอดีตและอนาคตของห้วงเวลานั้นสามารถถูกรับรู้ได้ในภาพวาดดังกล่าว” เนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ “เจี๊ยบ ประชากุล” จิตรกรชาวไทย โดย “เคลย์ตัน ชูสเตอร์” จาก https://hyperallergic.com/ https://www.instagram.com/p/CGm0YY0F3bD/

บทสนทนาระหว่าง “อภิชาติพงศ์” กับ “ต้นมะปราง” ที่บ้าน ในห้วงเวลาแห่งโรคระบาด

เว็บไซต์ “อินดี้ไวร์” รายงานว่า “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” นักทำหนังระดับโลกชาวไทย ได้บอกเล่าถึงเรื่องราวการใช้ชีวิตของเขาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กับทางบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์ “แสตรนด์ รีลีสซิ่ง” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ “ผมปลูกต้นมะปรางไว้ที่บ้าน ก่อนหน้านี้ ผมแทบไม่เคยใส่ใจมันเลยเพราะผมมักต้องเดินทางไปอยู่ที่อื่นเกือบตลอดเวลา กระทั่งเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน ซึ่งผมเริ่มกลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน ผมจึงได้ลองชิมมะปรางจากต้นไม้ดังกล่าว ผมพบว่ามันมีรสชาติที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ทั้งหวาน, เปรี้ยว, สด นี่คือรสชาติแห่งฤดูร้อน ตอนนี้ ผมเลยกินมะปรางทุกวัน ทั้งในระหว่างการรับประทานอาหารมื้อเช้าและมื้อค่ำ แล้วผมก็ส่งมะปรางจำนวนหนึ่งไปให้พี่สาวและแฟนเก่า จนถึงปัจจุบัน ผมยังสามารถเก็บเกี่ยวผลมะปรางจากต้นได้อย่างไม่รู้จบสิ้น…

บงจุนโฮ: “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลี

“Parasite” ไม่ใช่ภาพยนตร์ซึ่งไร้ที่มา วงการภาพยนตร์เกาหลีมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และ “Parasite” ก็ถือเป็นความสืบเนื่องต่อจากหนังเกาหลีเรื่องอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาก่อนหน้า หนังเรื่องนี้คือส่วนต่อขยายในประวัติศาสตร์ของพวกเรา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสุดที่วงการภาพยนตร์เกาหลีพุ่งผงาดขึ้นมาได้ในลักษณะนี้ หนังเรื่อง “The Handmaiden” ของ “ปักชานวุก” เคยได้รับรางวัลบาฟต้ามาแล้ว ขณะที่เมื่อปีก่อน “Burning” (โดย “อีชางดง”) ก็มีรายชื่อผ่านเข้าสู่รอบชอร์ตลิสต์ (หนัง 9 เรื่องที่มีโอกาสเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม -ชื่อ ณ ขณะนั้น- บนเวทีออสการ์ แต่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ 5 เรื่องสุดท้ายได้สำเร็จ)…

อำลา “อันนา คาริน่า” ด้วยคำพูดที่เธอกล่าวถึงภาพยนตร์ยุคหลังของ “โกดาร์ด”

  https://www.youtube.com/watch?v=kAkbbXCGzwk “ฉันชอบงานในยุคแรกๆ ของเขา (โกดาร์ด) มากกว่า งานกลุ่มนี้มีความเป็นมนุษย์ ขณะที่งานในยุคต่อมามีความเป็นนามธรรม มันก็เหมือนผลงานจิตรกรรมแนวคิวบิสต์ ซึ่งไม่น่าสนุกเอาเสียเลย วันหนึ่งที่ลอสแอนเจลิส ฉันเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ และจ่ายค่าตั๋วเข้าชมไป 25 ดอลลาร์ แล้วรู้ไหมสิ่งที่ฉันได้เข้าไปชมคืออะไร? มันคือภาพวาดลูกบาศก์สีขาว! รู้ไหมสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคืออะไร? ฉันเดินกลับไปที่บู๊ธจำหน่ายตั๋วและพูดว่า ‘ฉันขอเงินค่าตั๋วคืนเถอะ ฉันไม่ได้จ่ายเงินเพื่อเข้าไปจ้องมองลูกบาศก์สีขาวพวกนั้น’” อันนา คาริน่า (1940-2019) นักแสดงและอดีตภรรยาของผู้กำกับ “ฌอง-ลุค โกดาร์ด” ทั้งคู่เคยมีผลงานภาพยนตร์ร่วมกันจำนวน 8 เรื่อง…

“ลาฟ ดิแอซ” กับเทคโนโลยีสตรีมมิ่ง

บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์ทางออนไลน์ดูจะเป็นที่นิยมมากขึ้น... ใช่เลย ตอนนี้หนังของผมก็สตรีมอยู่บนเว็บไซต์ MUBI กับ Grasshopper สตรีมมิ่งมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ไปแล้ว คุณไม่ได้คิดว่าระบบสตรีมมิ่งจะทำลายวงการภาพยนตร์ ไม่เลย ผมมักย้อนกลับไปอ้างอิงถึงสิ่งที่ “อ็องเดร บาแซ็ง” (นักวิจารณ์และนักทฤษฎีภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส) เคยระบุเอาไว้ว่า “พวกเราจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจธรรมชาติของภาพยนตร์” ดังนั้น ภาพยนตร์ต้องมีวิวัฒนาการอยู่เสมอ สำหรับประเด็นนี้ (สตรีมมิ่ง) ผมเดาว่าคุณไม่ได้อยู่ในฝ่ายจารีตนิยม ผมไม่ได้เป็นฝ่ายจารีต เพราะสำหรับผม ภาพยนตร์จะถึงกาลอวสาน ถ้าคนทำหนังเลือกยึดติดกับจารีตเดิมๆ และไม่ต้องการขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้า เทคโนโลยีมันถูกสร้างขึ้นมาให้เรา ทำไมพวกเราถึงจะไม่ใช้มันล่ะ? “ลาฟ ดิแอซ” ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์สนทนากับ…

“วิคกี้ ครีปส์” ว่าด้วย “The Young Karl Marx” และ “Phantom Thread”

หมายเหตุ – เมื่อสัปดาห์ก่อนไปชมภาพยนตร์เรื่อง “The Young Karl Marx” กลายเป็นว่าค่อนข้างประทับใจกับผลงานการแสดงของ “วิคกี้ ครีปส์” นักแสดงหญิงชาวลักเซมเบิร์ก ซึ่งในฐานะ “เจนนี่ มาร์กซ์” เธอมีบทบาทไม่เยอะนัก แต่กลับแฝงเร้นพลังบางอย่างเอาไว้มหาศาล สถานภาพดังกล่าวดูจะสอดคล้องลงรอยกับอีกหนึ่งบทบาทที่สร้างชื่อให้แก่ครีปส์ในวงกว้าง นั่นก็คือ บท “อัลม่า” ใน “Phantom Thread” เมื่อลองค้นข้อมูลดูจึงพบว่าเคยมีสื่อต่างประเทศบางสำนักชวนครีปส์คุยในประเด็นข้างต้นจริงๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับปู่ของนักแสดงหญิงรายนี้ ซึ่งเคยถูกลงโทษโดยระบอบนาซี ด้วยข้อหาครอบครองหนังสือที่เขียนโดย “คาร์ล…

“ภาพยนตร์ร้อยกรอง” กับกระบวนการทางการเมือง

https://www.youtube.com/watch?v=e3gS7BDmZlw "โลกนี้มีทั้งภาพยนตร์ร้อยแก้วและภาพยนตร์ร้อยกรอง ซึ่งภาพยนตร์ประเภทหลังนั้นมีความข้องเกี่ยวกับการเมืองอยู่เสมอ เนื่องเพราะมันทำงานผ่านการตั้งคำถาม และเมื่อคุณเริ่มต้นครุ่นคิดอะไรบางอย่างภายในหัวของตนเอง กระบวนการทางการเมืองก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว" อลิซ โรห์วาเคอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน ("Happy as Lazzaro" ผลงานเรื่องล่าสุดของเธอได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2018) ที่มาเนื้อหา https://www.theguardian.com/film/2019/mar/31/alice-rohrwacher-italian-film-director-interview-happy-as-lazzaro เครดิตภาพประกอบ Simona pampallona [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)]

รำลึก “อานเญส วาร์ดา” (1928-2019) กับ 5 คำถาม-คำตอบ ก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต

บล็อกคนมองหนังขอร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ “อานเญส วาร์ดา” (1928-2019) นักทำหนัง (สตรี) คนสำคัญ ด้วยการแปลเนื้อหาบางส่วนจากบทสัมภาษณ์ชิ้นท้ายๆ ในชีวิตของเธอ ได้แก่ Agnes Varda on Examining Her Work for New Doc and Why Awards Make Her Uncomfortable โดย รอนดา ริชฟอร์ด และ Agnès…

มุมมอง “โจนัส เมคัส” ว่าด้วยหนังเรื่อง “Lady Bird” และภาพยนตร์แอคชั่นฮอลลีวูด

“โจนัส เมคัส” คนทำหนังอาวองการ์ดรุ่นอาวุโส ผู้บุกเบิกวงการหนังทดลองใต้ดินอเมริกัน เพิ่งจะเสียชีวิตลงในวัย 96 ปี เมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากนั้น “ไซม่อน แฮตเตนสโตน” ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์สุดท้ายของเมคัสลงในเว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยน โดยเนื้อหาส่วนหนึ่ง มีการพูดถึงหนังเรื่อง “Lady Bird” และหนังแอคชั่นฮอลลีวูดเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ --- เมื่อแฮตเตนสโตนถาม โจนัส เมคัส ว่าเขาชอบหนังรุ่นใหม่ๆ เรื่องไหนบ้าง? เมคัสก็กล่าวถึง “Lady Bird” ของเกรต้า เกอร์วิก “นี่เป็นหนังเรื่องเดียวที่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอประเด็นว่าด้วยชีวิตจริง…

เรียวอิชิ ซากาโมโตะ: สังคมอเมริกันและโลกภายนอก

"คนญี่ปุ่นเฝ้าจ้องมองและสังเกตการณ์คนอเมริกัน, วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมตะวันตกตลอดมา ในทางตรงกันข้าม คนอเมริกันกลับไม่ได้เพ่งพินิจวัฒนธรรมของญี่ปุ่นหรือเอเชียมากในระดับเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่ไม่สมดุลอย่างยิ่ง อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างคนเวียดนามกับคนญี่ปุ่นในสายตาคนอเมริกัน? "นานมาแล้ว ผมเคยได้ยินเรื่องเล่าที่ตลกมากๆ "เพื่อนของผม เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เขายังหนุ่มแน่นแล้วเดินทางท่องเที่ยวไปในแถบเซาธ์เท็กซัส เขาเจอชาวนาอเมริกันคนหนึ่ง และเริ่มแนะนำตัวกับชาวนารายนั้น โดยบอกว่าตนเองมาจากปารีส "เพื่อนผมเขาเป็นคนฝรั่งเศส แต่ชาวนาคนดังกล่าวกลับเชื่อโดยอัตโนมัติว่าเพื่อนของผมมาจากเมืองปารีสในรัฐเท็กซัส พอเพื่อนผมปฏิเสธว่า 'ไม่ใช่, ไม่ใช่, ไม่ใช่ ผมมาจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส' ชาวนาอเมริกันคนเดิมก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมเชื่อ "หรืออีกมุมหนึ่ง แกไม่สามารถบอกได้ว่าไอ้กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นี่มันอยู่ตรงส่วนไหนบนแผนที่โลก" เรียวอิชิ ซากาโมโตะ นักประพันธ์ดนตรีชาวญี่ปุ่น…