สามทศวรรษเพลง “ประวัติศาสตร์” และภารกิจค้นหา “มวล พร้อมพงศ์”

วันที่ 21 ธันวาคม 2533 คือวันแรกที่เทปและซีดีอัลบั้มชุด “นินจา” ของ “คริสติน่า อากีล่าร์” ออกวางจำหน่าย ดังนั้น วันที่ 21 ธันวาคม 2563 จึงถือเป็นวาระครบรอบ 30 ปี ของอัลบั้มชุดดังกล่าว แน่นอนว่านี่ย่อมต้องเป็นวาระครบรอบ 3 ทศวรรษของบทเพลงเด่นๆ จากผลงานชุดเปิดตัวของ “ติ๊นา” ไปพร้อมกันด้วย “ประวัติศาสตร์” คือหนึ่งในบทเพลงโดดเด่นเหล่านั้น ทั้งยังอาจจะเป็นเพลงที่ยืนยงข้ามกาลเวลามากที่สุดของ “คริสติน่า” บล็อกคนมองหนังจึงขออนุญาตนำงานเขียนชื่อ…

“สายลมที่หวังดี” : ชีวประวัติของ “เพลงป๊อปร็อก-การเมือง” เพลงหนึ่ง

หมายเหตุ ปรับปรุง-เพิ่มเติมเนื้อหาจากบทความชื่อเดียวกันในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 20-26 พฤศจิกายน 2563 “ฉันอาจเป็นสายฝน เมื่อเธอร้อนใจ อบอุ่นเหมือนไฟ เมื่อเธอเหน็บหนาว อาจเป็นดนตรี กล่อมเธอเมื่อเหงา อาจเป็นแสงดาว เมื่อเธอแหงนมอง” https://www.youtube.com/watch?v=Yp1eN9I5vPg บนเวที “ม็อบเฟสต์” ถนนราชดำเนิน เมื่อช่วงค่ำวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน “เอ้ กุลจิรา ทองคง” และ “พัด สุทธิภัทร สุทธิวาณิช” นักร้องนำวง “Zweedz…

ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง”

หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…

10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”?

วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…

“ฟ้าใส” และ “เรือนร่าง” สองแบบของผู้หญิงไทยในอุตสาหกรรมบันเทิงร่วมสมัย

นอกประเด็น ขอพูดถึงประเด็นที่กำลัง “อินเทรนด์” ในสังคมไทยก่อนสักเล็กน้อย นั่นคือเรื่องการตอบคำถามของ “ฟ้าใส ปวีณสุดา” ซึ่งบางคนบอกว่า “เป็นไทย” เกินไป อยู่ใน “กะลา” เกินไป ส่วนบางคนก็ลากไปถึงบริบทการอยู่ในอำนาจของ “ประยุทธ์/พลังประชารัฐ/คสช.” แต่เอาเข้าจริง ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลในการตอบคำถามของมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ นั้นน่าจะขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ของ "ฟ้าใส" เองและทีมงานมากกว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยสอบทักษะการเขียนของ IELTS แนวคำถามของข้อสอบประเภทนั้นก็จะไม่ต่างกับพวกคำถามบนเวทีนางงามจักรวาลระยะหลังมากนัก คือ เป็นประเด็นถกเถียงทางสังคม มีสมมติฐานให้เลือกสนับสนุนสองขั้ว ซึ่ง “สูตร” ที่ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่รู้กันดี ก็มีอยู่ว่าเราต้องบรรยายถึงข้อดี-ข้อด้อยของทั้งสองสมมติฐาน…

“Joker”: หมดเวลาของ “งานรื่นเริง”

“ชุมพล เอกสมญา” และ “Sat & sun” ข้อนี้เป็นเกร็ดเล็กๆ https://www.youtube.com/watch?v=9B8jFOX7SlA ระหว่างดูหนัง ผมจะคิดถึงเพลง “ตัวตลก” ของ “Wildseed” (ชุมพล เอกสมญา) ซึ่งมีอายุครบ 20 ปีพอดี ครั้น “โจ๊กเกอร์” ไปป่วนรายการโทรทัศน์ชื่อดังจนเกิดเหตุการณ์ใหญ่ หนังก็นำเพลง “Spanish Flea” มาใช้เป็นเสียงดนตรีเปิดก่อนเข้าช่วงข่าวด่วน https://www.youtube.com/watch?v=5Z0pP8FqYvk เชื่อว่าคนดูหนังหลายรายคงนึกถึงรายการวิทยุ “Sat & Sun”…

สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต”

“ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…

“ภาพยนตร์ร้อยกรอง” กับกระบวนการทางการเมือง

https://www.youtube.com/watch?v=e3gS7BDmZlw "โลกนี้มีทั้งภาพยนตร์ร้อยแก้วและภาพยนตร์ร้อยกรอง ซึ่งภาพยนตร์ประเภทหลังนั้นมีความข้องเกี่ยวกับการเมืองอยู่เสมอ เนื่องเพราะมันทำงานผ่านการตั้งคำถาม และเมื่อคุณเริ่มต้นครุ่นคิดอะไรบางอย่างภายในหัวของตนเอง กระบวนการทางการเมืองก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว" อลิซ โรห์วาเคอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน ("Happy as Lazzaro" ผลงานเรื่องล่าสุดของเธอได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2018) ที่มาเนื้อหา https://www.theguardian.com/film/2019/mar/31/alice-rohrwacher-italian-film-director-interview-happy-as-lazzaro เครดิตภาพประกอบ Simona pampallona [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)]

รำลึก “อานเญส วาร์ดา” (1928-2019) กับ 5 คำถาม-คำตอบ ก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต

บล็อกคนมองหนังขอร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ “อานเญส วาร์ดา” (1928-2019) นักทำหนัง (สตรี) คนสำคัญ ด้วยการแปลเนื้อหาบางส่วนจากบทสัมภาษณ์ชิ้นท้ายๆ ในชีวิตของเธอ ได้แก่ Agnes Varda on Examining Her Work for New Doc and Why Awards Make Her Uncomfortable โดย รอนดา ริชฟอร์ด และ Agnès…

แสงกระสือ: “หมู่บ้าน” และ “ตำนานปรัมปรา” ในหนังไทยยุคใหม่

หนึ่ง ในบางแง่ “แสงกระสือ” ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านภาพลักษณ์ “ใหม่หมดจด” แม้จะมีบางองค์ประกอบของงานโปรดักชั่นที่แลดู “ใหม่” ตรงกันข้าม ท้องเรื่องของหนังนั้นย้อนไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนที่รูปลักษณ์ของ “ผีกระสือ” ซึ่งพวกเราคุ้นเคยจะก่อกำเนิดเสียอีก) ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ก็แสดงความเคารพต่อหนัง/ละคร “ผีกระสือ” รุ่นเก่าๆ อย่างไม่ปิดบัง ตั้งแต่การอ้างอิงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างของผีประเภทนี้ ไปจนถึงการปรากฏตัวของนักแสดงอาวุโส “น้ำเงิน บุญหนัก” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเคียงคู่กับเรื่องราวของ “กระสือ” ในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทย สอง ถ้าถามว่ามีอะไร “ใหม่” บ้างหรือไม่ในเนื้อหาของ “แสงกระสือ”?…