อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

สนทนากับคนทำหนัง “เพื่อนบ้าน”- ลาฟ ดิแอซ และ เดวี่ ชู

https://www.youtube.com/watch?v=HMm7xKHIJi4 -ในท้องเรื่องของหนังเรื่องนี้ จุดประสงค์ของการปฏิวัติหรือความหมายแท้จริงของเสรีภาพ คือ การปลดแอกตนเองออกจากเจ้าอาณานิคมสเปน ถ้าปัจจุบันเรายังต้องการการปฏิวัติอยู่ อยากทราบว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของมัน? เรื่องราวในหนังมันเป็นแค่พื้นผิว แต่ในความเป็นจริง พวกเรายังต้องทำงานให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกๆ ชาติ ก็เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้น ตอนนี้ พวกเรามีเสรีภาพกันจริงๆ ไหมล่ะ? นี่คือคำถาม ปัจจุบันนี้ เราย้อนกลับไปมีประธานาธิบดีที่เป็นนักปลุกระดม นี่คือสิ่งที่ผมถ่ายทอดไว้ในหนัง เป็นฉากผู้คนเดินหลงวนไปมารอบต้นไม้ นั่นคือวิธีเลือกผู้นำของพวกเขา (ประชาชน) คุณคิดว่าตอนนี้มันมีเสรีภาพจริงไหมล่ะ? ประชาชนเลือกผู้นำคนนี้ เพราะเชื่อว่าตนเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชาติ พวกเขาเคยถูกกีดกันออกไปเป็นคนชายขอบ แต่ “ดูแตร์เต” เป็นนักปลุกระดมที่เดินไปบอกคนเหล่านั้นว่า…

ดาวี่ ชู, Diamond Island และ “เขมรแดง” ที่หายไป

เนื้อหาบางส่วนจากบทสนทนากับ "ดาวี่ ชู" ซึ่งเพิ่งพาหนังเรื่อง Diamond Island ของเขา ไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2016 คนมองหนัง - สำหรับผม ดูเหมือนจุดที่น่าสนใจที่สุดของ Diamond Island คือ ความพยายามที่จะก้าวข้ามไปให้พ้นจากประเด็นเกี่ยวกับ “บาดแผลแห่งชาติ” ซึ่งก่อขึ้นโดยระบอบเขมรแดง นี่คือความตั้งใจของคุณหรือเปล่า? ดาวี่ ชู - มันน่าสนใจ ที่คุณตีความไปในลักษณะนั้น ทางเลือกใหญ่ตอนที่เราเริ่มสร้างหนังเรื่องนี้ ก็คือ เราจะสามารถทำหนังที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมกัมพูชายุคปัจจุบัน โดยไม่ต้องพูดถึง "เขมรแดง"…

ลาฟ ดิแอซ, ตำนานปรัมปรา, และนักปลุกระดมฝูงชนชื่อ “ดูแตร์เต้”

บางส่วนจากบทสนทนากับ "ลาฟ ดิแอซ" ว่าด้วยภาพยนตร์เรื่อง A Lullaby to the Sorrowful Mystery ของเขา ระหว่างเจ้าตัวเดินทางมาร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2016 "Tikbalang" เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งในตำนานปรัมปราของเรา จนถึงปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากในประเทศก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้อยู่ ตัวละครในตำนานปรัมปราเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการประกอบสร้าง "มายาคติ" คุณสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่จริง, สร้างการมีมุมมองต่อเรื่องราวต่างๆ แบบจำกัดจำเขี่ยไม่ครอบคลุม หรือกระทั่งสร้างทฤษฎี แล้วสิ่งพวกนั้นก็จะแปรเปลี่ยนกลายเป็น "สัจจะ" ย้อนกลับมาที่สถานการณ์ในปัจจุบัน กับกระบวนการประกอบสร้าง "มายาคติ"…