รับสมัครเยาวชนชายแดนใต้ เข้าร่วมโครงการ DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER รุ่น 2

โครงการ DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER รุ่น 2 รับสมัครเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ เข้าร่วมผลิตหนังสั้นชิงรางวัลรวมมูลค่า 100,000 บาท โครงการ DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER (เยาวชนสร้างหนัง หนังสร้างคน) เป็นโครงการที่มุ่งหวังจะช่วยพัฒนาเยาวชนในพื้นสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้ผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นอย่างมืออาชีพ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีทีมวิทยากรผู้อบรมเยาวชนนำโดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี, ลี ชาตะเมธีกุล, ศิวโรจณ์ คงสกุล…

หนังสั้นไทยสะท้อนปัญหาวิกฤตอัตลักษณ์ของเด็กสาวมุสลิม คว้ารางวัลใหญ่ที่สิงคโปร์

“I’m Not Your F***ing Stereotype” หนังสั้นโดย “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” คว้ารางวัลภาพยนตร์สั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ 2019 https://www.youtube.com/watch?time_continue=67&v=L7eg9R3olqQ&feature=emb_title หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของ “มัรยัม” เด็กสาวมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศไทย ที่ตกเป็นเหยื่อของการเหยียดเชื้อชาติในโรงเรียน ส่งผลให้เธอประสบภาวะวิกฤตอัตลักษณ์ จนเริ่มไม่พอใจกับชื่อ, ศาสนา กระทั่งวันเกิดของตนเอง “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” เกิดที่จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบัน เขาเข้ามาศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาพยนตร์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดย “I’m Not Your F***ing…

“อโนชา” เป็นตัวแทนคนทำหนังจากไทยในโปรเจ็คท์ “Mekong 2030”

เทศกาลภาพยนตร์หลวงพระบางประกาศจัดสร้างภาพยนตร์ “omnibus film” (หนังยาวที่ประกอบด้วยหนังสั้นหลายเรื่องในธีมเดียวกัน) ภายใต้ชื่อโปรเจ็คท์ว่า “Mekong 2030” ผลงานรวมหนังสั้นข้ามพรมแดนเรื่องนี้ จะมีเนื้อหาว่าด้วยการครุ่นคำนึงถึงอนาคตของแม่น้ำโขงและสภาพชุมชนริมฝั่งน้ำใน ค.ศ.2030 หรืออีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า นี่เป็นการใช้สื่อภาพยนตร์ส่องสะท้อนชะตากรรมของแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษและผลลัพธ์จากการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่ง อันก่อให้เกิดวิวาทะข้อถกเถียงตามมา “Mekong 2030” จะประกอบด้วยหนังสั้นจำนวนห้าเรื่องจากลาว, กัมพูชา, เมียนมา, ไทย และเวียดนาม ในส่วนหนังสั้นไทยที่ชื่อ “The Line” นั้น…

“Destination Nowhere – วงษ์กลม” นิทรรศการวิดีโอและงานศิลปะของ “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์”

“ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” ศิลปินชาวไทยกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “Destination Nowhere – วงษ์กลม” ที่ Gallery VER Project Room ระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 16 กุมภาพันธ์นี้ นิทรรศการดังกล่าวจะประกอบด้วยวีดีโอศิลปะเรื่อง “Destination Nowhere” และชิ้นงานศิลปะอื่นๆ “Destination Nowhere” ถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลคนหนึ่งที่เกิดในญี่ปุ่น แม่ของเขาเป็นแรงงานชาวไทยซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศดังกล่าวมานานหลายปีอย่างผิดกฎหมาย ไม่นานมานี้ เธอได้มอบตัวและถูกส่งกลับไทย ศาลตัดสินเบื้องต้นว่าให้ส่งลูกของเธอกลับประเทศไทยด้วย แต่เขากำลังต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป…

ไม่มี “อนาคต” ใน “Ten Years Thailand” ?

https://www.youtube.com/watch?v=HGPEdzB5RRo ไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในรอบปฐมทัศน์ประเทศไทย ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม แต่มีโอกาสไปนั่งดู “Ten Years Thailand” ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา (วันเดียวกับที่หนังผ่านเซนเซอร์พอดี) บันทึกชิ้นนี้เลยอาจจะไม่ได้กล่าวถึงงานฉายหนัง “Ten Years Thailand” ในฐานะกิจกรรมทางการเมือง ณ วันปลดล็อกการเมืองปลายปี 2561 ก่อนการเลือกตั้งต้นปี 2562 แต่คงพูดถึงมันในฐานะ “หนัง -การเมือง- ไทย” เรื่องหนึ่ง (แถมด้วยปฏิกิริยาบางอย่างจากคนดูต่างชาติ)…

บันทึกถึง “One Cut of the Dead”

https://www.youtube.com/watch?v=3i3Ny4mn-bU เบื้องต้นเลย คือ หนังงดงามและสนุกมากๆ ทีนี้มาว่ากันถึงประเด็นน่าสนใจในหนังเป็นข้อๆ ไป หนึ่ง ไม่แปลกใจถ้าจะมีการนำหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มาวางคู่กับ “เณรกระโดดกำแพง” ในฐานะ “หนังพี่น้อง” ที่บอกกล่าวเล่าระบายถึงภาวะดิ้นรนของคนทำหนังตัวเล็กๆ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่หนังทั้งสองเรื่องแชร์ร่วมกัน กลับถูกถ่ายทอดออกมาด้วยมุมมองและกลวิธีที่คล้ายจะแตกต่างกัน สอง ขณะที่ “เณรกระโดดกำแพง” พูดถึงชีวิต ความฝัน ความทุกข์ของคนทำหนังอินดี้นอกระบบอุตสาหกรรม “One Cut of the Dead” กลับเล่าถึงความสุข ความปรารถนาของคนทำหนังในระบบอุตสาหกรรม ที่รับงานหลากหลายจิปาถะ และยอมเรียกร้องงบประมาณจากนายทุน/เจ้าของเงินในราคาไม่สูงนัก…

“กระเบนราหู-มะลิลา” ชิงรางวัลใหญ่ระดับภูมิภาค – หนังและนักแสดงไทยที่เทศกาลม้าทองคำ

"กระเบนราหู-มะลิลา" ชิงรางวัลใหญ่ใน "เอเชีย แปซิฟิก สกรีน อวอร์ดส์" งานมอบรางวัลภาพยนตร์ "เอเชีย แปซิฟิก สกรีน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 12" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ประกาศรายนามผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสาขาต่างๆ ออกมาแล้ว ปีนี้ มีภาพยนตร์ 46 เรื่อง จาก 22 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วมชิงรางวัล…

“6 หนังไทย” ในปูซาน และหนังสั้นใหม่ของ “อภิชาติพงศ์”

6 หนังไทยในปูซาน 2018 ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซานประจำปี 2018 ที่เกาหลีใต้ จะมีหนังไทยเข้าร่วมฉายรวมทั้งสิ้น 6 เรื่อง เริ่มต้นด้วย “กระเบนราหู” ผลงานของพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ซึ่งเพิ่งสร้างประวัติศาสตร์ เป็นหนังไทยเรื่องแรกสุดที่คว้ารางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสมาครอง จะเข้าฉายรอบ “เอเชียน พรีเมียร์” ในสาย A Window on Asian Cinema เช่นเดียวกับ “Ten Years Thailand” โดยอาทิตย์ อัสสรัตน์, วิศิษฏ์…

ไม่ควรพลาด! เทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 22 ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา

แวะเวียนมาบรรจบอีกคราวกับเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 22 ซึ่งครั้งนี้เป็นหนแรกสุด ที่งานทั้งหมดจะย้ายมาจัด ณ หอภาพยนตร์ ศาลายา ระหว่างวันที่ 8-16 กันยายน 2561 เทศกาลภาพยนตร์สั้นหนนี้ยังอัดแน่นไปด้วยโปรแกรมจัดฉายหนังสั้นทั้งของไทยและต่างประเทศจำนวนมากมายเช่นเคย ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขณะเดียวกัน ความแปลกใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา ก็คือ งานเสวนาที่หลากหลาย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการโพสต์โปรดักชั่นในยุคดิจิทัล, การใช้โอเพ่นซอร์สซอฟแวร์ในการสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของตนเอง ไปจนถึง กระบวนการพัฒนาโปรเจ็คท์ภาพยนตร์ขนาดยาว นอกจากนั้น ในวันอังคารที่ 11 กันยายน ยังจะมี งานประชุมวิชาการด้านภาพยนตร์ศึกษา ครั้งที่ 8…

“A Room with a Coconut View” หนังสั้นไทยในเทศกาล “โลคาร์โน”

“A Room with a Coconut View” ภาพยนตร์สั้นความยาว 29 นาที โดย “ตุลพบ แสนเจริญ” ได้รับการคัดเลือกให้เข้าฉายในสาย “Signs of Life” ของเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หนังจะเล่าเรื่องของ “กันยา” ไกด์สาวและตัวแทนโรงแรมชาวไทย ที่พานักท่องเที่ยวต่างชาติชื่อ “อเล็กซ์” เดินทางไปชายหาดบางแสน การนำเที่ยวของกันยาดำเนินไปในกรอบกฎเกณฑ์อันเคร่งครัดตายตัว และพยายามนำเสนอภาพความงดงามของสถานที่ต่างๆ อย่างจงใจ ด้วยการพูดจาที่แข็งทื่อประหนึ่งหุ่นยนต์ อเล็กซ์จึงตัดสินใจออกไปเยี่ยมชมค้นหาและจินตนาการถึงเมืองบางแสนด้วยตัวเอง ผ่านชุดประสบการณ์ที่หลุดออกจากข้อจำกัดของไกด์ชาวไทย…