“แพรดำ” หนังไทย พ.ศ.2504 ได้รับเครื่องหมาย “Official Selection 2020 Cannes Classics”

ภาพโปสเตอร์ "แพรดำ" ฉบับฉายครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2504 - เพจเฟซบุ๊กหอภาพยนตร์ “แพรดำ” (Black Silk) หนังอาชญากรรม-ชีวิต แฝงด้วยปรัชญาพุทธศาสนา กำกับโดย “รัตน์ เปสตันยี” ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2504 และเพิ่งได้รับการบูรณะ-ทำต้นฉบับใหม่ในระบบ 4K โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้รับคัดเลือกอย่างเป็นทางการโดยเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ให้เป็นผลงานที่อยู่ในสาย “คานส์ คลาสสิกส์” ประจำ ค.ศ.2020 แต่เนื่องจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ในปีนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปเพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19…

10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”?

วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…

หนังสั้นไทยสะท้อนปัญหาวิกฤตอัตลักษณ์ของเด็กสาวมุสลิม คว้ารางวัลใหญ่ที่สิงคโปร์

“I’m Not Your F***ing Stereotype” หนังสั้นโดย “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” คว้ารางวัลภาพยนตร์สั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ 2019 https://www.youtube.com/watch?time_continue=67&v=L7eg9R3olqQ&feature=emb_title หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของ “มัรยัม” เด็กสาวมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศไทย ที่ตกเป็นเหยื่อของการเหยียดเชื้อชาติในโรงเรียน ส่งผลให้เธอประสบภาวะวิกฤตอัตลักษณ์ จนเริ่มไม่พอใจกับชื่อ, ศาสนา กระทั่งวันเกิดของตนเอง “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” เกิดที่จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบัน เขาเข้ามาศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาพยนตร์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดย “I’m Not Your F***ing…

สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต”

“ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…

ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…

“Where We Belong” โปรเจ็คท์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ของ “คงเดช” ที่เพิ่งได้รับรางวัลจากปูซาน

(อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติม 23 ตุลาคม 2561) อัพเดตเทรลเลอร์-เอ็มวี-โปสเตอร์ “Where We Belong” มาแล้ว! ทีเซอร์ “Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า” เปิดตัว “LET U GO” เพลงประกอบหนัง “Where We Belong” ขับร้องโดย “เจนนิษฐ์-มิวสิค BNK48” โปรเจ็คท์ภาพยนตร์เรื่อง "Where We Belong"…

“6 หนังไทย” ในปูซาน และหนังสั้นใหม่ของ “อภิชาติพงศ์”

6 หนังไทยในปูซาน 2018 ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซานประจำปี 2018 ที่เกาหลีใต้ จะมีหนังไทยเข้าร่วมฉายรวมทั้งสิ้น 6 เรื่อง เริ่มต้นด้วย “กระเบนราหู” ผลงานของพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ซึ่งเพิ่งสร้างประวัติศาสตร์ เป็นหนังไทยเรื่องแรกสุดที่คว้ารางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสมาครอง จะเข้าฉายรอบ “เอเชียน พรีเมียร์” ในสาย A Window on Asian Cinema เช่นเดียวกับ “Ten Years Thailand” โดยอาทิตย์ อัสสรัตน์, วิศิษฏ์…

Shoplifters: ทางเลือกที่ 3 จากปัญหา “ครอบครัว” 2 แบบ และ “ดอกไม้ไฟ” ที่มองไม่เห็น

พื้นที่ตรงกลาง? ระหว่าง “สายเลือด” กับ “สายใยสังคม” ชอบท่าทีและประเด็นหลักของหนัง ซึ่งด้านหนึ่ง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” กำลังพยายามตั้งคำถามกับเรื่องความสัมพันธ์ “ทางสายเลือด” อยู่แน่ๆ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็ไม่ได้โรแมนติไซส์ “สายใย/สายสัมพันธ์ทางสังคม” รูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้าง “ครอบครัว” ทดแทนความสัมพันธ์ชนิดแรก ดังจะเห็นได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของ “ครอบครัว (ที่เพิ่งสร้าง)” ในหนัง มันมีลักษณะ “สองหน้า” หรือกระตุ้นให้คนดูรู้สึกคลางแคลงใจได้บ่อยๆ (นับแต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่องเป็นต้นไป) ว่าตัวละครเหล่านั้นกำลัง “จริงใจ” หรือ “ไก่กา”…

“กระเบนราหู” ของ “พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง” ได้ฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่เวนิส

"กระเบนราหู" หรือ Manta Ray ภาพยนตร์โดย "พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง" ถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายการประกวด Orizzonti ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 75 หนังความยาว 105 นาที เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ หมู่บ้านริมทะเล เมื่อชาวประมงท้องถิ่นไปพบชายบาดเจ็บคนหนึ่งนอนหมดสติในป่า เขาตัดสินใจช่วยเหลือชายแปลกหน้า ที่ทำไม่ได้แม้กระทั่งพูดจาสื่อสาร ชาวประมงตั้งชื่อให้ชายผู้นั้นว่า "ธงชัย" ทั้งคู่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและค่อยๆ สานก่อสายสัมพันธ์ที่มิได้ถือกำเนิดขึ้นจากบทสนทนาใดๆ วันหนึ่ง ชาวประมงออกไปหาปลายามค่ำคืนแล้วไม่หวนกลับมาอีกเลย ธงชัยจึงอาศัยอยู่ในบ้านเพียงผู้เดียว เขาค่อยๆ คืบคลานเข้าครอบครองวิถีชีวิต, บ้านเรือน,…

“ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” คนทำหนังญี่ปุ่นรายล่าสุด ผู้คว้า “ปาล์มทองคำ”

หมายเหตุ ปรับปรุงแก้ไขจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีจุดผิดพลาดตรงข้อมูลสถิติเรื่องแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นกับรางวัลปาล์มทองคำ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” วัย 55 ปี เพิ่งพาหนังใหม่ของตนเองเรื่อง “Shoplifters” คว้า “ปาล์มทองคำ” อันเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 71 นี่คือครั้งที่ 7 ซึ่งหนังของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการเข้าประกวดสายหลักเสีย 5 เรื่อง (โคเรเอดะได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำหนแรกจากหนังเรื่อง “Distance” เมื่อปี 2001) ผู้กำกับฯ แนวหน้าจากญี่ปุ่น…