“พลอย” และ “ใจจำลอง” สองหนังไทยในเทศกาลเบอร์ลิน 2021

มีภาพยนตร์ไทยสองเรื่องได้รับคัดเลือกเข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน 2021 เริ่มจาก “พลอย” ผลงานการกำกับ-เขียนเรื่อง-ถ่ายภาพโดย “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” และโปรดิวซ์โดย “ไกรวุฒิ จุลพงศธร” ที่ได้เข้าฉายในสาย Forum Expanded ภาพยนตร์สารคดีทดลองความยาว 51 นาทีเรื่องนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “คนไกลบ้าน” ซึ่งมี “พัฒนา กิติอาษา” (นักมานุษยวิทยาไทยผู้ล่วงลับ) เป็นบรรณาธิการ “พลอย” ได้ตามรอยไดอารีของแรงงานต่างด้าวในสิงคโปร์ โดยร้อยเรียงปมประเด็นทางสังคมและศิลปะมากมายเข้าไว้ด้วยกัน https://www.youtube.com/watch?v=213qVaGfVPg ทั้งชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศชื่อ “พลอย” ซึ่งเคยทำงานใน…

ปีที่ดีของหนังไทย! “One For The Road-พญาโศกพิโยคค่ำ” คว้ารางวัลจาก 2 เทศกาลสำคัญ

เริ่มต้นปี 2021/2564 มาได้สองเดือน แม้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกจะยังแลดูไม่สดใสนักเพราะภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำรงอยู่ ทว่ากลับมีข่าวดีเกิดขึ้นกับภาพยนตร์ไทยสองเรื่องติดต่อกัน เริ่มจาก “One For The Road” ภาพยนตร์เรื่องใหม่ของ “นัฐวุฒิ พูนพิริยะ” (ที่สร้างชื่อเสียงจาก “ฉลาดเกมส์โกง”) ซึ่งได้เข้าฉายในสายการประกวด World Cinema Dramatic ของเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ 2021 ที่สหรัฐอเมริกา ที่สามารถคว้ารางวัล World Cinema Dramatic Special Jury Award:…

รับสมัครเยาวชนชายแดนใต้ เข้าร่วมโครงการ DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER รุ่น 2

โครงการ DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER รุ่น 2 รับสมัครเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ เข้าร่วมผลิตหนังสั้นชิงรางวัลรวมมูลค่า 100,000 บาท โครงการ DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER (เยาวชนสร้างหนัง หนังสร้างคน) เป็นโครงการที่มุ่งหวังจะช่วยพัฒนาเยาวชนในพื้นสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้ผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นอย่างมืออาชีพ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีทีมวิทยากรผู้อบรมเยาวชนนำโดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี, ลี ชาตะเมธีกุล, ศิวโรจณ์ คงสกุล…

“ร่างทรง” หนังใหม่ของ “บรรจง” ผู้กำกับ “พี่มาก-ชัตเตอร์” โปรดิวซ์โดย “นาฮงจิน”

Screendaily รายงานข่าวเกี่ยวกับโครงการภาพยนตร์เรื่องใหม่ชื่อ “ร่างทรง” ของ “บรรจง ปิสัญธนะกูล” เจ้าของผลงานอย่าง “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” (ร่วมกำกับกับ “ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ”) และ “พี่มาก..พระโขนง” โดย “ร่างทรง” ของบรรจง จะโปรดิวซ์โดย “นาฮงจิน” ผู้กำกับชาวเกาหลีใต้ เจ้าของผลงานหนังเรื่อง “The Wailing” นี่คือโปรเจกต์ภายใต้การดูแลของ Showbox ผู้สร้าง-ผู้จัดหน่ายยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ และเป็นผลงานร่วมสร้างโดยบริษัท Northern Cross ของนาฮงจิน…

“แพรดำ” หนังไทย พ.ศ.2504 ได้รับเครื่องหมาย “Official Selection 2020 Cannes Classics”

ภาพโปสเตอร์ "แพรดำ" ฉบับฉายครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2504 - เพจเฟซบุ๊กหอภาพยนตร์ “แพรดำ” (Black Silk) หนังอาชญากรรม-ชีวิต แฝงด้วยปรัชญาพุทธศาสนา กำกับโดย “รัตน์ เปสตันยี” ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2504 และเพิ่งได้รับการบูรณะ-ทำต้นฉบับใหม่ในระบบ 4K โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้รับคัดเลือกอย่างเป็นทางการโดยเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ให้เป็นผลงานที่อยู่ในสาย “คานส์ คลาสสิกส์” ประจำ ค.ศ.2020 แต่เนื่องจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ในปีนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปเพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19…

อัพเดต 3 ประเด็นน่าสนใจในแวดวงละครจักรๆ วงศ์ๆ แบบชัดๆ

"พระสุธนมโนห์รา" ลงจอรอบใหม่ 1 สิงหาคม https://youtu.be/KaL-xHNuUQE หลังจากวิกฤตโควิด-19 เบาบางลงไป ในที่สุด ละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง “พระสุธนมโนห์รา” ที่เคยออกอากาศไป 8 ตอน ก่อนจะต้องยุติการลงจอเพราะไม่สามารถถ่ายทำต่อได้ระหว่างสถานการณ์โรคระบาด ก็จะคืนจอโทรทัศน์-คอมพิวเตอร์-โทรศัพท์อีกครั้งในวันเสาร์ที่ 1 สิงหาคมนี้ https://www.instagram.com/p/CCALYIPgnMD/ โดย “พระสุธนมโนห์รา 2563” หลังยุคโควิด จะเริ่มต้นออกอากาศตั้งแต่ตอนที่ 1 ใหม่ ซึ่งน่าจะช่วยให้คนดูสามารถติดตามเรื่องราวได้อย่างไม่ขาดห้วงขาดตอน เผยรายชื่อ 2…

ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง”

หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…

“เมืองไทย-คนไทย” ในภาพถ่ายสามัญอันแปลกตาของ “คุณพ่อมารีญา”

ราวสองปีก่อน ช่วงนั้น ผมยังแวะเวียนไปอัปโหลดภาพถ่ายและติดตามชมรูปของตากล้องภาพนิ่งทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นจำนวนมากในเว็บไซต์ https://www.flickr.com/ อยู่เป็นประจำ ภาพถ่ายกลุ่มหนึ่งใน flickr ที่ผมชอบนั่งดูอย่างเพลิดเพลินเป็นชั่วโมงๆ ก็คือ รูปที่ถ่ายโดย “ช่างภาพฝรั่ง” ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย บ่อยครั้ง สถานที่และผู้คนในภาพเหล่านั้นคล้ายจะเป็น “สิ่งสามัญ” ที่เราคุ้นเคย ทว่ามุมมองพิเศษเฉพาะของ “ช่างภาพฝรั่ง” หลายๆ คน ก็ทำให้องค์ประกอบบางอย่างในภาพถ่ายที่พวกเขาบันทึกไว้มีความแปลกตาออกไป (ไม่นับรวมว่า หลายครั้ง พวกเขาเดินทางไปถ่ายรูปในพื้นที่ที่คนไทยอย่างเราๆ ไม่ค่อยได้ย่างกรายไปถึง) “ช่างภาพฝรั่ง” คนหนึ่งที่ผมชื่นชมผลงานของแกมากๆ ก็ได้แก่ “คุณโกราน เอียเรียน”…

สรุปชัดๆ แนวทางการสร้าง “ละครจักรๆ วงศ์ๆ” แบบใหม่ของ “สามเศียร” หลังยุคโควิด

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน เว็บไซต์ข่าวสด ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ “ลอร์ด สยม ปรับแผนละครจักรๆ วงศ์ๆ ถ่ายเสร็จค่อยออนแอร์ หลังโควิดทำหยุดชะงัก” โดย “สยม สังวริบุตร” บิ๊กบอสแห่งค่าย “ดีด้า-สามเศียร” ได้อธิบายถึงกระบวนการถ่ายทำละครจักรๆ วงศ์ๆ ยุคโควิด-19 แพร่ระบาด และแผนการผลิตละครในรูปแบบใหม่ของ “สามเศียร” ซึ่งจะมีความแตกต่างจากเดิมอย่างสำคัญ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตสรุปคำให้สัมภาษณ์ของ “สยม” ออกมาเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ https://www.instagram.com/p/CAcjOwBpgtI/ หนึ่ง ขณะนี้…

10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”?

วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…