“พลอย” และ “ใจจำลอง” สองหนังไทยในเทศกาลเบอร์ลิน 2021

มีภาพยนตร์ไทยสองเรื่องได้รับคัดเลือกเข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน 2021 เริ่มจาก “พลอย” ผลงานการกำกับ-เขียนเรื่อง-ถ่ายภาพโดย “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” และโปรดิวซ์โดย “ไกรวุฒิ จุลพงศธร” ที่ได้เข้าฉายในสาย Forum Expanded ภาพยนตร์สารคดีทดลองความยาว 51 นาทีเรื่องนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “คนไกลบ้าน” ซึ่งมี “พัฒนา กิติอาษา” (นักมานุษยวิทยาไทยผู้ล่วงลับ) เป็นบรรณาธิการ “พลอย” ได้ตามรอยไดอารีของแรงงานต่างด้าวในสิงคโปร์ โดยร้อยเรียงปมประเด็นทางสังคมและศิลปะมากมายเข้าไว้ด้วยกัน https://www.youtube.com/watch?v=213qVaGfVPg ทั้งชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศชื่อ “พลอย” ซึ่งเคยทำงานใน…

ปีที่ดีของหนังไทย! “One For The Road-พญาโศกพิโยคค่ำ” คว้ารางวัลจาก 2 เทศกาลสำคัญ

เริ่มต้นปี 2021/2564 มาได้สองเดือน แม้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกจะยังแลดูไม่สดใสนักเพราะภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำรงอยู่ ทว่ากลับมีข่าวดีเกิดขึ้นกับภาพยนตร์ไทยสองเรื่องติดต่อกัน เริ่มจาก “One For The Road” ภาพยนตร์เรื่องใหม่ของ “นัฐวุฒิ พูนพิริยะ” (ที่สร้างชื่อเสียงจาก “ฉลาดเกมส์โกง”) ซึ่งได้เข้าฉายในสายการประกวด World Cinema Dramatic ของเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ 2021 ที่สหรัฐอเมริกา ที่สามารถคว้ารางวัล World Cinema Dramatic Special Jury Award:…

ดูใหม่ “October Sonata”

เพิ่งได้ดู “October Sonata รักที่รอคอย” รอบล่าสุด ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ นี่น่าจะเป็นการดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกในทศวรรษ 2560 ของผม หลังจากที่ผมวนเวียนดูมันอยู่รอบแล้วรอบเล่าเมื่อหนังเข้าฉายตอนปี 2552 และอีกหลายปีถัดมา พอมานั่งชมผลงานชิ้นเอกของ “สมเกียรติ วิทุรานิช” อีกครั้งในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระลอกใหม่ของการเมืองไทยพอดี ผมก็เกิดข้อสังเกต-คำถามใหม่ๆ ขึ้นมาราว 2-3 ประเด็น หนึ่ง คงเป็นเพราะได้มาดูหนังในวัยที่เพิ่มมากขึ้น (และอาจผนวกด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่แน่ชัดนัก) ผมเพิ่งรู้สึกชัดเจนว่า “October Sonata” นั้นมีความเป็น…

ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน

(หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…

“ร่างทรง” หนังใหม่ของ “บรรจง” ผู้กำกับ “พี่มาก-ชัตเตอร์” โปรดิวซ์โดย “นาฮงจิน”

Screendaily รายงานข่าวเกี่ยวกับโครงการภาพยนตร์เรื่องใหม่ชื่อ “ร่างทรง” ของ “บรรจง ปิสัญธนะกูล” เจ้าของผลงานอย่าง “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” (ร่วมกำกับกับ “ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ”) และ “พี่มาก..พระโขนง” โดย “ร่างทรง” ของบรรจง จะโปรดิวซ์โดย “นาฮงจิน” ผู้กำกับชาวเกาหลีใต้ เจ้าของผลงานหนังเรื่อง “The Wailing” นี่คือโปรเจกต์ภายใต้การดูแลของ Showbox ผู้สร้าง-ผู้จัดหน่ายยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ และเป็นผลงานร่วมสร้างโดยบริษัท Northern Cross ของนาฮงจิน…

“แพรดำ” หนังไทย พ.ศ.2504 ได้รับเครื่องหมาย “Official Selection 2020 Cannes Classics”

ภาพโปสเตอร์ "แพรดำ" ฉบับฉายครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2504 - เพจเฟซบุ๊กหอภาพยนตร์ “แพรดำ” (Black Silk) หนังอาชญากรรม-ชีวิต แฝงด้วยปรัชญาพุทธศาสนา กำกับโดย “รัตน์ เปสตันยี” ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2504 และเพิ่งได้รับการบูรณะ-ทำต้นฉบับใหม่ในระบบ 4K โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้รับคัดเลือกอย่างเป็นทางการโดยเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ให้เป็นผลงานที่อยู่ในสาย “คานส์ คลาสสิกส์” ประจำ ค.ศ.2020 แต่เนื่องจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ในปีนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปเพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19…

ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง”

หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…

10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”?

วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…

เปิดใจคนทำหนังอิสระชาวไทย ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

https://www.sindie.sg/ ได้พูดคุยกับบรรดานักทำหนังอิสระในประเทศกลุ่มอาเซียน ถึงการใช้ชีวิต การทำงาน และความคาดหวังของพวกเขา ท่ามกลางการต้องกักตัวเองในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีคนทำหนังอินดี้ชาวไทยร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้ นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี อาทิ “ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง” “สายน้ำติดเชื้อ” “#BKKY” และ “ดินไร้แดน” ตอนนี้คุณกังวลเรื่องอะไรมากที่สุด? ผมกังวลว่าการแก้ไขสถานการณ์ (การแพร่ระบาด) ทั่วโลกจะกินเวลายาวนานกว่าที่คาดคิดกันไว้ และผมก็คิดว่าแผนงานทั้งหมดของตัวเองในปีนี้คงจะติดขัดไปหมด ตอนนี้คุณได้ดูหรือลงมือทำอะไรบ้าง? ผมมีเวลามากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผมสามารถมุ่งมั่นกับการเขียนบทหนังใหม่เรื่อง “Doi Boy” ของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับการอยู่บ้านกับแม่,…

เมื่อ “เศก ดุสิต” และ “ตรี อภิรุม” ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ

นอกจาก “ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง” และ “อารีย์ นักดนตรี” ซึ่งได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ (สาขาศิลปะการแสดง ประเภทภาพยนตร์และละคร) ประจำปี 2562 แล้ว ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2562 อีกสองรายที่มีความข้องเกี่ยวกับ/ทรงอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยเฉพาะละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นอย่างสูง ก็คือ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ อันได้แก่ “เริงชัย ประภาษานนท์” และ “เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” ชื่อจริงของศิลปินแห่งชาติสองท่านนี้อาจไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตาคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าบอกว่า “เริงชัย”…