Chungking Express: บางเราในนคร (20 กว่าปีต่อมา)

Chungking Express: บางเราในนคร บางเราในนคร โดย ไม้หนึ่ง ก.กุนที อยู่ไกลกันนั้นหรือ?ลมก็อาจกระพือถึงโบกไปพร้อมคำนึงระหว่างเรา ระหว่างเรายามใกล้กันนั้นหรือ?คุไฟฮือขึ้นแผดเผาริกลน และ รุมเร้ากันและกัน กันและกันเปลวไฟแห่งเราหรือ?อาจโหมฮือช่วงสั้นๆสถานที่และคืนวันจะผันพลัดเราพรากไกลด้วยสองเรานี้หรือ?ถือจาริกในเมืองใหญ่ดุ่มมาและดุ่มไปตามนาฏกรรมชาวนครคืนวันในเมืองหรือ?คืออีกไฟกรุ่นสุมขอนลนเราระทวยอ่อนและปิ้งเราแข็งกร้านเกรียม สมัยเรียน ม.6 ตอน พ.ศ.2542 อาจารย์ที่สอนวิชาสังคมเสริม มอบหมายให้ผมและเพื่อนๆ ไปเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์มาคนละหนึ่งเรื่อง ผมเลือกเขียนถึงหนังเรื่อง “Chungking Express” ของ “หว่องกาไว” โดยตั้งชื่อบทวิจารณ์ของตนเองว่า “Chungking Express: บางเราในนคร” ผมจดจำเนื้อหาในงานเขียนชิ้นนั้นไม่ได้แล้ว จำได้รางๆ…

ดูใหม่ “October Sonata”

เพิ่งได้ดู “October Sonata รักที่รอคอย” รอบล่าสุด ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ นี่น่าจะเป็นการดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกในทศวรรษ 2560 ของผม หลังจากที่ผมวนเวียนดูมันอยู่รอบแล้วรอบเล่าเมื่อหนังเข้าฉายตอนปี 2552 และอีกหลายปีถัดมา พอมานั่งชมผลงานชิ้นเอกของ “สมเกียรติ วิทุรานิช” อีกครั้งในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระลอกใหม่ของการเมืองไทยพอดี ผมก็เกิดข้อสังเกต-คำถามใหม่ๆ ขึ้นมาราว 2-3 ประเด็น หนึ่ง คงเป็นเพราะได้มาดูหนังในวัยที่เพิ่มมากขึ้น (และอาจผนวกด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่แน่ชัดนัก) ผมเพิ่งรู้สึกชัดเจนว่า “October Sonata” นั้นมีความเป็น…

ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน

(หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…

ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง”

หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…

4 ประเด็นว่าด้วย “A World of Married Couple”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=gz3V-CglveQ เอาเข้าจริง นี่อาจเป็นบทสนทนาต่อเนื่องมาจากซีรี่ส์เกาหลีฮิตๆ หลายเรื่องก่อนหน้านี้ บรรดาซีรี่ส์ที่มักเล่าถึงชีวิตครอบครัว 2 ครอบครัวขึ้นไป อันประกอบด้วยตัวละครรุ่นพ่อแม่ และตัวละครรุ่นลูกที่กำลังก่อสานความรักซึ่งกันและกัน ก่อนที่เรื่องราวจะลงเอยในช่วงท้ายด้วยตอนจบปลายเปิดว่าด้วยคู่รักชายหญิงวัย 20-30 ปี ที่ยังไม่ได้ร่วมกันลงมือสร้างครอบครัวอันสมบูรณ์แบบของตนเองโดยฉับพลันทันที และแน่นอนว่าพวกเขาและเธอมักจะยังไม่มีลูก (คนเจนเนอเรชั่นหลาน) เป็นทายาทสืบสกุล (ในกรณีตัวละครนำของ “Reply 1988” แม้จะมีการสมรสเกิดขึ้นหลายคู่ แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าครอบครัวเหล่านี้ได้ให้กำเนิดทายาทหรือไม่) ราวกับว่า "ความเป็นครอบครัว" ก็ดี สถานภาพ "ความเป็นพ่อแม่" ก็ดี นั้นไม่ใช่ภาพกระจ่างชัดในความรับรู้ จินตนาการ…

ผู้สร้างและผู้ทำลายที่ชื่อ “Ema”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=O57_XbgFL00 “Ema” คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ “พาโบล ลาร์เรน” ผู้กำกับชาวชิลี ที่มีผลงานสร้างชื่อ อาทิ “No” หนังว่าด้วยกระบวนการรณรงค์ก่อนการลงประชามติโค่นล้มเผด็จการ “ปิโนเชต์” และ “Jackie” ภาพยนตร์ชีวประวัติของ “แจ็กเกอรีน เคนเนดี้” หลังจากดู “Ema” จบ (หนังจะเผยแพร่ในเว็บไซต์ MUBI อีกราวครึ่งเดือน) ผมรู้สึกว่าลาร์เรนเก่งดี ที่สามารถหยิบฉวยเรื่องการเต้น เพศสภาพ ชนชั้น สถาบันครอบครัว ฯลฯ มาขยำรวมกัน…

5 ประเด็นว่าด้วย “Reply 1988”

หนึ่ง ด้านหนึ่ง รู้สึกว่า “Reply 1988” นั้นแชร์ประเด็นทางสังคมหนักๆ ร่วมกับหนังเกาหลีร่วมสมัยบางเรื่อง (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) เช่น การอาศัยอยู่ใน “บ้านชั้นใต้ดิน” ของหนึ่งในครอบครัวตัวละครหลัก ก็คล้ายคลึงกับชะตากรรมของตัวละครกลุ่มหนึ่งใน “Parasite” หรือจะมีตัวละครสมทบรายหนึ่ง ซึ่งตลอดทั้งเรื่อง คนดูน่าจะประเมินว่าเธอทำหน้าที่ “แม่-เมีย” ได้ไม่สมบูรณ์นัก ก่อนที่เธอจะเริ่มมีตัวตนมากขึ้นในช่วงท้ายๆ และบทพูดหนึ่งที่น่าประทับใจ ก็คือ เธออยากเป็นตัวของเธอเอง (ให้คนอื่นๆ เรียกชื่อของเธอ) มากกว่าจะถูกเพื่อนบ้านเรียกขานว่าเป็น “แม่ของ...” ประเด็นนี้ชวนให้นึกถึง “Kim Ji-young,…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…

“The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น

นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…

ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์” ใน “ศรีอโยธยา ภาค 2”

ฉากหนึ่งในซีรีส์ “ศรีอโยธยา ภาคแรก” ที่ผมประทับใจมากๆ ก็คือ ฉากที่ “เจ้าฟ้าสุทัศ” ล่องเรือแบบกึ่งตื่นกึ่งฝันไปพร้อมกับดวงวิญญาณของพระเจ้าเสือ และได้พานพบพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งทรงปรากฏพระองค์ตามรายทางของลำน้ำสายหนึ่ง ผมตีความความว่า ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) คงอยากนำเสนอว่า “ประวัติศาสตร์” คือความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวที่ไม่มีทางตัดได้ขาดประดุจสายน้ำ อย่างไรก็ดี ความเชื่อเช่นนั้นกลับต้องดำรงอยู่ในห้วงภวังค์กึ่งจริงกึ่งฝันหรืออุปลักษณ์นิทานเปรียบเทียบต่างๆ เพราะ “ประวัติศาสตร์” ใดๆ ก็ตามในโลกความจริง ย่อมไม่สามารถดำเนินไปอย่างเรียบเรื่อยต่อเนื่องสมบูรณ์แบบบนช่วงเวลาอันยาวไกล โดยปราศจากจุดเปลี่ยนแปลง ความผกผัน ร่องรอยปริแตก ช่องว่างรูโหว่ ที่ผุดขึ้นมาขัดขวางภาวะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวดังกล่าว…