“ไกล” : จากปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2560

สถานะของเพลง “ไกล” ในปลายทศวรรษ 2530 https://www.youtube.com/watch?v=ZtSvQeY4ld0 ไม่ว่าจะนิยามเพลง “ไกล” ว่าเป็นผลงานแนวโปรเกสซีฟร็อก โอเปร่าร็อก ฯลฯ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทว่าสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นตรงกันก็คือผลงานเพลงดังกล่าวคือการเปิดตัว “มาโนช พุฒตาล” ในฐานะนักดนตรี-นักแต่งเพลงฝีมือยอดเยี่ยม ประดุจนาวาที่นำพาเขาโดยสารข้ามมาจากอีกฟากฝั่งทางวิชาชีพ อันได้แก่ การเป็นพิธีกรรายการดนตรี นักจัดรายการวิทยุ หรือนักวิจารณ์ “ไกล” เข้ามาสร้างความแหวกแนวให้แก่อุตสาหกรรมเพลงไทยในช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 2530 ด้วยเนื้อหาเชิงปรัชญาที่ลึกซึ้ง คมคาย ชวนขบคิด และด้วยความยาว (เกือบ 24 นาที)…

ดาราจักรๆ วงศ์ๆ ทำอะไรกัน? ในช่วงกักตัวหลบโรคโควิด-19

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโรคโควิด-19 ส่งผลให้กองถ่ายละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง “พระสุธนมโนราห์” และอุตสาหกรรมบันเทิงโดยรวม ต้องยุติการทำงานลงชั่วคราว ดังนั้น ดาราจักรๆ วงศ์ๆ ไม่ว่าจะร่วมแสดงในละคร “พระสุธนมโนราห์” หรือไม่ จึงต้องเก็บตัวอยู่บ้านกันเป็นส่วนใหญ่ สุดสัปดาห์นี้ ขออนุญาตพาคุณผู้อ่านไปชมภาพจากอินสตาแกรมของนักแสดงละครพื้นบ้านหลายๆ คน ซึ่งกำลังใช้ชีวิตแบบ “เว้นระยะห่างทางสังคม” เช่นเดียวกับเราๆ ท่านๆ นักแสดงบางส่วนจาก “พระสุธนมโนราห์ 2563” https://www.instagram.com/p/B-_P2fXA949/ https://www.instagram.com/p/B-PVC7QAgzO/ https://www.instagram.com/p/B-RLd61purW/ https://www.instagram.com/p/B-T0gkIJ5Yq/ https://www.instagram.com/p/B_UWPAtjEf8/ https://www.instagram.com/p/B-Yvr_ajBCp/…

ย้อนรำลึกอภิมหาโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ “เพชรพระอุมา” ของ “ท่านมุ้ย”

ท่ามกลางบรรยากาศไว้อาลัยต่อการจากไปของ “พนมเทียน” นักประพันธ์ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมชุด “เพชรพระอุมา” บล็อกคนมองหนังขออนุญาตรำลึกถึง “เพชรพระอุมา” ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ไทย ก่อนหน้านี้ นิยายเรื่อง “เพชรพระอุมา” เคยได้รับการดัดแปลงเป็นหนังไทยอยู่หนึ่งครั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยมี “ส.อาสนจินดา” เป็นผู้กำกับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิบกว่าปีก่อน “ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล” หรือ “ท่านมุ้ย” ได้ริเริ่มโปรเจ็กต์ภาพยนตร์เรื่อง “เพชรพระอุมา” ขึ้นมา (ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการถ่ายทำ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”) ระหว่างนั้น “ท่านมุ้ย”…

นักเขียนเนื้อเพลงชื่อ “ดิลก ดิเรกฤทธิ์” คือใคร? เขาเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง?

ถ้าใครคือคนฟังเพลงไทยตั้งแต่ยุคกลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา คุณอาจพอคุ้นชื่อคนเขียนเนื้อเพลงอย่าง “ดิลก ดิเรกฤทธิ์” อยู่บ้าง ถ้าจำไม่ผิด ชื่อของ “ดิลก ดิเรกฤทธิ์” น่าจะปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกๆ ในเครดิตงานเพลงของศิลปินค่ายอินดี้ “โอ! มาย ก็อด” “ดิลก” เป็นผู้เขียนคำร้องเพลง “มีเธอ” ของ “อัญชลี จงคดีกิจ” (ทำนอง-เรียบเรียงโดย “เศกสิทธิ์ ฟูเกียรติสุทธิ์” ซึ่งปัจจุบันคือมือคีย์บอร์ดของวงนั่งเล่น-ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์) https://www.youtube.com/watch?v=1Dj2Zb0esd8 ทั้งยังเป็นผู้เขียนคำร้อง “เพลงแก้” อย่าง…

เรตติ้ง “แก้วหน้าม้า รีรัน” – พระเอกจักรๆ วงศ์ๆ ในตำนานกับกรุ๊ป “มธ. และการฝากร้าน”

“แก้วหน้าม้า รีรัน” 4 ตอนแรก เรตติ้งไปได้สวย เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการป้องกันโรคที่เข้มข้นของภาครัฐ ละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง “พระสุธนมโนราห์ 2563” จึงไม่สามารถถ่ายทำต่อไปได้ และต้องหยุดการออกอากาศชั่วคราว หลังแพร่ภาพมาแล้ว 8 ตอน ส่งผลให้ทางค่ายสามเศียรต้องตัดสินใจนำเอาละครเรตติ้งสูงเรื่อง “แก้วหน้าม้า 2558” มาปัดฝุ่นรีรัน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 4 เมษายน อย่างไรก็ดี เรตติ้ง 4 ตอนแรกของโปรแกรมขัดตาทัพดังกล่าว กลับไปได้สวยไม่น้อย โดยละครเรื่องนี้คว้าตัวเลขความนิยมในตอนแรกสุดไป…

เปิดใจคนทำหนังอิสระชาวไทย ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

https://www.sindie.sg/ ได้พูดคุยกับบรรดานักทำหนังอิสระในประเทศกลุ่มอาเซียน ถึงการใช้ชีวิต การทำงาน และความคาดหวังของพวกเขา ท่ามกลางการต้องกักตัวเองในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีคนทำหนังอินดี้ชาวไทยร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้ นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี อาทิ “ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง” “สายน้ำติดเชื้อ” “#BKKY” และ “ดินไร้แดน” ตอนนี้คุณกังวลเรื่องอะไรมากที่สุด? ผมกังวลว่าการแก้ไขสถานการณ์ (การแพร่ระบาด) ทั่วโลกจะกินเวลายาวนานกว่าที่คาดคิดกันไว้ และผมก็คิดว่าแผนงานทั้งหมดของตัวเองในปีนี้คงจะติดขัดไปหมด ตอนนี้คุณได้ดูหรือลงมือทำอะไรบ้าง? ผมมีเวลามากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผมสามารถมุ่งมั่นกับการเขียนบทหนังใหม่เรื่อง “Doi Boy” ของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับการอยู่บ้านกับแม่,…

บทสนทนาระหว่าง “อภิชาติพงศ์” กับ “ต้นมะปราง” ที่บ้าน ในห้วงเวลาแห่งโรคระบาด

เว็บไซต์ “อินดี้ไวร์” รายงานว่า “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” นักทำหนังระดับโลกชาวไทย ได้บอกเล่าถึงเรื่องราวการใช้ชีวิตของเขาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กับทางบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์ “แสตรนด์ รีลีสซิ่ง” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ “ผมปลูกต้นมะปรางไว้ที่บ้าน ก่อนหน้านี้ ผมแทบไม่เคยใส่ใจมันเลยเพราะผมมักต้องเดินทางไปอยู่ที่อื่นเกือบตลอดเวลา กระทั่งเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน ซึ่งผมเริ่มกลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน ผมจึงได้ลองชิมมะปรางจากต้นไม้ดังกล่าว ผมพบว่ามันมีรสชาติที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ทั้งหวาน, เปรี้ยว, สด นี่คือรสชาติแห่งฤดูร้อน ตอนนี้ ผมเลยกินมะปรางทุกวัน ทั้งในระหว่างการรับประทานอาหารมื้อเช้าและมื้อค่ำ แล้วผมก็ส่งมะปรางจำนวนหนึ่งไปให้พี่สาวและแฟนเก่า จนถึงปัจจุบัน ผมยังสามารถเก็บเกี่ยวผลมะปรางจากต้นได้อย่างไม่รู้จบสิ้น…

“โควิด” ส่งผลกระทบ “พระสุธนมโนราห์” ถ่ายทำต่อไม่ได้-งดออกอากาศ “แก้วหน้าม้า” เสียบแทน!

https://www.facebook.com/pobsil.shaynewards/videos/2977690028936418/   ในที่สุด โรคระบาด “โควิด-19” ก็ส่งผลกระทบต่อกองถ่ายละครจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งทำงานกันในลักษณะถ่ายไป-ออกอากาศไป เข้าจนได้ เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดที่ยังรุนแรงและมาตรการที่เข้มงวดขึ้นของรัฐบาล ได้ส่งผลให้ทางบริษัทสามเศียรจำเป็นต้องหยุดถ่ายทำ “พระสุธนมโนราห์ 2563” เป็นการชั่วคราว อย่างไม่มีกำหนด โดยทางบริษัท (ซึ่งเป็นผู้ซื้อเวลาออกอากาศ 08.00-09.00 น. ทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ จากช่อง 7) จะนำเอา “แก้วหน้าม้า 2558” ละครจักรๆ วงศ์ๆ เรตติ้งสูงสุดในช่วงครึ่งทศวรรษหลังมาแพร่ภาพแทน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 4…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…