ปีใหม่ 2013 และร้านไก่ทอดแห่งหนึ่งชานกรุงลอนดอน

28 ธันวาคม 2012 สักประมาณสี่ทุ่ม ผมเดินไปซื้อไก่ทอด-เฟรนช์ฟรายแถวๆ หอพัก ร้านไก่ทอด-พิซซ่าแห่งนี้ ถือเป็นเจ้าประจำของผม แม้ว่ารสชาติของอาหารขยะเหล่านั้นจะไม่ได้เรื่องสักเท่าไหร่ (ขณะที่คนขายซึ่งค่อนข้าง “ซี้” กับผม มักชอบอวดอ้างถึงความเอร็ดอร่อยของพิซซ่าจากร้านของเขา) แต่ทางเลือกของคนที่มีฝีมือการทำอาหารห่วยแตก ซึ่งอาศัยอยู่แถวสถานี “นิว ครอส เกต” ก็มีอยู่ไม่มากนัก วันนั้น ผมเข้าไปทักทายกับคนขายตามปกติ ถ้าจำไม่ผิด เขาเป็นคนบังกลาเทศ (ผมรู้เรื่องนี้จากการแอบฟังเขาพูดคุยกับลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งเป็นคนมาเลเซีย เมื่อราวๆ เดือนก่อน) ผมถามเขาว่าช่วงปีใหม่นี้มีแผนจะไปเที่ยวต่างจังหวัด “นอกลอนดอน” บ้างไหม?…

ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับ “ศรีอโยธยา”

(หมายเหตุ เป็นการตั้งข้อสังเกตในฐานะคนที่ตามดู "หนัง/ละครอิงประวัติศาสตร์ไทย" มาพอสมควร และสนใจเรื่องการสร้าง "ภาพแทน" ของชนชั้นนำในประวัติศาสตร์ผ่านสื่อบันเทิงไทยอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยาและมิได้เป็นคนที่ตามผลงานของ "หม่อมน้อย" มาอย่างเข้มข้นจริงจัง) หนึ่ง ไม่รู้เป็นข้อดีหรือข้อเสีย (ณ ตอนนี้ ยังประเมินได้ไม่ชัด) แต่เหมือน "หม่อมน้อย" จะ "ทบทวนวรรณกรรม" มาเยอะมาก จนเห็นได้ว่าผลงานเรื่องนี้มีจุดอ้างอิงถึงผู้มาก่อนหน้าเต็มไปหมด จนแทบกลายเป็น "ยำใหญ่ใส่สารพัด" ในแง่นิยาย/ละคร แน่นอน "ศรีอโยธยา" มีองค์ประกอบบางด้านที่เหมือน/คล้าย "เรือนมยุรา" มีตัวละครเดินเรื่องกลุ่มหนึ่งที่ไปพ้องกับ "ฟ้าใหม่"…

สายสัมพันธ์ “โกมินทร์-นาจา” ข้อสังเกตศาสตราจารย์ปรัชญาการเมือง-เจ้าพ่อละครจักรๆ วงศ์ๆ

สมมติฐานว่าด้วย "โกมินทร์" กับ "นาจา" โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ "...ผมสงสัยต่อไปว่า นาจาในเชิงวัฒนธรรมน่าจะต้องเป็นญาติกับอะไรหรือใครในอารยธรรมไทยแน่นอน และผมคิดว่าญาติสนิทของ 'นาจา' น่าจะชื่อ 'โกมินทร์' โดยมีสมมติฐาน (hypothesis) คือ "'นาจาเป็นญาติกับโกมินทร์' "ผมรอวันพิสูจน์สมมติฐานนี้ และดีใจเหมือนได้แก้วเมื่อได้เห็นภาพเหรียญนี้ (ภาพที่ 3) "เป็น 'เหรียญนาจา' ออกโดยวัดนาจา แต่เรียกว่า 'เจ้าพ่อโกมินทร์' แสดงว่าสมมติฐานผมถูก "แต่โกมินทร์เป็นใคร? "โกมินทร์เป็นกุมาร ได้ทวนได้อาวุธอะไรมาและไปปราบนาค…

สถานีวิทยุบีบีซีเชฟฟิลด์ฉลอง 50 ปี ด้วย MV เพลง “Common People” เวอร์ชั่นท้องถิ่น

https://www.youtube.com/watch?v=diuFUjQyG-c สถานีวิทยุบีบีซีเชฟฟิลด์ได้เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้ง ด้วยการจัดทำมิวสิควิดีโอเวอร์ชั่นท้องถิ่นให้แก่เพลง "Common People" ผลงานฮิตตลอดกาลของคณะ Pulp ซึ่งถูกยกย่องเปรียบเปรยให้เป็นเพลงชาติของแคว้นเซาธ์ยอร์คเชียร์ โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มนักร้องประสานเสียงท้องถิ่น รวมถึงผู้คนในแถบนั้นอีกร่วม 300 ชีวิต แคทรินา บังเกอร์ บรรณาธิการบริหารของสถานีวิทยุบีบีซีเชฟฟิลด์บอกว่าเอ็มวีชิ้นนี้คือความพยายามที่จะประสานความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้คน และนำเสนอความรู้สึกภาคภูมิใจในท้องถิ่นออกมา "Pulp เป็นวงดนตรีจากเชฟฟิลด์ ส่วนเพลง Common People คือหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนย่านนี้มีความรู้สึกยึดโยงด้วย และข้อเท็จจริงที่ว่ามีคนหลายร้อยชีวิตได้ร่วมกันสร้างสรรค์มิวสิควิดีโอชิ้นนี้ขึ้นมา ก็แสดงให้เห็นถึงความคิดมวลรวมอันตกตะกอนจากจินตนาการร่วมของพวกเขาเหล่านั้นอย่างแท้จริง" บังเกอร์ แสดงความเห็น ด้านจาร์วิส ค็อคเกอร์…

คนทำหนังสตรีมีลุ้นออสการ์จากไทย-ลาว-สิงคโปร์ กับประเด็น “ผู้หญิง-ภาพยนตร์-มนุษย์”

ปีนี้ มีหนังนานาชาติถูกส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม มากถึง 92 เรื่อง ที่สำคัญ หนังเหล่านั้นเป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงมากถึง 27 ราย เว็บไซต์วาไรตี้จึงได้ไปสนทนากับบรรดาคนทำหนังสตรีจากทวีปเอเชีย ซึ่งกำลังมีลุ้นในรางวัลสาขานี้ ผ่านคำถามสำคัญๆ จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้น คือ คำถามว่า "คุณอยากให้โลกรับรู้อะไรเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของคนทำหนังสตรี และอะไรคือสารที่คุณอยากจะสื่อออกไป?" บล็อกคนมองหนังคัดเลือกคำตอบของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงสามราย ที่ผลงานลุ้นรางวัลออสการ์ของพวกเธอเคยเข้าฉายเชิงพาณิชย์ในบ้านเรา มาฝากกัน แม็ตตี้ โด (น้องฮัก - ตัวแทนจากประเทศลาว) "ถ้ามีอะไรที่ฉันอยากบอกให้โลกรับรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้กำกับหญิงจากลาว สิ่งนั้นก็คือความยากลำเค็ญสุดๆ จากหลากหลายเหตุผล…

“สยมภู มุกดีพร้อม” คนไทยที่เข้าใกล้รางวัล “ออสการ์” มากที่สุด!

เพิ่งได้อ่านบทสัมภาษณ์ "สมยภู มุกดีพร้อม" ตากล้องชาวไทย ที่กำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง จากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับหนังเรื่อง Call Me By Your Name โดยคุณก้อง ฤทธิ์ดี ในเว็บไซต์บางกอกโพสต์ เลยขออนุญาตเก็บความมาเป็นประเด็นสั้นๆ เพื่อเล่าสู่กันฟังครับ (สำหรับใครที่พออ่านภาษาอังกฤษได้ แนะนำให้อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ที่นี่) หนึ่ง แม้จะมีคู่แข่งน่ากลัวอีกหลายรายในสาขากำกับภาพยอดเยี่ยม แต่สยมภูยังถือเป็น "คนไทยที่มีโอกาสใกล้เคียงที่สุดกับการเข้าชิงรางวัลออสการ์" เมื่อกระแสของหนัง Call Me By Your Name ยังแรงดีไม่มีตก…

บันทึกถึง Insects in the Backyard (2553-2560)

หนึ่ง จำได้ว่าเคยดู Insects in the Backyard ครั้งแรก ในเทศกาลใดเทศกาลหนึ่ง ก่อนที่หนังจะโดนแบน แล้วจากนั้น ก็ไปสนใจเรื่องกระบวนการต่อสู้เพื่อให้หนังเรื่องนี้ได้กลับมาฉาย โดยค่อยๆ ลืมเลือนเรื่องราว จุดเด่น จุดด้อยของตัวหนังไปทีละน้อยๆ กระทั่งจำอะไรแทบไม่ได้เลยในอีก 7 ปีต่อมา สอง พอมาดูอีกครั้ง จึงพบว่าหนังมีอะไรหลายอย่างน่าสนใจดี ข้อแรกเลย คือ พบว่าหนังมี "ความสดดิบ" ที่มาพร้อมกับการ (เพิ่งจะ) ขยับขยายขอบเขตการทำงาน ณ ตอนนั้น…

สามเศียรเปิดตัวยูทูบ SAMSEARN OFFICIAL แจง นี่คือ “ช่องทางการช่องแรก” ของบริษัท

https://www.instagram.com/p/Bcd0UzQHl5Q/?taken-by=samsearn เป็นเรื่องน่าเซอร์ไพรส์ไม่น้อย ที่จู่ๆ อินสตาแกรมทางการของบริษัทสามเศียร ผู้ผลิตละครจักรๆ วงศ์ๆ ป้อนช่อง 7 สี ก็ประกาศเปิดตัวยูทูบช่อง SAMSEARN OFFICIAL โดยได้เริ่มมีการเผยแพร่คลิปย้อนหลังของละคร "เทพสามฤดู" (เริ่มจากตอนที่ 47) ลงในช่องทางดังกล่าว รวมทั้งจะมีการนำคลิปละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องเก่าๆ มาเผยแพร่ในช่องนี้อีกด้วย ขณะเดียวกัน ทางอินสตาแกรมสามเศียรยังแจ้งแฟนๆ ว่า SAMSEARN OFFICIAL นั้นคือ "ช่องยูทูบทางการ" ช่องแรกของบริษัท ก่อนหน้านี้…

บันทึกสั้นๆ ถึง “ไม่มีสมุยสำหรับเธอ” และ “มะลิลา”

ไม่มีสมุยสำหรับเธอ https://www.youtube.com/watch?v=iA3jEfxq9OY หนึ่ง นี่เป็นหนังของพี่ต้อม เป็นเอก ที่ผมชอบ แต่ไม่ได้ชอบในระดับ "มากที่สุด" นอกจากนี้ ถ้าให้เปรียบเทียบกับงานอื่นๆ ของแก ผมเห็นว่า "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" มีลักษณะร่วมกับ "ฝนตกขึ้นฟ้า" ชัดเจน อย่างน้อย ก็ในแง่ "ประเด็นหลัก" ของเรื่อง (ตามการตีความของผม) สอง ถ้าให้สรุปประเด็นอย่างรวบรัดและไม่เฉลยเนื้อเรื่องเกินไป ผมตีความว่า "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" กำลังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "ความหลากหลาย/การพลิกผันของเรื่องเล่า" และ "โครงสร้างอันแข็งตัวของอำนาจ" หนังพยายามหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า…

กำเนิด-ความเป็นมาของ “พระพาย” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญใน “เทพสามฤดู”

https://www.instagram.com/p/BcRI_NQHcXX/?taken-by=samsearn "พระพาย" คือ เทพเจ้าแห่งสายลม ตำนานเกี่ยวกับกำเนิดความเป็นมาของพระองค์นั้นมีหลากหลายมากๆ ในเวอร์ชั่นหนึ่งเล่าว่า พระพายมีอีกนามว่า "มารุต" เป็นบุตรพระกัศยป เทพบิดร กับพระนางทิติ มเหสีฝ่ายซ้าย โดยหลังจากเหตุการณ์คราวกวนเกษียรสมุทรที่พวกแทตย์และอสูร อันเป็นโอรสของพระนางทิติ ต้องพ่ายแพ้ให้ฝ่ายเทวดา ซึ่งเป็นโอรสของพระนางอทิติ มเหสีฝ่ายขวาของพระกัศยป พระนางทิติจึงไปเข้าเฝ้าพระสวามี และทูลขอโอรสองค์ใหม่ที่เก่งกล้าสามารถกว่าพวกเทวดา พระกัศยปจึงแนะนำให้มเหสีฝ่ายซ้ายไปบำเพ็ญตบะร้อยปี แล้วก็จะได้โอรสผู้เก่งกล้าสมความปรารถนา เรื่องนี้ไปเข้าหูพระอินทร์ หัวหน้าเทวดาบนสรวงสวรรค์ ผู้เป็นโอรสของพระนางอทิติ มเหสีฝ่ายขวา พระองค์เกิดความไม่ไว้ใจ จึงไปเฝ้าปฏิบัติรับใช้พระนางทิติ ราวกับเป็นพระมารดาแท้ๆ กระทั่งพระนางทิติ ซึ่งแรกๆ…