วิธีเสพ “ภาพยนตร์สังคมเก่า” ของสมาชิกกองทัพประชาชนในเขตป่าเทือกเขาบรรทัด

ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ แต่กระนั้น คุณกมลเป็นคนที่พิเศษคนหนึ่งในหมู่พวกเราทีเดียว เพราะเราเพิ่งทราบว่า การมีคุณกมลทำให้เรามีภาพยนตร์สังคมเก่าฉายบนกองทัพได้ โดยเฉพาะภาพยนตร์ฝรั่งไม่ว่าเรื่องอะไร พยัคฆ์ร้าย 007, สปาตาร์คัส, พิภพวานร, ขุมทองแมคเคนน่า, เจ็ดคู่ชู้ชื่น, บุษบาริมทาง เป็นต้น คุณกมลเล่าเรื่องได้หมด พร้อมทั้งอธิบายผู้แสดงและภูมิหลังของเรื่องได้เสร็จ เราจึงเรียกกันเล่นว่าๆ 'กมลเธียเตอร์' ดังนั้น เมื่อเวลาสหายเหงาก็สามารถใช้ "บริการกมลเธียเตอร์" ได้ โดยเฉพาะคุณแก้ว คุณกาย คุณอรุณ ได้ใช้บริการอยู่เสมอ แต่จุดอ่อนของ 'กมลเธียเตอร์' อยู่ที่หนังจีนกำลังภายใน…

หนังไทย-หนังอาเซียนน่าสนใจ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2017

เวียนมาบรรจบอีกครั้งสำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2017 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน 2560 ในปีนี้ มีหนังไทยถูกคัดเลือกไปฉายในเทศกาล 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ "มา ณ ที่นี้" หรือ "Someone from Nowhere" นี่คือหนังยาวลำดับที่สองของ "ปราบดา หยุ่น" ซึ่งจะได้เข้าประกวดในสาย "เอเชี่ยน ฟิวเจอร์" (ช่วงหลัง หนังที่ชนะเลิศการประกวดสายนี้ มักไปได้ดีในระดับนานาชาติทั้งสิ้น ตั้งแต่ "มหาสมุทรและสุสาน"…

Mother!: แรงกาย-หัวใจของผู้หญิง, โลกภายในบ้าน และการผลิตซ้ำ

(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์) หนึ่ง อยากลองตีความหนังสนุกเรื่องนี้เล่นๆ โดยมีโจทย์/ข้อจำกัดใหญ่ๆ สองข้อ คือ (1) จะพยายามไม่มองมันผ่านกรอบเรื่องคริสต์ศาสนา เพราะเห็นหลายคนทำกันไปแล้ว และ (2) ด้วยความที่เป็นคนดูหนังมาไม่เยอะนัก ผมเลยไม่มีความสามารถมากพอจะเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้เข้ากับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้า ในฐานะ "สัมพันธบท" ระหว่างกัน นอกจากนี้ ผมยังได้รับแรงบันดาลใจเล็กๆ อีกหนึ่งประการ หลังจากดู "Mother!" จบลงที่โรงภาพยนตร์แถวปิ่นเกล้า กล่าวคือ ตรงที่นั่งด้านหลังผมมีคู่รักชาย-หญิง ซึ่งตีตั๋วมาดูหนังเรื่องนี้ด้วยกัน ระหว่างเอ็นด์เครดิตขึ้นจอ ทั้งสองคนพยายามขบคิดตีความว่าสัญลักษณ์ต่างๆ ในหนังนั้นหมายถึงอะไรบ้าง? แล้วฝ่ายชายก็เริ่มพูดถึงพระเจ้า…

“หนังพูดไทย” 2 เรื่อง ถูกส่งชิงออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม!

คณะกรรมการภาพยนตร์ของสิงคโปร์ลงมติเลือกภาพยนตร์เรื่อง "Pop Aye" ให้เป็นตัวแทนของประเทศ เข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 90 สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม หนังเรื่องนี้เป็นผลงานของผู้กำกับหญิง "เคิร์สเตน ธาน" ซึ่งถ่ายทำในประเทศไทย รวมถึงใช้นักแสดงไทย และนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมไทย หนังบอกเล่าถึงชีวิตวัยกลางคน-เริ่มต้นชราของสถาปนิกรุ่นเก่า (รับบทโดยธเนศ วรากุลนุเคราะห์) ที่ออกเดินทางพร้อมกับเพื่อนช้างในวัยเยาว์ เพื่อย้อนกลับไปยัง "บ้านเดิม" ของพวกเขาในพื้นที่ชนบท "Pop Aye เป็นเรื่องราวว่าด้วยการค้นหาตนเอง ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาอย่างงดงามโดยทีมผู้สร้างชาวสิงคโปร์ รวมถึงตัวผู้กำกับ-คนเขียนบท เคิร์สเตน ธาน โปรดิวเซอร์ ไหลเว่ยเจี่ยและหวงเวินหง ตลอดจนผู้อำนวยการสร้าง…

พาไปสัมผัส “พระราหู” เวอร์ชั่นอ่อนแอ ใน “สามฤดู” ฉบับวัดเกาะ

"พระราหู" เวอร์ชั่นอ่อนแอเพราะรักเธอมากกว่า "จะกล่าวถึงราหูภูวนราถ เมื่อไสยาศน์ลืมองค์หลงหลับใหล ครั้งรุ่งแจ้งสร่างแสงอะโณไทย เธอค่อยได้กลับจิตร์ฟื้นนิทรา ผวาสอดกอดเจ้าเยาวเรศ ผิดสังเกตไม่ยลยอดเสน่หา พัดระฆังข้างที่ศรีไสยา ก็เปล่าตาไม่เห็นให้เย็นทรวง โอ้ตัวเราคราวนี้ก็มีทุกข์ บังเกิดยุคยากไร้เปนใหญ่หลวง เสียเจ้ายอดกัลยาสุดาดวง ดังใครล้วงเอาชีวาตมาฟาดฟัน พัดชีวากับระฆังดังชีวิต ก็มาปลิดจากอุราเพียงอาสัญ โอ้ครั้งนี้น่าที่ถึงชีวัน เสียสำคัญของรักภักคินี ให้แค้นจิตร์เกิดเปนชายเสียดายชาติ์ มาพลั้งพลาดสาระพัดจะบัดสี ต้องเสียชื่อฦาทั่วธรณี มาเสียทีเสียน้องในห้องนอน เสียของรักรักษาไว้หาได้ อยู่ไปใยอายชนให้คนข้อน พระทุ่มทอดกายาลงอาวรณ์ ฤไทยถอนซ้อนซบสลบไป" https://www.instagram.com/p/BY-wUDKHAoO/?taken-by=samsearn ตัดตอนคำกลอนส่วนนี้มาจากวรรณกรรมวัดเกาะ "สามฤดู" เล่มที่…

“เพื่อน..ที่ระลึก” อีกหนึ่ง “ลักษณะอาการ” ของ “หนังไทยหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง”

หนึ่ง เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 มีโอกาสไปร่วมฟังงานประชุมวิชาการด้านภาพยนตร์ศึกษาครั้งที่ 7 จัดโดยสถาบันหนังไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยส่วนตัว หนึ่งในการนำเสนอที่น่าสนใจมากๆ ของงานวันนั้น ก็คือ งานวิชาการหัวข้อ “จาก ‘โหยหา’ ถึง ‘โมโห’: เมื่อ ‘ตลกเตะฝรั่ง’ ในบริบทภาพยนตร์ไทยหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ศ.2540-2546)” โดยอิทธิเดช พระเพ็ชร นักศึกษาปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็นหลักที่อิทธิเดชนำเสนอ คือ ลักษณะเด่น…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (2)

ย้ายรัง (ติณห์นวัช จันทร์คล้อย) ในแง่ "ความเป็นหนัง" แบบ "เพียวๆ" หนังสารคดีเรื่องนี้อาจไม่โดดเด่นทรงพลังมากนัก แต่ผมชอบสิ่งที่ "ย้ายรัง" พยายามนำเสนอ นั่นคือ การฉายภาพให้เห็นถึง "กระบวนการแทบทุกส่วน" ของการทำหนังสารคดี เพื่อตอบโจทย์ทางสังคมและโจทย์ขององค์กรที่มอบเงินทุนสนับสนุน หากพิจารณาลงลึกไปในแต่ละเสี้ยวส่วน "ย้ายรัง" อาจไม่ได้มีอะไรใหม่หรือเตะตาแบบสุดๆ เช่น การเผยให้เห็นตัวตน-วิธีคิดของคนทำหนัง/กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ การให้บรรดาซับเจ็คท์ในหนังได้มีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เรื่องราว ก็มีหนังสารคดีเรื่องอื่นทำกันมาจนเกร่อแล้ว หรือเอาเข้าจริง ในตอนจบที่ฉายให้เห็นผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาที่หนังสารคดีเรื่องนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ออกจะดู "แปลกๆ" และ "ผิดที่ผิดทาง"…

ไขที่มาชื่อ “สามศรี” – ตัวละครรายนี้ใน “นิทานวัดเกาะ” แตกต่างกับใน “ละครทีวี” อย่างไร?

กำเนิด "สามศรี" ในวรรณกรรมวัดเกาะ สำหรับคนที่ดูละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่น 2546 และ 2560 หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนอาจนึกคิดอยู่ในใจ ก็คือ ทำไม "สามศรี/สามสี" ต้องมีชื่อว่า "สามศรี/สามสี"? คำถามข้อนี้เหมือนจะไม่ถูกอธิบายเอาไว้ในละคร แต่เมื่อย้อนไปอ่าน "สามฤดู" ฉบับวรรณกรรมวัดเกาะ ก็จะพบสาเหตุเบื้องหลังอันกระจ่างชัดของนามดังกล่าว ในนิทานวัดเกาะ "สามศรี" เป็นบุตรของนางสุทัศน์ (ในละครเปลี่ยนชื่อเป็น "ทัศนีย์") หนึ่งในมเหสีของท้าวตรีภพ ที่ใส่ร้าย "ตัวละครสามฤดู" และแม่จนต้องถูกขับออกจากเมือง…

หนังน่าดู “มะลิลา” เตรียมเปิดตัวที่ปูซาน-เผยชื่อภาพยนตร์ไทยอีก3เรื่อง ที่ได้ร่วมเทศกาล

ได้ฤกษ์เปิดภาพนิ่งเซ็ตแรกออกมาแล้ว สำหรับภาพยนตร์ไทยเรื่อง "มะลิลา" หนังแนวโรแมนติก-ดราม่า ผลงานการกำกับหนังยาวลำดับที่สองของ "อนุชา บุญยวรรธนะ" (อนธการ) หนังที่นำแสดงโดยสองดาราชายชื่อดัง "เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ" และ "โอ อนุชิต สพันธุ์พงษ์" จะบอกเล่าเรื่องราวว่าด้วยความรักความอาลัยถึงผู้ที่จากไป โดย "เชน" (เวียร์ ศุกลวัฒน์) เจ้าของสวนมะลิผู้มีอดีตอันเจ็บปวด และ "พิช" (โอ อนุชิต) ศิลปินนักทำบายศรี อดีตคนรักของเชนในวัยเด็ก ได้กลับมาพบกันอีกครั้ง ทั้งคู่พยายามเยียวยาบาดแผลในอดีต…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (1)

"Bangkok Dystopia" (ปฏิพล ทีฆายุวัฒน์) หนังเล่าเรื่องราวในค่ำคืน/เช้ามืดที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ก่อนเกิดรัฐประหารปี 2557 จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อมีผู้โดยสารสองรายถูกเชิญ (ไล่) ลงจากรถเมล์ เนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้รถเมล์สายนี้ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่เขาและเธอต้องการได้ทัน ผู้โดยสารคนแรกเป็นหญิงสาวผิวเข้มตาคม อายุน่าจะราวๆ 20 ต้นๆ หรือใกล้ 20 เธอมีบุคลิก การแต่งกาย และสีหน้าแววตาที่ช่ำชองและกร้านโลกพอสมควร พอลงจากรถเมล์ หญิงสาวพยายามโทรศัพท์เรียกให้แฟนขี่มอเตอร์ไซค์มารับ แต่เสียงจากปลายสายคล้ายจะปฏิเสธ ผู้โดยสารคนที่สองเป็นเด็กหนุ่มที่น่าจะเพิ่งเริ่มเรียน ม.ปลาย เขามีแววตาใสซื่อบริสุทธิ์ จนคล้ายจะมีคำถามและความสงสัยใคร่รู้ต่างๆ ผุดพรายออกมาจากดวงตาคู่นั้น เด็กหนุ่มบอกว่าเพิ่งเขาไปติววาดรูปช่วงเย็น และพอเลิกเรียนก็ยังไม่อยากกลับบ้าน…