ทำไม จู่ๆ “นางสิบสอง” จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “พระรถเมรี”?

ก่อนหน้าปีใหม่ 2563 ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสอง 2562” ก็ได้ฤกษ์ “รีแบรนด์” ตัวเองครั้งสำคัญ โดยในการแพร่ภาพตอนที่ 44 ประจำวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562 นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงไตเติ้ลก่อนเข้าละครแล้ว ยังมีการเปลี่ยนชื่อละครเป็น “พระรถเมรี” ด้วย นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ค่ายสามเศียรเลือกใช้กลยุทธ์เช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้ ละคร “ดิน น้ำ ลม ไฟ” (2559) ก็เคยเปลี่ยนชื่อเป็น “สี่ยอดกุมาร”…

“เมรี 2562 – พิงค์ กมลวรรณ” จากนางงามสู่ “นางร้าย-นางไม้-นางเอก” ละครจักรๆ วงศ์ๆ

https://www.instagram.com/p/B6UdMGoJs2C/ คลิกอ่าน “พระรถเมรี 2562” เมื่อ “ฤาษีแปลงสาร” ไม่ได้มีความสำคัญอีกต่อไป ตอนเริ่มเปิดกล้องละคร “นางสิบสอง 2562” ใหม่ๆ หลายคนเซอร์ไพรส์ไม่น้อยเมื่อได้ทราบว่าผู้จะมาสวมบท “เมรี” ในละครฉบับนี้ คือ “พิงค์ กมลวรรณ ศตรัตพะยูน” ที่เลื่อนชั้นมาจากบท “โหงพราย/หงส์ฟ้า” ผีตัวร้ายกึ่งตลกใน “สังข์ทอง 2561” และ “นางไม้ใจดี” (แต่ปรากฏตัวแค่ไม่กี่ฉาก) ใน “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” อย่างไรก็ตาม…

อำลา “อันนา คาริน่า” ด้วยคำพูดที่เธอกล่าวถึงภาพยนตร์ยุคหลังของ “โกดาร์ด”

  https://www.youtube.com/watch?v=kAkbbXCGzwk “ฉันชอบงานในยุคแรกๆ ของเขา (โกดาร์ด) มากกว่า งานกลุ่มนี้มีความเป็นมนุษย์ ขณะที่งานในยุคต่อมามีความเป็นนามธรรม มันก็เหมือนผลงานจิตรกรรมแนวคิวบิสต์ ซึ่งไม่น่าสนุกเอาเสียเลย วันหนึ่งที่ลอสแอนเจลิส ฉันเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ และจ่ายค่าตั๋วเข้าชมไป 25 ดอลลาร์ แล้วรู้ไหมสิ่งที่ฉันได้เข้าไปชมคืออะไร? มันคือภาพวาดลูกบาศก์สีขาว! รู้ไหมสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคืออะไร? ฉันเดินกลับไปที่บู๊ธจำหน่ายตั๋วและพูดว่า ‘ฉันขอเงินค่าตั๋วคืนเถอะ ฉันไม่ได้จ่ายเงินเพื่อเข้าไปจ้องมองลูกบาศก์สีขาวพวกนั้น’” อันนา คาริน่า (1940-2019) นักแสดงและอดีตภรรยาของผู้กำกับ “ฌอง-ลุค โกดาร์ด” ทั้งคู่เคยมีผลงานภาพยนตร์ร่วมกันจำนวน 8 เรื่อง…

“ฟ้าใส” และ “เรือนร่าง” สองแบบของผู้หญิงไทยในอุตสาหกรรมบันเทิงร่วมสมัย

นอกประเด็น ขอพูดถึงประเด็นที่กำลัง “อินเทรนด์” ในสังคมไทยก่อนสักเล็กน้อย นั่นคือเรื่องการตอบคำถามของ “ฟ้าใส ปวีณสุดา” ซึ่งบางคนบอกว่า “เป็นไทย” เกินไป อยู่ใน “กะลา” เกินไป ส่วนบางคนก็ลากไปถึงบริบทการอยู่ในอำนาจของ “ประยุทธ์/พลังประชารัฐ/คสช.” แต่เอาเข้าจริง ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลในการตอบคำถามของมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ นั้นน่าจะขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ของ "ฟ้าใส" เองและทีมงานมากกว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยสอบทักษะการเขียนของ IELTS แนวคำถามของข้อสอบประเภทนั้นก็จะไม่ต่างกับพวกคำถามบนเวทีนางงามจักรวาลระยะหลังมากนัก คือ เป็นประเด็นถกเถียงทางสังคม มีสมมติฐานให้เลือกสนับสนุนสองขั้ว ซึ่ง “สูตร” ที่ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่รู้กันดี ก็มีอยู่ว่าเราต้องบรรยายถึงข้อดี-ข้อด้อยของทั้งสองสมมติฐาน…

เรตติ้ง “นางสิบสอง” ทะลุหลัก 5 สองสัปดาห์ซ้อน บ่งบอกอะไร?

จู่ๆ ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสอง 2562” ที่มีเรตติ้งซึมๆ เนือยๆ (อย่างพลิกความคาดหมาย) ก็มีดัชนีความนิยมทะลุหลัก 5 สองสัปดาห์ติดต่อกัน เริ่มจากวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งละครเรื่องนี้คว้าเรตติ้งไป 5.220 ก่อนจะได้เรตติ้ง 5.002 ในวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม ความนิยมที่กระเตื้องขึ้นของ “นางสิบสอง” บ่งบอกอะไร? อาจเป็นไปได้ว่าเรตติ้งที่ดีขึ้น มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาของละครตอนที่ 30 กว่าๆ ที่สนุกเข้มข้นกว่าช่วงแรกๆ แต่หากลงรายละเอียดให้ลึกกว่านั้น…

หนังสั้นไทยสะท้อนปัญหาวิกฤตอัตลักษณ์ของเด็กสาวมุสลิม คว้ารางวัลใหญ่ที่สิงคโปร์

“I’m Not Your F***ing Stereotype” หนังสั้นโดย “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” คว้ารางวัลภาพยนตร์สั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ 2019 https://www.youtube.com/watch?time_continue=67&v=L7eg9R3olqQ&feature=emb_title หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของ “มัรยัม” เด็กสาวมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศไทย ที่ตกเป็นเหยื่อของการเหยียดเชื้อชาติในโรงเรียน ส่งผลให้เธอประสบภาวะวิกฤตอัตลักษณ์ จนเริ่มไม่พอใจกับชื่อ, ศาสนา กระทั่งวันเกิดของตนเอง “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” เกิดที่จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบัน เขาเข้ามาศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาพยนตร์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดย “I’m Not Your F***ing…