“วิคกี้ ครีปส์” ว่าด้วย “The Young Karl Marx” และ “Phantom Thread”

หมายเหตุ – เมื่อสัปดาห์ก่อนไปชมภาพยนตร์เรื่อง “The Young Karl Marx” กลายเป็นว่าค่อนข้างประทับใจกับผลงานการแสดงของ “วิคกี้ ครีปส์” นักแสดงหญิงชาวลักเซมเบิร์ก ซึ่งในฐานะ “เจนนี่ มาร์กซ์” เธอมีบทบาทไม่เยอะนัก แต่กลับแฝงเร้นพลังบางอย่างเอาไว้มหาศาล สถานภาพดังกล่าวดูจะสอดคล้องลงรอยกับอีกหนึ่งบทบาทที่สร้างชื่อให้แก่ครีปส์ในวงกว้าง นั่นก็คือ บท “อัลม่า” ใน “Phantom Thread” เมื่อลองค้นข้อมูลดูจึงพบว่าเคยมีสื่อต่างประเทศบางสำนักชวนครีปส์คุยในประเด็นข้างต้นจริงๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับปู่ของนักแสดงหญิงรายนี้ ซึ่งเคยถูกลงโทษโดยระบอบนาซี ด้วยข้อหาครอบครองหนังสือที่เขียนโดย “คาร์ล…

บันทึกถึง “กรงกรรม” (2): ก่อนอวสาน

หนึ่ง ในบันทึกชิ้นก่อนหน้านี้ เคยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะเด่นเชิง “พื้นที่” ซึ่งปรากฏในละครเรื่อง “กรงกรรม” นั่นคือ เครือข่ายของจักรวาลน้อยๆ ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ “บ้านแบ้” ในตลาดชุมแสง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในอีกหลายๆ ตำบลของอำเภอชุมแสง ตลอดจนอำเภออื่นๆ ร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ถ้าเปรียบคนเขียนนิยาย คนเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ หรือกระทั่งคนดู เป็นเหมือน “นักมานุษยวิทยา” ที่เดินทางไปทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาชีวิตของ “คนบ้านแบ้” “สนาม” ที่พวกเขาศึกษา ก็มิใช่หมู่บ้านชนบทอันห่างไกล เดี่ยวๆ โดดๆ หากเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในหลายๆ พื้นที่…

“โลกเฉพาะ?” ใน The Favorite

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LwF0x0jBefA ชอบรูปแบบการคลี่คลายตัวของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตัวละครสตรีสามรายในหนังเรื่องนี้ เริ่มจาก “เลดี้ซาร่าห์” ที่เหมือนจะมีบทบาทครอบงำ “ควีนแอนน์” แล้ว “เลดี้อบิเกล” ก็ผงาดขึ้นมากำจัดโค่นล้ม “เลดี้ซาร่าห์” แต่ท้ายสุด หนังก็ชวนตั้งคำถามว่า “เลดี้อบิเกล” เข้ามาแทนที่ “เลดี้ซาร่าห์” ในฐานะอะไรกันแน่? คู่รัก/คนโปรด? ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเบื้องหลังราชินี? หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆ” ที่เป็นลูกจำลอง/ของเล่น/เบี้ยล่าง ซึ่งอาจมีชะตากรรมแปรผันไปตามอารมณ์อันผันผวนของ “ควีนแอนน์”? เพราะหลังจากมีบทบาทในเชิง “ตั้งรับ/ถูกชักจูง” เป็นส่วนใหญ่ มาตลอดทั้งเรื่อง ตัวละคร “ควีนแอนน์” กลับแสดงบทบาทในฐานะ…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

บันทึกถึง The Florida Project และ Lady Bird

The Florida Project 1. ชอบและสนใจเรื่องราวแนว "ประชาชนชาวแฟลต" เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เลยสนุก-สะเทือนใจมากๆ หลังดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ไปพักนึง ก็นึกถึงประเด็นที่จาร์วิส ค็อคเกอร์ แห่ง Pulp เคยวิจารณ์อัลบั้ม Parklife ของ Blur และหนังเรื่อง Natural Born Killers ของโอลิเวอร์ สโตน เอาไว้ราวๆ ว่า เพลงและหนังเหล่านั้นเป็นการถ้ำมองคนชั้นล่างจากสายตาผู้อุปถัมภ์ของอภิสิทธิ์ชน (หรือเป็นการพยายามพูดแทนคนชั้นล่างด้วยน้ำเสียง/วิธีมองโลกแบบอภิสิทธิ์ชน) เพราะจริงๆ แล้ว พวกคนที่อาศัยอยู่ในแฟลตการเคหะของอังกฤษ…

บันทึกหลังการชม “Sad Beauty เพื่อนฉัน ฝันสลาย”

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์! เมื่อวานไปดูหนังไทยเรื่อง "Sad Beauty เพื่อนฉัน ฝันสลาย" ของ "ตั๊ก บงกช เบญจรงคกุล" โดยรวมอาจไม่ได้ชอบหนังมาก แต่ก็รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินระหว่างนั่งดู จากหลายๆ องค์ประกอบในภาพยนตร์ ที่บางส่วนก็ดี บางส่วนก็แปลก บางส่วนก็ฮา และบางส่วนโดนใจตัวเองเป็นการส่วนตัว ของแถมก่อนดูหนัง (ก) ก่อนจะเข้าไปดูหนัง เจอ "แอม ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ" มาซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ โรง พร้อมกับสามี น่าเสียดายที่หลายปีหลัง เธอไม่ได้แสดงภาพยนตร์อีกเลย ทั้งที่สมัยเล่นหนังให้พงษ์พัฒน์…

คนทำหนังสตรีมีลุ้นออสการ์จากไทย-ลาว-สิงคโปร์ กับประเด็น “ผู้หญิง-ภาพยนตร์-มนุษย์”

ปีนี้ มีหนังนานาชาติถูกส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม มากถึง 92 เรื่อง ที่สำคัญ หนังเหล่านั้นเป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงมากถึง 27 ราย เว็บไซต์วาไรตี้จึงได้ไปสนทนากับบรรดาคนทำหนังสตรีจากทวีปเอเชีย ซึ่งกำลังมีลุ้นในรางวัลสาขานี้ ผ่านคำถามสำคัญๆ จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้น คือ คำถามว่า "คุณอยากให้โลกรับรู้อะไรเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของคนทำหนังสตรี และอะไรคือสารที่คุณอยากจะสื่อออกไป?" บล็อกคนมองหนังคัดเลือกคำตอบของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงสามราย ที่ผลงานลุ้นรางวัลออสการ์ของพวกเธอเคยเข้าฉายเชิงพาณิชย์ในบ้านเรา มาฝากกัน แม็ตตี้ โด (น้องฮัก - ตัวแทนจากประเทศลาว) "ถ้ามีอะไรที่ฉันอยากบอกให้โลกรับรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้กำกับหญิงจากลาว สิ่งนั้นก็คือความยากลำเค็ญสุดๆ จากหลากหลายเหตุผล…

ทำความรู้จัก “อานเญส วาร์ดา” ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงคนแรก ที่คว้า “ออสการ์เกียรติยศ”

"อานเญส วาร์ดา" ผู้กำกับหญิงวัย 89 ปี ผู้ถือกำเนิดที่ประเทศเบลเยี่ยม และเป็นคนทำหนังสตรีเพียงรายเดียวในขบวนการ "เฟรนช์ นิว เวฟ" ของฝรั่งเศส เพิ่งได้รับรางวัลออสการ์เกียรติยศ ในงาน Governors Awards เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา นับเป็นผู้กำกับภาพยนตร์สตรีรายแรกที่ได้รับรางวัลสาขานี้ ก่อนหน้านี้ วาร์ดาเคยกล่าวในเชิงตัดพ้อถึงการมอบรางวัลเกียรติยศดังกล่าวอยู่บ้าง ว่าตนเองได้รับรางวัลเกียรติคุณแห่งความสำเร็จบ่อยครั้งมากๆ ในระดับสามเดือนต่อหนึ่งรางวัล "ฉันแก่แล้ว พวกเขาก็เลยไม่รู้ว่าจะให้อะไรกับฉันดี" วาร์ดากล่าวและว่า "มันน่าหัวร่อมาก…

Mother!: แรงกาย-หัวใจของผู้หญิง, โลกภายในบ้าน และการผลิตซ้ำ

(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์) หนึ่ง อยากลองตีความหนังสนุกเรื่องนี้เล่นๆ โดยมีโจทย์/ข้อจำกัดใหญ่ๆ สองข้อ คือ (1) จะพยายามไม่มองมันผ่านกรอบเรื่องคริสต์ศาสนา เพราะเห็นหลายคนทำกันไปแล้ว และ (2) ด้วยความที่เป็นคนดูหนังมาไม่เยอะนัก ผมเลยไม่มีความสามารถมากพอจะเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้เข้ากับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้า ในฐานะ "สัมพันธบท" ระหว่างกัน นอกจากนี้ ผมยังได้รับแรงบันดาลใจเล็กๆ อีกหนึ่งประการ หลังจากดู "Mother!" จบลงที่โรงภาพยนตร์แถวปิ่นเกล้า กล่าวคือ ตรงที่นั่งด้านหลังผมมีคู่รักชาย-หญิง ซึ่งตีตั๋วมาดูหนังเรื่องนี้ด้วยกัน ระหว่างเอ็นด์เครดิตขึ้นจอ ทั้งสองคนพยายามขบคิดตีความว่าสัญลักษณ์ต่างๆ ในหนังนั้นหมายถึงอะไรบ้าง? แล้วฝ่ายชายก็เริ่มพูดถึงพระเจ้า…

คำสัมภาษณ์บางส่วนของ “เป็นเอก” ที่เวนิส และตัวอย่างหนังสั้น “อวสานซาวด์แมน”

คำสัมภาษณ์แรกๆ ของ "เป็นเอก" เกี่ยวกับ "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" พร้อมๆ กับการไปเปิดตัวหนังไทยเรื่อง "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" ในรอบปฐมทัศน์โลกที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส ประเทศอิตาลี ผู้กำกับรุ่นเก๋าอย่าง "เป็นเอก รัตนเรือง" ก็ได้เริ่มประเดิมพูดคุยกับสื่อต่างชาติเกี่ยวกับผลงานใหม่ของตนเอง เว็บไซต์ cineuropa เพิ่งเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เป็นเอก ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจบางส่วน ดังต่อไปนี้ สถานะของผู้หญิงในประเทศไทย "...ผู้หญิงไทยโดยทั่วไป พวกเธอก็เหมือนนักแสดงนี่แหละ เพราะว่าสังคมได้กำหนด 'บทบาท' หลายแง่มุม ให้พวกเธอต้องแสดง เช่น ถ้าคุณเป็นลูกจ้างบริษัท คุณก็จะต้องเชื่อฟังเจ้านาย คุณต้องไม่พูดจาหยาบคายกับเขา…