ประเด็นเล็กๆ จากหนัง 4 เรื่อง ที่ได้ดูช่วงปลาย เม.ย. 60

หมายเหตุ นี่ไม่ใช่การรีวิวหรือบทความที่วิเคราะห์-วิจารณ์หนังอย่างรอบด้านจริงจังนะครับ เพียงแต่ระหว่างวันที่ 22-29 เมษายน มีโอกาสได้ดูหนังอยู่สี่เรื่อง และพบว่าแต่ละเรื่องมี "จุดเล็กๆ" บางอย่าง ที่ตัวเองสนใจและติดใจเป็นพิเศษ ทว่า ยังไม่สามารถขยาย "จุดเล็กๆ" เหล่านั้น ให้กลายเป็นบทความที่เขียนถึงหนังแต่ละเรื่องโดยมีเนื้อหาขนาดยาวๆ ได้เหมือนงานชิ้นก่อนๆ เลยตัดสินใจ มาเขียนถึงหนังทั้งสี่เรื่องรวมกัน ณ ที่นี้ Apprentice (บูจุนเฟิง) ข้อนึงที่รู้สึกว่าน่าสนใจดี คือ มันเป็นหนังที่ไม่วอกแวกเลย เหมือนจะเล่าประเด็นหลักอะไรก็มุ่งหน้าไปสู่ประเด็นนั้น ไม่แวะข้างทางให้วุ่นวายออกนอกเรื่อง (เราเลยไม่เห็นชีวิตด้านอื่นๆ ของตัวละคร เช่น…

“มหาลัยวัวชน” : ประวัติศาสตร์ บทเพลง และคนแพ้ที่เพิ่งสร้าง

https://www.youtube.com/watch?v=_U6GDa8VCqs หนึ่ง เมื่อหลายปีก่อน ขณะไปนั่งฟังการประชุมประจำปีของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรในหัวข้อ "ผู้คน ดนตรี ชีวิต" หนึ่งในนักวิชาการต่างชาติที่มาบรรยายในการประชุมครั้งนั้น เป็นนักมานุษยวิทยาดนตรีเชื้อสายไอริช วรรคทองหนึ่งซึ่งแกพูดขึ้นมา แล้วสร้างความฮือฮา-ซาบซึ้งให้แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ "ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์ ส่วนผู้แพ้ก็แต่งเพลงกันไป" เมื่อมาดูหนังเรื่อง "มหาลัยวัวชน" ผลงานล่าสุดของ "บุญส่ง นาคภู่" ผมก็ย้อนนึกไปถึงวรรคทองของนักมานุษยวิทยาไอริชคนนั้นอีกครั้ง เพราะผมรู้สึกในแวบแรกๆ ว่า "มหาลัยวัวชน" พยายามจะพูดถึงประเด็นหลักๆ อยู่สองเรื่อง เรื่องแรก คือ การต่อสู้ในโลกร่วมสมัยหรือการแสวงหาตำแหน่งแห่งที่ในฐานะปัจเจกบุคคล ของตัวละครนำผู้มีบุคลิกเป็น "คนแพ้"…

คนทำหนัง “อนธการ-ดาวคะนอง” ถูกจับตาจากสื่อต่างชาติ ในฐานะ “ผู้กำกับหญิง” ที่โดดเด่น

เว็บไซต์ feminisminindia.com ได้ตีพิมพ์บทความหัวข้อ "10 ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่น่าสนใจมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ยุคปัจจุบัน" โดยนอกจากบทความชิ้นนี้จะกล่าวถึง "คนทำหนังสตรี" จากอินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถานแล้ว ผู้เขียนคือ " Sil Smit" ยังได้นับรวมคนทำหนังจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เข้าไปอยู่ในลิสต์ของ "ผู้กำกับหญิงเอเชียใต้" ด้วย สำหรับ "คนทำหนังหญิง" หนึ่งเดียวจากไทย ซึ่งติดอยู่ใน 10 อันดับผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่น่าสนใจมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ ก็คือ "อนุชา บุญยวรรธนะ" บทความชิ้นนี้ระบุว่า "อนธการ" หนังยาวเรื่องแรกของอนุชา คือ…

ชมคลิปการแสดงสดสุดไพเราะ (บางส่วน) ของ “ดึกดำบรรพ์ บอย แบนด์” เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 60

ก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ มีโอกาสไปชมมินิคอนเสิร์ตของวง "ดึกดำบรรพ์ บอย แบนด์" อันประกอบไปด้วยสามสมาชิกหลัก "พนเทพ สุวรรณะบุณย์" "ชรัส เฟื่องอารมย์" และ "ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว" ที่ร้านปาร์คกิ้ง ทอยส์ ถนนเกษตร-นวมินทร์ โดยรวมแล้ว โชว์ถือว่า "ดีงามตามท้องเรื่อง" และตามมาตรฐานระดับสูงของพวกลุงๆ น้าๆ ครับ ทุกๆ เพลงที่เล่นยังไพเราะเหมือนเดิม ขณะเดียวกัน บรรยากาศของคนฟังก็ยอดเยี่ยมและสนุกมากๆ มีการร้องคลอตามศิลปินเกือบทุกเพลง โดยส่วนตัว เพลงในเพลย์ลิสต์ของการแสดงครั้งนี้ที่ผมชอบมากสุด คือ…

“หนัง (เรื่องเมือง) ไทย” ในคานส์, หนังสั้น “เจ้ย” ที่ฮ่องกง และรางวัลล่าสุดของ “ดาวคะนอง”

มี "หนังเกี่ยวกับเมืองไทย" ในคานส์ 2017 ภาพยนตร์เรื่อง "A Prayer Before Dawn" โดย "Jean-Stéphane Sauvaire" ได้รับการคัดเลือกเข้าฉายในสาย "Midnight Screening" ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 2017 โดยหนังเรื่องนี้สร้างขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตจริงของ "บิลลี่ มัวร์" นักโทษชาวต่างชาติ ที่ต้องแสวงหาวิธีการ "อยู่รอด" ภายในคุกไทย ด้วยการฝึกมวยไทยจนกลายเป็นแชมเปี้ยน "หนังสั้นอภิชาติพงศ์" ที่ฮ่องกง ในโปรแกรม "Short Film…

ว่าด้วย “สยามสแควร์”

"สยามสแควร์" กับ "The Inerasable" ระหว่างดู "สยามสแควร์" ผมนึกถึงหนังญี่ปุ่นเรื่อง "The Inerasable" (Yoshihiro Nakamura) อยู่รางๆ เพราะทั้งสองพยายามเล่นกับ "พื้นที่" "เวลา" และประเด็น "ผีในผี" เหมือนๆ กัน ในแง่ "พื้นที่" ทั้ง "สยามสแควร์" และ "The Inerasable" คล้ายจะเริ่มต้นด้วยการ "ตรึงผี" ไว้ ณ…

ย้อนดู “Mobile Men” หนังสั้นอภิชาติพงศ์ ในยุคที่ผู้โดยสาร “ห้ามนั่งกระบะหลัง”

https://www.youtube.com/watch?v=zIK3ctC1DP0 "Mobile Men" เป็นผลงานภาพยนตร์สั้นความยาวประมาณ 3 นาที ของ "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ที่ได้รับการผลิตออกมาเมื่อปี 2551 หนังเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานภาพยนตร์, ศิลปะ และวรรณกรรม ที่สร้างขึ้นในโครงการเฉลิมฉลองวาระ 60 ปี ของ "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" หนังถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กหนุ่มสองคนที่นั่งอยู่บนท้ายกระบะของรถปิ๊กอัพ และพวกเขาต่างกำลังบันทึกภาพของอีกฝ่ายเอาไว้ แม้ชายหนุ่มทั้งคู่คล้ายจะมาจากคนละพื้นที่ของโลก แต่กล้องถ่ายภาพยนตร์ก็เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ทั้งคู่ได้พบเจอซึ่งกันและกัน พวกเขาต่างฝ่ายต่างค่อยๆ เริ่มบันทึกภาพของกันและกัน จากการโคลสอัพไปยังบางเสี้ยวส่วนของร่างกาย ไปสู่การจับภาพให้เห็นร่างกายทั้งเรือนร่าง อภิชาติพงศ์เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเขาสร้างหนังเรื่องนี้ในช่วงหลังรัฐประหารปี 2549…

มาแล้ว! ตัวอย่าง “Baahubali 2 – The Conclusion”

คลิกอ่านบทวิจารณ์หนังภาคสอง คลิกที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=qD-6d8Wo3do หลายคนคงเคยชมและประทับใจในภาพยนตร์ (จักรๆ วงศ์ๆ) สุดอลังการงานสร้างจากประเทศอินเดียเรื่อง "Baahubali - The Beginning" ที่ออกฉายเมื่อปี 2015 สองปีผ่านไป ก็ได้ฤกษ์ที่หนังตัวอย่างของ "Baahubali 2 - The Conclusion" จะถูกปล่อยออกมา โดยหนังตัวอย่างนี้ถูกเผยแพร่ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2017 ก่อนที่ Baahubali 2 จะเริ่มออกฉายในวันที่ 28 เมษายน คงต้องตามข่าวกันต่อไป…

เปิดโปรเจ็คท์ “Ten Years Thailand” โดยเจ้ย-วิศิษฏ์-มะเดี่ยว-อาทิตย์-จุฬญาณนนท์

หลังจากเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 บล็อกคนมองหนังเผยแพร่ข่าวคราวเกี่ยวกับโปรเจ็คท์ "Films For Free" โครงการระดมทุนเพื่อสร้างภาพยนตร์บนความเชื่อที่ว่างานศิลปะที่สร้างจากอิสรภาพและเสรีภาพทางความคิด สามารถส่งเสริมให้สังคมเคารพความหลากหลายและสามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้อย่างสันติ ซึ่งจะกำกับและเขียนบทโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง, ชูเกียรติ ศักดิ์วีรกุล, เป็นเอก รัตนเรือง และ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก Films For Free ของโปรเจ็คท์ภาพยนตร์ดังกล่าวได้อัพเดตข้อมูลล่าสุด โดยอธิบายวัตถุประสงค์ของโครงการเอาไว้ว่า จะดีไหมหากเราจะมีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อค่าย ไม่ต้องรอเสี่ย "Films For Free" คือกองทุนผลิตและพัฒนาภาพยนตร์อิสระ โดยมีโปรเจ็คท์…