“บุตรธิดาแห่งมาตุภูมิ” (บทกวีจากหนัง)

หมายเหตุ ถอดความ-แปรความจากเนื้อหาของเพลง “Anak Ng Bayan” ที่ปรากฏในภาพยนตร์ฟิลิปปินส์เรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” กำกับโดย “ลาฟ ดิแอซ” https://www.youtube.com/watch?v=4juoATkeuSo แม่พ่อจ๋าลูกขอขมาไหว้ก่อนออกเดินทางไกลทะลุฟ้าศึกครานี้ลูกอาจวายชีวาเพื่อไขว่คว้าใฝ่หาซึ่งเสรี แม่พ่อจ๋าอย่ากังวลห่วงอะไรลูกจะเก็บรักใส่ใจไปทุกที่รักเอ่อท้นหัวใจคนอีกมากมีรักล้นปรี่ที่พักแรมตามรายทาง แม่พ่อจ๋าท่านจะไม่โดดเดี่ยวลูกมิได้สู้คนเดียวอย่างอ้างว้างลูกมีเพื่อนมากมายอยู่เคียงข้างเราจะแผ้วถางซ่อมสร้างมาตุภูมิ แม่พ่อจ๋าได้รับสารของลูกไหมจากเหล่ามิตรสหายที่มารวมกลุ่มโปรดเมตตายามพวกเขามาชุมนุมโปรดปกคุ้มดุจดังบุตรธิดาตน แม่พ่อจ๋ายามลูกหันหลังจากจุดหมาย ณ อีกฟากจักไม่หมองหม่นเสรีภาพจักเฉิดฉายกลบมืดมนฝันจักถูกบันดาลดลตรงบั้นปลาย ภาพปกจาก www.matichon.co.th

“Jocelynang Baliwag” (บทกวีแปลจากเพลงประกอบภาพยนตร์ของ “ลาฟ ดิแอซ”)

“Jocelynang Baliwag” https://www.youtube.com/watch?v=vVeDuJQmk_s รักเดียวที่จิตวิญญาณฉันทูนเทิด ถือกำเนิดอย่างพิสุทธิ์งามเลิศหล้า เป็นน้ำปรุงกลั่นจากยอดแห่งผกา คือธาราพุ่งสราญบันดาลใจ ดุจน้ำพุสุขกำซาบบนสวนสวรรค์ ติดตรึงฉันตราบชีวีจะหาไม่ เนตรเย้ายวนรอยยิ้มหวานกว่าใครๆ กล่อมดอกไม้ให้ผลิบานเกินคะเน เมตตาเธอฉันน้อมรับปราศเงื่อนไข ยึดมั่นไว้ไร้ความกลัวไม่หันเห ยอดชีวาไถ่บาปฉันอย่าทิ้งเท กลางทะเลผันผวนอย่าปล่อยจม คนต่ำต้อยขัดสนอยากวอนขอ ฉันเฝ้ารอรักแท้ในยุคขืนข่ม ฉันยอมเป็นยาจกดูโง่งม ดีกว่ากลวงเปล่าเศร้าตรมไร้หวังใด (ถอดความจากซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษในภาพยนตร์เรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของ “ลาฟ ดิแอซ”) https://www.youtube.com/watch?v=STxchtw6g88…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

สนทนากับคนทำหนัง “เพื่อนบ้าน”- ลาฟ ดิแอซ และ เดวี่ ชู

https://www.youtube.com/watch?v=HMm7xKHIJi4 -ในท้องเรื่องของหนังเรื่องนี้ จุดประสงค์ของการปฏิวัติหรือความหมายแท้จริงของเสรีภาพ คือ การปลดแอกตนเองออกจากเจ้าอาณานิคมสเปน ถ้าปัจจุบันเรายังต้องการการปฏิวัติอยู่ อยากทราบว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของมัน? เรื่องราวในหนังมันเป็นแค่พื้นผิว แต่ในความเป็นจริง พวกเรายังต้องทำงานให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกๆ ชาติ ก็เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้น ตอนนี้ พวกเรามีเสรีภาพกันจริงๆ ไหมล่ะ? นี่คือคำถาม ปัจจุบันนี้ เราย้อนกลับไปมีประธานาธิบดีที่เป็นนักปลุกระดม นี่คือสิ่งที่ผมถ่ายทอดไว้ในหนัง เป็นฉากผู้คนเดินหลงวนไปมารอบต้นไม้ นั่นคือวิธีเลือกผู้นำของพวกเขา (ประชาชน) คุณคิดว่าตอนนี้มันมีเสรีภาพจริงไหมล่ะ? ประชาชนเลือกผู้นำคนนี้ เพราะเชื่อว่าตนเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชาติ พวกเขาเคยถูกกีดกันออกไปเป็นคนชายขอบ แต่ “ดูแตร์เต” เป็นนักปลุกระดมที่เดินไปบอกคนเหล่านั้นว่า…

โจเอล ซาราโช : เมื่อสามัญชนเลี้ยวออกจาก “ถนนสายปฏิวัติ” ไปสู่ “ถนนสายความเชื่อ”

"แมง คาร์โย คือตัวละครที่เป็นภาพแทนของคนธรรมดาสามัญ ซึ่งต้องการเข้าร่วมเป็นหนึ่งของการปฏิวัติ แต่กลับไม่ได้รับโอกาสเช่นนั้น เพราะเขาเจ็บป่วย "นอกจากนี้ เขายังเป็นภาพแทนของคนชายขอบ ผู้เข้าไม่ถึงโอกาสที่จะได้เข้าร่วมขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศ "แต่เขาก็ยังคงต้องการอุทิศเสียสละตนแด่การปฏิวัติ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเขาจึงเข้าร่วมภารกิจค้นหาร่างของ อันเดรส โบนิฟาซิโอ (บิดาแห่งการปฏิวัติฟิลิปปินส์) ในป่า "ระหว่างเดินทางในป่า เขาพบว่าอาการเจ็บป่วยของตนเองสามารถถูกรักษาให้หายได้ด้วยเวทมนตร์ของ Tikbalag (อมนุษย์ครึ่งคนครึ่งม้าตามตำนานปรัมปราท้องถิ่น) โดยไม่ได้ตระหนักว่าความเชื่อดังกล่าวไม่ใช่ความจริง นั่นเพราะเขาเพียงแค่ต้องการจะหายขาดจากความป่วยไข้ "ด้วยเหตุนี้ เขาจึงค่อยๆ เลี้ยวออกจากถนนสายปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม ไปสู่ถนนสายความเชื่อ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง "นี่อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมการปฏิวัติของเราจึงแตกสลายเป็นส่วนเสี้ยวเล็กน้อย ทำไมการปฏิวัติจึงล้มเหลวลง" โจเอล…

ดูหนังอาเซียนในโตเกียว “การปฏิวัติ” ที่ยังไม่สิ้นสุด และ “ภาพแทนของอดีต” อันหลากหลาย

ดูหนังอาเซียนในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว "การปฏิวัติ" ที่ยังไม่สิ้นสุด และ "ภาพแทนของอดีต" อันหลากหลาย (1) (มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 พฤศจิกายน 2559) ในที่สุด ก็มีโอกาสได้ชมหนังฟิลิปปินส์เรื่อง "A Lullaby to the Sorrowful Mystery" ของ "ลาฟ ดิแอซ" ซึ่งคว้ารางวัลหมีเงิน Alfred Bauer Prize (มอบแก่ผลงานที่เผยให้เห็นถึงแง่มุมใหม่ๆ ของศิลปะภาพยนตร์) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่…

ลาฟ ดิแอซ, ตำนานปรัมปรา, และนักปลุกระดมฝูงชนชื่อ “ดูแตร์เต้”

บางส่วนจากบทสนทนากับ "ลาฟ ดิแอซ" ว่าด้วยภาพยนตร์เรื่อง A Lullaby to the Sorrowful Mystery ของเขา ระหว่างเจ้าตัวเดินทางมาร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2016 "Tikbalang" เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งในตำนานปรัมปราของเรา จนถึงปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากในประเทศก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้อยู่ ตัวละครในตำนานปรัมปราเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการประกอบสร้าง "มายาคติ" คุณสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่จริง, สร้างการมีมุมมองต่อเรื่องราวต่างๆ แบบจำกัดจำเขี่ยไม่ครอบคลุม หรือกระทั่งสร้างทฤษฎี แล้วสิ่งพวกนั้นก็จะแปรเปลี่ยนกลายเป็น "สัจจะ" ย้อนกลับมาที่สถานการณ์ในปัจจุบัน กับกระบวนการประกอบสร้าง "มายาคติ"…

โปรแกรมไดเร็คเตอร์เทศกาลโตเกียว อธิบาย ทำไมเลือกฉายหนังแปดชั่วโมงของลาฟ ดิแอซ

ไปฟังเหตุผลของ “โยชิฮิโกะ ยาตาเบะ” หรือ คุณโยชิ โปรแกรมไดเร็คเตอร์ที่ทำหน้าที่คัดเลือกภาพยนตร์ในสายการประกวดหลัก ประจำเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว และมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกหนังนานาชาติเข้ามาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลด้วย ว่าทำไม เขาจึงเลือกหนังเรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของลาฟ ดิแอซ มาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลประจำปีนี้ หมายเหตุ ก่อนหน้าบทสนทนาในคลิปไม่นาน คุณโยชิตอบคำถามสื่อมวลชนต่างชาติรายหนึ่งว่า ในฐานะโปรแกรมไดเร็คเตอร์ แกไม่สามารถเลือกหนังอาร์ตเฮาส์เข้ามาฉายในสายการประกวดหลักทั้ง…

“หนังอาเซียน” ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016

"หนังอาเซียน" ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016 (มติชนสุดสัปดาห์ 23-29 กันยายน 2559) กลับมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวครั้งที่ 29 ประจำปี 2016 โดยเมื่อปีที่แล้ว มีหนังไทยเดินทางไปร่วมประกวดในเทศกาลนี้ถึงสองเรื่อง ได้แก่ "สแน็ป แค่...ได้คิดถึง" ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี ที่เข้าฉายในสายการประกวดหลัก และ "มหาสมุทรและสุสาน" ของ พิมพกา โตวิระ ที่เข้าฉายในสายเอเชี่ยน ฟิวเจอร์ และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำสายการประกวดดังกล่าวมาครอง คงต้องจับตาดูกันว่า…

เมื่อหนังความยาวกว่า 8 ชั่วโมงจากฟิลิปปินส์ คว้ารางวัล “หมีเงิน” ที่เบอร์ลิน

(มติชนสุดสัปดาห์ 26 ก.พ.-3 มี.ค. 2559) คนรักหนังกลุ่มไม่ใหญ่ในเมืองไทย คงคุ้นเคยกับชื่อของ "ลาฟ ดิแอซ" ผู้กำกับภาพยนตร์วัย 57 ปีอยู่บ้าง เพราะแม้หนังของเขาจะไม่เคยเข้าฉายเชิงพาณิชย์ในบ้านเราเลย แต่หลายๆ เรื่อง ก็เคยถูกนำมาจัดฉายให้บรรดาคอหนังฮาร์ดคอร์ชาวไทยได้รับชม ภาพยนตร์ของดิแอซมักมีความยาวมากกว่าหนังโรงทั่วๆ ไป และมุ่งวิพากษ์สังคมฟิลิปปินส์อย่างเข้มข้นจริงจัง ผ่านจังหวะท่วงทำนองราวบทกวี อย่างไรก็ดี เมื่อคนทำหนังชาวฟิลิปปินส์รายนี้เริ่มมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมากขึ้น คุณภาพงานโปรดักชั่นในหนังของเขาก็ถูกยกระดับให้สูงขึ้น และมีดาราดังๆ ของประเทศบ้านเกิด เข้ามาร่วมงานด้วยเยอะขึ้น หนังเรื่องล่าสุดของดิแอซที่ชื่อ "A Lullaby to…