ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…

ส่งท้ายปีเก่า – 5 ชอบเกี่ยวกับ “สังข์ทอง 2561”

เมื่อถึงวาระสิ้นสุดปีเก่า-ขึ้นปีใหม่ จึงขออนุญาตสรุปสิ่งที่ชอบเกี่ยวกับ “สังข์ทอง 2561” มาประมาณห้าข้อ แม้ละครจะยังไม่อวสานใน พ.ศ.2561 ก็ตาม หนึ่ง เจ้าเงาะ ตอนแรกที่ทราบว่า “ปอนด์ โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์” จะมาสวมบท “เจ้าเงาะ” ก็อดกังขาและกังวลแทนไม่ได้ว่าเขาจะรับบท “ตัวตลก” ได้ดีแค่ไหน? แต่เรตติ้งสูงลิ่วของละคร “สังข์ทอง 2561” ในช่วงที่ “เจ้าเงาะ” (ยึดจอ) ปะทะท้าวสามนต์-หกเขย-หกพระพี่นาง คงเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าปอนด์ โอภาภูมิ สามารถสวมบทเงาะป่าบ้าใบ้ได้ยอดเยี่ยมเพียงใด ในแง่วิธีการแสดงบทตลก ปอนด์อาจไม่เหมือนกับรุ่นพี่อย่าง…

บันทึกถึง Roma

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=6BS27ngZtxg ขอพูดเรื่องเทคนิคแบบคนมีความรู้ชนิดงูๆ ปลาๆ ก่อนเป็นลำดับแรก กลายเป็นว่าองค์ประกอบหนึ่งที่ผมชอบมากใน Roma คือเรื่องเสียง ซึ่ง “อัลฟองโซ กัวรอง” พยายามเล่นกับคนดู ด้วยการทำให้เราได้ยินเสียงนู่นนี่ ทางโน้นทางนี้ ที่อยู่นอกเหนือไปจากสถานการณ์ที่ถูกโฟกัสในจอภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้ ผมได้อ่านหลายความเห็นที่ตั้งข้อสงสัยว่า Roma นั้นเหมาะสมกับการเผยแพร่ผ่านช่องทางเน็ตฟลิกซ์มากน้อยแค่ไหน เพราะงานด้านภาพที่ดีของหนังอาจเหมาะสมสำหรับการนั่งชมผ่านจอใหญ่ๆ ในโรงภาพยนตร์มากกว่า อย่างไรก็ดี ผมกลับรู้สึกว่า ลูกเล่นด้านเสียงที่กัวรองเลือกใช้ กลับสะท้อนถึงวัฒนธรรมการเสพสื่อบันเทิงในจอคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนได้ดี เพราะบ่อยครั้ง เวลาเราเปิดดูวิดีโอในคอมพิวเตอร์ เรามักเผลอ/ตั้งใจเปิดคลิปต่างๆ ในหลายๆ หน้าพร้อมกัน…

ยุคทองของ “หนังไทย” ถึงสิ้นยุคสมัย “มิตร-เพชรา” (คลิป)

ชวนชมคลิปเสวนา ยุคทองของ “หนังไทย” ถึงสิ้นยุคสมัย “มิตร-เพชรา” มีผู้ร่วมสนทนา ได้แก่ พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู ผู้เชี่ยวชาญจากหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งจัดโดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เนื้อหาครอบคลุมประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม อันสลับซับซ้อน จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อด้วยยุครุ่งเรืองหลังสงคราม กระทั่งถึงจุดสิ้นสุดลงของหนัง 16 มม. และอวสานคู่ขวัญ “มิตร-เพชรา” ภายหลัง “มิตร ชัยบัญชา”…

เมื่อ “เงาะชาย-เงาะหญิง” ได้มาเจอกัน ก่อนวันคริสต์มาส!

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม จะเป็นครั้งแรกของละคร “สังข์ทอง 2561” ที่ตัวละคร “รจนาสวมรูปเงาะ” ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ต้องลงจอพร้อมๆ กับ “เจ้าเงาะป่าบ้าใบ้” https://www.youtube.com/watch?v=GmtUgTd_ne4 อย่างไรก็ตาม “เจ้าเงาะ” ในละครช่วงนี้ จะไม่ใช่ “พระสังข์สวมรูปเงาะ” แต่เป็น “พระวิษณุกรรม” ปลอมตัวลงมาป่วน “พยนตรา” แทน “พระสังข์/เจ้าเงาะ” https://www.youtube.com/watch?time_continue=2&v=ICYNRZIlylQ ต้องจับตาดูว่าเรตติ้งของละครในวันอาทิตย์ที่ 23 จะปังหรือไม่? แค่ไหน? หลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อน…

โครงการหนังยาวเรื่องใหม่ของ “อโนชา-เบน ริเวอร์ส” เปิดระดมทุนแบบ crowdfunding

“อโนชา สุวิชากรพงศ์” ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย เจ้าของผลงานอย่าง “เจ้านกกระจอก” และ “ดาวคะนอง” ประกาศรายละเอียดของโครงการหนังยาวเรื่องใหม่ ซึ่งเธอจะกำกับร่วมกับ “เบน ริเวอร์ส” ศิลปินและนักทำหนังชาวอังกฤษ โดยโปรเจ็คท์ดังกล่าวมีชื่อว่า “In the Holocene” ซึ่งจะเป็นหนังกึ่งสารคดีกึ่งเล่าเรื่อง ที่มุ่งสำรวจตรวจสอบภูมิทัศน์, สภาพการทำงาน และเรื่องราวของชุมชนในจังหวัดกระบี่ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้วางแผนจะถ่ายทำกันในปี 2019 https://vimeo.com/306863635 “In the Holocene” จะนำเสนอภาวะการปะทะกันอย่างน่าอึดอัดคับข้องระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์, อดีตที่เพิ่งผ่านพ้น และโลกทุนนิยมร่วมสมัย ซึ่งปรากฏขึ้นในจังหวัดกระบี่…

“สิงสู่”: “หนังผี” และ/หรือ “หนังการเมือง”

(เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) ไปไกลกว่า “ไลท์โนเวล” https://www.youtube.com/watch?v=Smg3sicyLh4 ระยะหลังๆ ผมมักรู้สึกว่า “วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง” ซึ่งทำหนังและเขียนนิยายควบคู่กันไป ดูจะได้รับอิทธิพลจากงานแนว “ไลท์โนเวล” มาอย่างเด่นชัด การบอกว่าหนังของวิศิษฏ์มีลักษณะเป็น “ไลท์โนเวล” มิได้หมายความว่างานเหล่านั้นเป็นหนังไม่ดี หรือมีความอ่อนด้อยทางศิลปะ ตรงกันข้าม งานแบบ “ไลท์โนเวล” มักห่อหุ้มไว้ด้วยพล็อตเรื่อง บุคลิกลักษณะตัวละคร หรือรายละเอียดเกร็ดข้อมูลประกอบเรื่องราว ที่น่าตื่นตาตื่นใจบางอย่าง ขณะเดียวกัน สารที่ดำรงอยู่ภายในก็ต้องถูกนำเสนอออกมาอย่างคมชัด กระชับง่าย มีคำตอบให้แทบทุกปมปัญหาในเรื่องราว หรือต้องคลี่คลายสะสางความซับซ้อนยุ่งเหยิงทั้งหลายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยในตอนท้าย ลักษณะเด่นประการหลังนี่เองที่อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าเสียดายในผลงานยุคหลังของวิศิษฏ์อยู่บ้าง ตั้งแต่หนัง-นิยาย…

ไม่มี “อนาคต” ใน “Ten Years Thailand” ?

https://www.youtube.com/watch?v=HGPEdzB5RRo ไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในรอบปฐมทัศน์ประเทศไทย ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม แต่มีโอกาสไปนั่งดู “Ten Years Thailand” ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา (วันเดียวกับที่หนังผ่านเซนเซอร์พอดี) บันทึกชิ้นนี้เลยอาจจะไม่ได้กล่าวถึงงานฉายหนัง “Ten Years Thailand” ในฐานะกิจกรรมทางการเมือง ณ วันปลดล็อกการเมืองปลายปี 2561 ก่อนการเลือกตั้งต้นปี 2562 แต่คงพูดถึงมันในฐานะ “หนัง -การเมือง- ไทย” เรื่องหนึ่ง (แถมด้วยปฏิกิริยาบางอย่างจากคนดูต่างชาติ)…

เรตติ้ง “สังข์ทอง” กระเตื้องขึ้นเล็กน้อย? จับตาการปรากฏตัวของ “รจนาสวมรูปเงาะ”

สัปดาห์ก่อน แม้ละครจักรๆ วงศ์ๆ “สังข์ทอง” จะถูกเบียดตกลงไปเป็นเบอร์สองในตารางรายการทีวีที่ทำเรตติ้งสูงสุด เพราะพ่ายแพ้กระแสร้อนแรงของการแข่งขันฟุตบอลซูซูกิคัพระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ทว่าละครก็มีเรตติ้งที่ดีขึ้น คือ 6.779 ในวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน และ 6.699 ในวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน หากเทียบกับตัวเลข 6.156 และ 6.538 ของวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ต้องจับตาดูว่าเมื่อตัวละคร “รจนาสวมรูปเงาะ” ที่รับบทโดย “วรัญภรณ์ พัฒน์ช่วย” ออกแผลงฤทธิ์แบบเต็มๆ…