“อโนชา” เป็นตัวแทนคนทำหนังจากไทยในโปรเจ็คท์ “Mekong 2030”

เทศกาลภาพยนตร์หลวงพระบางประกาศจัดสร้างภาพยนตร์ “omnibus film” (หนังยาวที่ประกอบด้วยหนังสั้นหลายเรื่องในธีมเดียวกัน) ภายใต้ชื่อโปรเจ็คท์ว่า “Mekong 2030” ผลงานรวมหนังสั้นข้ามพรมแดนเรื่องนี้ จะมีเนื้อหาว่าด้วยการครุ่นคำนึงถึงอนาคตของแม่น้ำโขงและสภาพชุมชนริมฝั่งน้ำใน ค.ศ.2030 หรืออีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า นี่เป็นการใช้สื่อภาพยนตร์ส่องสะท้อนชะตากรรมของแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษและผลลัพธ์จากการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่ง อันก่อให้เกิดวิวาทะข้อถกเถียงตามมา “Mekong 2030” จะประกอบด้วยหนังสั้นจำนวนห้าเรื่องจากลาว, กัมพูชา, เมียนมา, ไทย และเวียดนาม ในส่วนหนังสั้นไทยที่ชื่อ “The Line” นั้น…

“มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก

รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

“Last Night I Saw You Smiling” หนังสารคดีกัมพูชาที่เพิ่งได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ร็อตเตอร์ดัม

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Last Night I Saw You Smiling” ของ “กวิช เนียง” ผู้กำกับหนุ่มจากกัมพูชา เพิ่งคว้ารางวัล NETPAC award ในเทศกาลหนังนานาชาติร็อตเตอร์ดัม 2019 ซึ่งมอบให้แก่ภาพยนตร์เอเชียที่มาฉายรอบปฐมทัศน์โลก ณ เทศกาล ซึ่งมีความโดดเด่นสูงสุด คณะกรรมการระบุว่าหนังสารคดีเรื่องนี้มีความพยายามอย่างกล้าหาญ ที่จะมุ่งเปิดเผยภาวะล่มสลายของสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเปลี่ยนผ่านอันเชี่ยวกรากรุนแรง https://www.youtube.com/watch?time_continue=1&v=c772_JhB6nA “Last Night I Saw You Smiling”…

ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…

รู้จักโปรเจ็กต์หนังอาเซียนที่ได้รับรางวัล SEAFIC 2018

ผ่านพ้นไปเรียบร้อยเเล้ว สำหรับงาน SEAFIC Open House 2018 ซึ่งจัดขึ้น ณ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ความพิเศษของงานนี้คือการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะรางวัล SEAFIC Awards ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการขับเคี่ยวระหว่างผู้เข้าแข่งขันเจ้าของโปรเจ็กต์หนังยาว 5 โครงการ ในตลอดเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา โดยทั้งหมดต้องพัฒนาบทภาพยนตร์และแผนงานโครงการสร้างหนัง ซึ่งได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก โปรเจ็กต์ภาพยนตร์ 5…

“กระเบนราหู” ของ “พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง” ได้ฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่เวนิส

"กระเบนราหู" หรือ Manta Ray ภาพยนตร์โดย "พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง" ถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายการประกวด Orizzonti ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 75 หนังความยาว 105 นาที เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ หมู่บ้านริมทะเล เมื่อชาวประมงท้องถิ่นไปพบชายบาดเจ็บคนหนึ่งนอนหมดสติในป่า เขาตัดสินใจช่วยเหลือชายแปลกหน้า ที่ทำไม่ได้แม้กระทั่งพูดจาสื่อสาร ชาวประมงตั้งชื่อให้ชายผู้นั้นว่า "ธงชัย" ทั้งคู่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและค่อยๆ สานก่อสายสัมพันธ์ที่มิได้ถือกำเนิดขึ้นจากบทสนทนาใดๆ วันหนึ่ง ชาวประมงออกไปหาปลายามค่ำคืนแล้วไม่หวนกลับมาอีกเลย ธงชัยจึงอาศัยอยู่ในบ้านเพียงผู้เดียว เขาค่อยๆ คืบคลานเข้าครอบครองวิถีชีวิต, บ้านเรือน,…

รวมมิตร “ข่าวดีหนังไทย” ปลายเดือนเมษายน 2561

เผย "70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9" คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาคัดเลือกและมีมติเห็นชอบรายชื่อภาพยนตร์ไทย 70 เรื่อง เป็น "สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9" กระบวนการคัดเลือกมี 4 ขั้นตอน เริ่มจากให้ประชาชนทั่วไปเสนอรายชื่อภาพยนตร์ (มีผู้สนใจร่วมเสนอชื่อภาพยนตร์ 29,844 คน โดยได้นำเสนอภาพยนตร์จำนวน 359 เรื่อง เข้าสู่การพิจารณา) หลังจากนั้นนำรายชื่อหนังทั้งหมดเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน บุคลากรในวงการภาพยนตร์…