รู้จักโปรเจ็กต์หนังอาเซียนที่ได้รับรางวัล SEAFIC 2018

ผ่านพ้นไปเรียบร้อยเเล้ว สำหรับงาน SEAFIC Open House 2018 ซึ่งจัดขึ้น ณ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และสมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ความพิเศษของงานนี้คือการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะรางวัล SEAFIC Awards ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการขับเคี่ยวระหว่างผู้เข้าแข่งขันเจ้าของโปรเจ็กต์หนังยาว 5 โครงการ ในตลอดเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา

โดยทั้งหมดต้องพัฒนาบทภาพยนตร์และแผนงานโครงการสร้างหนัง ซึ่งได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก

โปรเจ็กต์ภาพยนตร์ 5 เรื่องที่เข้าชิงชัยกัน คือ “AH GIRL” จากประเทศสิงคโปร์ “AJOOMMA” จากประเทศสิงคโปร์ “ARNOLD IS A MODEL STUDENT” (อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง) จากประเทศไทย “CROCODILE TEARS” จากประเทศอินโดนีเซีย เเละ “RAISING A BEAST” จากประเทศลาว

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
AJOOMMA

ผลการตัดสินปรากฏว่าผู้ได้รับรางวัล The SEAFIC Award ซึ่งเป็นเงินสดมูลค่า 15,000 เหรียญสหรัฐ สนับสนุนโดย Purin Foundation คือ บทภาพยนตร์เรื่อง AJOOMMA จากสิงคโปร์

โปรเจ็กท์ภาพยนตร์โครงการนี้จะเล่าเรื่องราวว่าด้วยแม่ม่ายชาวสิงคโปร์ผู้หมกมุ่นในซีรีส์ดราม่าเกาหลี ซึ่งตัดสินใจที่จะออกเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นครั้งแรก แน่นอนว่าจุดหมายของเธอคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ แต่การเดินทางเพียงตัวคนเดียวของหญิงวัยกลางคนแบบเธอคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ผู้กำกับเจ้าของโปรเจ็กต์นี้ คือ “เหอ ชุมหมิง” เขาสำเร็จการศึกษาสาขากำกับภาพยนตร์จากสถาบัน AFI Conservatory ประเทศสหรัฐอเมริกา

เหอมีส่วนร่วมในผลงานหนังสั้นเรื่อง LETTERS FROM THE MOTHERLAND to the omnibus 667 (2017) ซึ่งได้เข้าร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ส่วนโปรเจ็กต์ AJOOMMA เคยชนะรางวัล Most Promising จาก 2015’s Southeast Asian Film Lab

ขณะเดียวกัน โปรเจ็กต์หนังเรื่อง AH GIRL จากสิงคโปร์ โดยผู้กำกับ “แอง เก็ก เก็ก” ก็ได้รับรางวัล The Open SEA Fund Award ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนสำหรับการเช่าอุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ จาก VS Service และได้สิทธิใช้บริการของ White Light Post ในขั้นตอนโพสต์โปรดักชั่น

โดยบทภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กหญิงวัยเจ็ดขวบ ซึ่งถูกบังคับให้เลือกว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับแม่หรือพ่อ การตัดสินใจดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเธอไปตลอดกาล

ส่วนโปรเจ็กต์ที่ได้รับรางวัล The SEAFIC-TFL Award ซึ่งโปรดิวเซอร์ของโครงการจะได้เข้าร่วมงาน TorinoFilmLab Meeting Event คือ RAISING A BEAST จากลาว ซึ่งมี “ไสสงคาม อินดวงจันธี” เป็นผู้กำกับ และ “สตีฟ อรุณศักดิ์” เป็นโค-โปรดิวเซอร์

บทหนังถ่ายทอดเรื่องราวของสองพี่น้องร่วมสายเลือดชาวม้ง ที่ต้องแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ห้ำหั่นกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อครอบครองมรดกและเกียรติยศของครอบครัว ไม่ว่าจะดัวยวิธีการใดก็ตาม

ทั้งนี้ ตัวแทนหนึ่งเดียวของไทยที่เข้าร่วม SEAFIC 2018 คือ “อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง” โปรเจ็กต์หนังยาวเรื่องแรกโดย “สรยศ ประภาพันธ์”

บทภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาว่าด้วยนักเรียนมัธยมในโรงเรียนที่ขึ้นชื่อเรื่องวิชาการ ซึ่งวันหนึ่ง เขาค้นพบว่าตัวเองกำลังเข้าไปมีส่วนร่วมกับการ “โกง” เพื่อสอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนเตรียมทหารอันทรงเกียรติ!

FilmmakerPressRelease8

สำหรับ SEAFIC (Southeast Asia Fiction Film Lab) เป็นโครงการพัฒนาบทภาพยนตร์ที่ก่อตั้งขึ้นสำหรับนักสร้างภาพยนตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของภาพยนตร์ขนาดยาวจากภูมิภาคนี้

ในแต่ละปี SEAFIC ได้เชิญชวนนักสร้างหนังที่กำลังเริ่มทำภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องที่ 1, 2 และ 3 ให้มาทำงานร่วมกับที่ปรึกษาด้านบทภาพยนตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นเวลา 8 เดือน เพื่อพัฒนาบทภาพยนตร์ของตน ซึ่งจะดำเนินการผ่านกิจกรรมของ SEAFIC ทั้งหมด 3 ครั้ง

ครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม และครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า SEAFIC Open House จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

ทั้งยังมีการจัดเวิร์คช็อปสำหรับกลุ่มผู้อำนวยการสร้าง หรือ SEAFICxPAS ขึ้นคู่ขนานกันไป โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกับ “Festival des 3 Continents’ Produire au Sud”

ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ http://www.seaficlab.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.