หนังไทยที่ชอบ 1. ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) คลิกอ่านบทความเกี่ยวข้องได้ที่นี่ ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง” รวมสกู๊ป-งานเขียนเกี่ยวกับ “ดาวคะนอง” จากมติชนสุดสัปดาห์ สองฉบับล่าสุด ข้อสังเกตเพิ่มเติมถึง “ดาวคะนอง” (หลังดูรอบสอง): เห็ด รา และ “ประวัติศาสตร์” แบบใหม่ๆ 2. มหาสมุทรและสุสาน (พิมพกา โตวิระ) คลิกอ่านบทความเกี่ยวข้องได้ที่นี่ (จริงๆ ชอบ “ดาวคะนอง” และ […]
มติชนสุดสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2559 บทความนี้จะเป็นชิ้นส่งท้ายของชุดงานเขียน ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วย “เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2016” โดยในชิ้นสุดท้ายจะขอกล่าวถึงภาพยนตร์ญี่ปุ่นร่วมสมัยสามเรื่อง ที่ผมมีโอกาสได้ชมในเทศกาลประจำปีนี้ ขอเริ่มต้นจากหนังที่ประทับใจน้อยที่สุดกันก่อน นั่นคือ “Snow Woman” ผลงานของนักแสดง-ผู้กำกับฯ หญิง “กิกิ ซูกิโนะ” หนังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตำนาน “เจ้าหญิงหิมะ” ของญี่ปุ่น ผ่านเนื้อหา-โครงเรื่องที่ดูได้เพลินๆ แต่ก็ค่อนข้างราบเรียบและไม่มีอะไรแปลกใหม่ (ทั้งในแง่การตีความ รวมถึงงานด้านโปรดักชั่น) กล่าวอย่างง่ายๆ คือ หนังเรียบร้อยเกินไป และไม่กล้าแหวกจารีตเดิมๆ มากนัก […]
มติชนสุดสัปดาห์ 16-22 ธันวาคม 2559 “ปั๊มน้ำมัน” คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ “ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์” ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเช่นเดียวกับหนังยาวหลายเรื่องของธัญญ์วาริน ที่ด้านหนึ่ง มิได้เป็น “หนังอาร์ต” ดูยากสุดขั้ว แต่อีกด้าน ก็มิได้เป็น “หนังตลาด” ฉาบฉวย ที่ปราศจากแง่มุม “ลึกซึ้ง” ใดๆ กล่าวได้ว่า “ปั๊มน้ำมัน” เป็นงานที่ “ดูไม่ยาก” ทว่า ใน “ความ (เหมือนจะ) ง่าย” กลับมีกระบวนท่าสวยๆ […]
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ได้เข้ารับพระราชทานรางวัล Prince Claus Award จากเจ้าชายคอนสแตนตินแห่งเนเธอร์แลนด์ โดยในพิธีดังกล่าว มีสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแม็กซิม่า ตลอดจนเจ้าหญิงเบียทริกซ์ (อดีตสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์) เสด็จพระราชดำเนินมาร่วมเป็นเกียรติด้วย ในปีนี้ มีบุคลากรทางด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาจากนานาชาติ ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวจำนวน 6 คน โดยอภิชาติพงศ์ ได้รับรางวัล The Principal Prince Claus Award ซึ่งถือเป็นรางวัลหลักที่สำคัญที่สุด […]
“มหาสมุทรและสุสาน” @ นิวยอร์ค “มหาสมุทรและสุสาน” หนึ่งในหนังไทยเรื่องเยี่ยมประจำปีที่ผ่านมา ผลงานของ “พิมพกา โตวิระ” จะถูกจัดฉายในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ที่นครนิวยอร์ค หรือ MoMA ในระหว่างวันที่ 9-15 กุมภาพันธ์นี้ โดยในรอบวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พิมพกาจะเดินทางไปพูดคุยกับผู้ชมหลังหนังฉายจบด้วย ทั้งนี้ นี่ถือเป็นครั้งแรกที่หนังไทยเรื่องนี้ได้ออกฉายในฝั่งตะวันออก ของสหรัฐอเมริกา ดนตรีประกอบของ “ดาวคะนอง” เพจเฟซบุ๊กของภาพยนตร์เรื่อง “ดาวคะนอง” ได้ปล่อยไฟล์ดนตรีประกอบหนังเรื่องนี้ออกมาให้แฟนๆ ได้โหลดไปฟังกัน ดนตรีประกอบดังกล่าวเป็นผลงานของ “วุฒิพงศ์ […]
“ณ ขณะปัจจุบัน ประเทศนี้ (สหราชอาณาจักร) กำลังเผชิญหน้ากับหนึ่งในสถานการณ์ที่พิเศษอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ “ตอนนี้ พวกเราจะต้องพยายามรักษาดุลยภาพในการนำพาตนเองออกจากสหภาพยุโรป “ฉันไม่เห็นด้วยกับนโยบายหลายอย่างของเธอ ฉันไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบางสิ่งที่เธอทำ “แต่สิ่งหนึ่งที่คุณไม่สามารถพรากออกไปจากตัวนายกรัฐมนตรีของเราก็คือ เธอเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด “และนั่นคือสิ่งที่ฉันคิดว่ามีความสำคัญมากๆ “และฉันเห็นว่าการมีผู้ที่เติบโตขึ้น จนสามารถมองเห็นและรับฟังถึงตำแหน่งแห่งที่ แนวคิด ตลอดจนข้อถกเถียงที่เป็นทางเลือก คือ บางอย่างที่พวกเราพึงมี ไม่ใช่แค่สำหรับประเทศนี้ แต่ฉันคิดว่ามันจำเป็นสำหรับประชาคมนานาชาติด้วย “การยืนอยู่ข้างหลังธงนำหรือแผ่นประกาศทางอุดมการณ์บางชนิด แล้วพูดว่า ‘ข้าพเจ้าพร้อมยอมสละชีวิตเพื่ออุดมการณ์ดังกล่าว’ โดยไม่พิจารณาว่าจะมีผู้คนรายอื่นๆ อีกมากมายเท่าไหร่ ที่จะต้องพลีชีพตายตกไปตามคุณนั้น ย่อมมิใช่วิถีทางที่จะผลักดันโลกให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างแน่นอนที่สุด “(พิธีกร-ถ้าอย่างนั้น หมายความว่าพรรคแรงงานก็จำเป็นจะต้องเติบโตขึ้นด้วยใช่หรือไม่?) […]
หนึ่ง ก่อนไปดู คนรู้จักที่ได้ไปดูแล้วนี่จะแบ่งออกเป็นสองสาย สายแรก คือ ไม่ค่อยชอบ สายที่สอง คือ ชอบมากๆ ส่วนตัว พอได้ไปดูก็รู้สึกสนุกเพลิดเพลินกับมัน และไม่ได้ไม่ชอบจุดใดจุดหนึ่งของหนังแบบมิอาจให้อภัยได้ ด้านหนึ่ง หนังไม่ถึงกับเชิญชวนให้ผมย้อนรำลึกไปถึงหนังชอว์หรือละครทีวีบี แต่อีกด้าน ผมก็รับได้กับซีจีหลุดๆ ปลอมๆ (บนฐานคิดที่ว่าขนาดซีจีละครจักรๆ วงศ์ๆ กูยังดูได้เพลินๆ เลย 555) และการดัดแปลงเนื้อหาจากนิยายไปมากพอสมควร (ซึ่งเหมือนหนังก็ออกตัวว่า ตนเองได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังเวอร์ชั่นก่อน ที่ดัดแปลงนิยายมาอีกที – ผมเองก็ไม่เคยดูหนังเวอร์ชั่นดังกล่าวเหมือนกัน) สอง ผมยังจำเนื้อหาในนิยายได้ค่อนข้างดี […]
นี่เป็นบันทึกสั้นๆ ที่เขียนไว้หลังได้ชม “โรงแรมต่างดาว” ในรอบสื่อมวลชนที่สกาลา ก่อนที่หนังจะประสบปัญหาบางประการ จนวันฉายจริงต้องเลื่อนออกมาถึงวันที่ 15 ธันวาคม ถ้ามีโอกาสได้ตีตั๋วเข้าชมหนังอีกสักรอบหนึ่ง อาจจะเขียนบทความละเอียดๆ ตามมาอีกครั้งครับ “โรงแรมต่างดาว” : ชอบ แต่ไม่ได้ชอบสุดๆ เท่าที่จับได้ หนังมี “เส้นเรื่อง” อยู่สองเส้น เส้นเรื่องหลักเส้นแรก คือ เรื่องราวว่าด้วย “เผด็จการปิตาธิปไตย” ที่ปะทะกับ “การลุกขึ้นสู้ของลูกผู้หญิง” ผ่านพื้นที่อย่างโรงแรมม่านรูด นี่คงเป็นประเด็นที่คนดูหลายคนพอจะสัมผัสถึงได้ และสนุกสนานกับมันพอสมควร ผมเองก็ชอบส่วนนี้ของหนัง โดยไม่รู้สึกติดขัดอะไร […]
… เพียง “กิ่งไม้แห้ง” เมื่ออยู่ในมือของคนอย่างอากิก, มันก็แปรเปลี่ยนเป็นอาวุธที่สามารถฆ่าคนได้ “ในมือข้าพเจ้าไม่มีกระบี่ ในใจของข้าพเจ้าก็ไม่มีกระบี่ เนื่องเพราะกระบี่ในมือของท่านก็คือกระบี่ของข้าพเจ้า” เมื่อสามารถสยบ “ใจ” ของคู่ต่อสู้ลงได้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กระบี่ ครั้นประจักษ์ว่าอากิกคือเจี่ยเฮียวฮง แม้สำนัก “จอมฟ้า” อันม่อย้งชิวชิวเป็นประมุขกระหายจะปลิดชีพมันสักเพียงใดแต่ก็มิอาจทำได้ เนื่องเพราะคู่ต่อสู้อันแท้จริงของมันคือ-อี้จับซา เป็นอี้จับซาที่หายไปจากยุทธจักรเป็นเวลา 8 ปีเต็ม! ภายหลังจากเจี่ยเฮียวฮงผ่านมรสุมโลหิตแห่งการเข่นฆ่ามาจากซ่องคณิกา, ผ่านการไล่ล่าจากยอดฝีมือแห่งสำนัก “จอมฟ้า” มันบาดเจ็บสาหัสถึง 5 แห่ง 2 แห่งเป็นแผลเก่าจากมีด 3 แห่งถูกกระบี่กรีดทำร้าย ทุกกระบี่ล้วนลึกถึงกระดูกและเส้นเอ็น […]