Chungking Express: บางเราในนคร (20 กว่าปีต่อมา)

Chungking Express: บางเราในนคร บางเราในนคร โดย ไม้หนึ่ง ก.กุนที อยู่ไกลกันนั้นหรือ?ลมก็อาจกระพือถึงโบกไปพร้อมคำนึงระหว่างเรา ระหว่างเรายามใกล้กันนั้นหรือ?คุไฟฮือขึ้นแผดเผาริกลน และ รุมเร้ากันและกัน กันและกันเปลวไฟแห่งเราหรือ?อาจโหมฮือช่วงสั้นๆสถานที่และคืนวันจะผันพลัดเราพรากไกลด้วยสองเรานี้หรือ?ถือจาริกในเมืองใหญ่ดุ่มมาและดุ่มไปตามนาฏกรรมชาวนครคืนวันในเมืองหรือ?คืออีกไฟกรุ่นสุมขอนลนเราระทวยอ่อนและปิ้งเราแข็งกร้านเกรียม สมัยเรียน ม.6 ตอน พ.ศ.2542 อาจารย์ที่สอนวิชาสังคมเสริม มอบหมายให้ผมและเพื่อนๆ ไปเขียนบทวิจารณ์ภาพยนตร์มาคนละหนึ่งเรื่อง ผมเลือกเขียนถึงหนังเรื่อง “Chungking Express” ของ “หว่องกาไว” โดยตั้งชื่อบทวิจารณ์ของตนเองว่า “Chungking Express: บางเราในนคร” ผมจดจำเนื้อหาในงานเขียนชิ้นนั้นไม่ได้แล้ว จำได้รางๆ…

ดูใหม่ “October Sonata”

เพิ่งได้ดู “October Sonata รักที่รอคอย” รอบล่าสุด ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ นี่น่าจะเป็นการดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกในทศวรรษ 2560 ของผม หลังจากที่ผมวนเวียนดูมันอยู่รอบแล้วรอบเล่าเมื่อหนังเข้าฉายตอนปี 2552 และอีกหลายปีถัดมา พอมานั่งชมผลงานชิ้นเอกของ “สมเกียรติ วิทุรานิช” อีกครั้งในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระลอกใหม่ของการเมืองไทยพอดี ผมก็เกิดข้อสังเกต-คำถามใหม่ๆ ขึ้นมาราว 2-3 ประเด็น หนึ่ง คงเป็นเพราะได้มาดูหนังในวัยที่เพิ่มมากขึ้น (และอาจผนวกด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่แน่ชัดนัก) ผมเพิ่งรู้สึกชัดเจนว่า “October Sonata” นั้นมีความเป็น…

4 ประเด็นว่าด้วย “A World of Married Couple”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=gz3V-CglveQ เอาเข้าจริง นี่อาจเป็นบทสนทนาต่อเนื่องมาจากซีรี่ส์เกาหลีฮิตๆ หลายเรื่องก่อนหน้านี้ บรรดาซีรี่ส์ที่มักเล่าถึงชีวิตครอบครัว 2 ครอบครัวขึ้นไป อันประกอบด้วยตัวละครรุ่นพ่อแม่ และตัวละครรุ่นลูกที่กำลังก่อสานความรักซึ่งกันและกัน ก่อนที่เรื่องราวจะลงเอยในช่วงท้ายด้วยตอนจบปลายเปิดว่าด้วยคู่รักชายหญิงวัย 20-30 ปี ที่ยังไม่ได้ร่วมกันลงมือสร้างครอบครัวอันสมบูรณ์แบบของตนเองโดยฉับพลันทันที และแน่นอนว่าพวกเขาและเธอมักจะยังไม่มีลูก (คนเจนเนอเรชั่นหลาน) เป็นทายาทสืบสกุล (ในกรณีตัวละครนำของ “Reply 1988” แม้จะมีการสมรสเกิดขึ้นหลายคู่ แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าครอบครัวเหล่านี้ได้ให้กำเนิดทายาทหรือไม่) ราวกับว่า "ความเป็นครอบครัว" ก็ดี สถานภาพ "ความเป็นพ่อแม่" ก็ดี นั้นไม่ใช่ภาพกระจ่างชัดในความรับรู้ จินตนาการ…

ผู้สร้างและผู้ทำลายที่ชื่อ “Ema”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=O57_XbgFL00 “Ema” คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ “พาโบล ลาร์เรน” ผู้กำกับชาวชิลี ที่มีผลงานสร้างชื่อ อาทิ “No” หนังว่าด้วยกระบวนการรณรงค์ก่อนการลงประชามติโค่นล้มเผด็จการ “ปิโนเชต์” และ “Jackie” ภาพยนตร์ชีวประวัติของ “แจ็กเกอรีน เคนเนดี้” หลังจากดู “Ema” จบ (หนังจะเผยแพร่ในเว็บไซต์ MUBI อีกราวครึ่งเดือน) ผมรู้สึกว่าลาร์เรนเก่งดี ที่สามารถหยิบฉวยเรื่องการเต้น เพศสภาพ ชนชั้น สถาบันครอบครัว ฯลฯ มาขยำรวมกัน…

5 ประเด็นว่าด้วย “Reply 1988”

หนึ่ง ด้านหนึ่ง รู้สึกว่า “Reply 1988” นั้นแชร์ประเด็นทางสังคมหนักๆ ร่วมกับหนังเกาหลีร่วมสมัยบางเรื่อง (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) เช่น การอาศัยอยู่ใน “บ้านชั้นใต้ดิน” ของหนึ่งในครอบครัวตัวละครหลัก ก็คล้ายคลึงกับชะตากรรมของตัวละครกลุ่มหนึ่งใน “Parasite” หรือจะมีตัวละครสมทบรายหนึ่ง ซึ่งตลอดทั้งเรื่อง คนดูน่าจะประเมินว่าเธอทำหน้าที่ “แม่-เมีย” ได้ไม่สมบูรณ์นัก ก่อนที่เธอจะเริ่มมีตัวตนมากขึ้นในช่วงท้ายๆ และบทพูดหนึ่งที่น่าประทับใจ ก็คือ เธออยากเป็นตัวของเธอเอง (ให้คนอื่นๆ เรียกชื่อของเธอ) มากกว่าจะถูกเพื่อนบ้านเรียกขานว่าเป็น “แม่ของ...” ประเด็นนี้ชวนให้นึกถึง “Kim Ji-young,…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…

“The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น

นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…

ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์” ใน “ศรีอโยธยา ภาค 2”

ฉากหนึ่งในซีรีส์ “ศรีอโยธยา ภาคแรก” ที่ผมประทับใจมากๆ ก็คือ ฉากที่ “เจ้าฟ้าสุทัศ” ล่องเรือแบบกึ่งตื่นกึ่งฝันไปพร้อมกับดวงวิญญาณของพระเจ้าเสือ และได้พานพบพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งทรงปรากฏพระองค์ตามรายทางของลำน้ำสายหนึ่ง ผมตีความความว่า ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) คงอยากนำเสนอว่า “ประวัติศาสตร์” คือความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวที่ไม่มีทางตัดได้ขาดประดุจสายน้ำ อย่างไรก็ดี ความเชื่อเช่นนั้นกลับต้องดำรงอยู่ในห้วงภวังค์กึ่งจริงกึ่งฝันหรืออุปลักษณ์นิทานเปรียบเทียบต่างๆ เพราะ “ประวัติศาสตร์” ใดๆ ก็ตามในโลกความจริง ย่อมไม่สามารถดำเนินไปอย่างเรียบเรื่อยต่อเนื่องสมบูรณ์แบบบนช่วงเวลาอันยาวไกล โดยปราศจากจุดเปลี่ยนแปลง ความผกผัน ร่องรอยปริแตก ช่องว่างรูโหว่ ที่ผุดขึ้นมาขัดขวางภาวะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวดังกล่าว…

รีวิว Kim Ji-young: Born 1982, Dracula และ มือปืน/โลก/พระ/จัน 2

Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง”…

3 ประเด็นเกี่ยวกับ “ดิว ไปด้วยกันนะ”

หนึ่ง พอได้ฟังพวกเพลง “ดีเกินไป” หรือ “...ก่อน” ตลอดจนวัตถุความทรงจำเกี่ยวกับยุค 90 ภายในหนัง ก็จะเกิดความอยากเรื่องหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะสร้างเรื่องเล่าดีๆ ที่มีวัฒนธรรมในยุค 90 เป็นแก่นกลางของตัวเรื่อง มิใช่บริบทแวดล้อม ฉากหลังรางๆ หรือกิมมิกน่ารักๆ เพราะผมรู้สึกว่าวัฒนธรรมยุค 90 ยังไม่ได้เป็นแกนกลางในเรื่องเล่าของหนังไทยอย่าง “ดิว ไปด้วยกันนะ” หรือกระทั่ง “2538 อัลเทอร์มาจีบ” เสียทีเดียว ผมยังอยากอ่านหนังสือหรือดูหนังสารคดี-หนังฟิกชั่น ที่พูดถึงเพลงยุค 90, วัฒนธรรมวิทยุ-โทรทัศน์ยุค…