“โลกเฉพาะ?” ใน The Favorite

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LwF0x0jBefA ชอบรูปแบบการคลี่คลายตัวของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตัวละครสตรีสามรายในหนังเรื่องนี้ เริ่มจาก “เลดี้ซาร่าห์” ที่เหมือนจะมีบทบาทครอบงำ “ควีนแอนน์” แล้ว “เลดี้อบิเกล” ก็ผงาดขึ้นมากำจัดโค่นล้ม “เลดี้ซาร่าห์” แต่ท้ายสุด หนังก็ชวนตั้งคำถามว่า “เลดี้อบิเกล” เข้ามาแทนที่ “เลดี้ซาร่าห์” ในฐานะอะไรกันแน่? คู่รัก/คนโปรด? ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเบื้องหลังราชินี? หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆ” ที่เป็นลูกจำลอง/ของเล่น/เบี้ยล่าง ซึ่งอาจมีชะตากรรมแปรผันไปตามอารมณ์อันผันผวนของ “ควีนแอนน์”? เพราะหลังจากมีบทบาทในเชิง “ตั้งรับ/ถูกชักจูง” เป็นส่วนใหญ่ มาตลอดทั้งเรื่อง ตัวละคร “ควีนแอนน์” กลับแสดงบทบาทในฐานะ…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…

บันทึกถึง “ขุนพันธ์ 2”

ในแง่ความสนุก ความลงตัว ความลื่นไหลของการเล่าเรื่อง ตลอดจนเทคนิคพิเศษต่างๆ หนังภาคนี้ดีกว่าภาคแรกแน่ๆ และมากๆ จุดน่าสนใจและน่าถกเถียง คือ แก่นกลางหลักของหนัง ที่นำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับคาถาอาคม/ความเชื่อเชิงไสยศาสตร์และชุมโจรภาคกลาง มาอธิบายหรือสร้างความชอบธรรมให้แก่แนวคิดกระแสหลักว่าด้วย “อำนาจ-บารมี” แบบไทยๆ มากกว่าจะตีความองค์ประกอบเหล่านั้นในฐานะเรื่องเล่าของความเชื่อ/กลุ่มคน ซึ่ง “ต่อต้านอำนาจรัฐ” แรกๆ หนังวางบุคลิกลักษณะของตัวละครหลายรายไว้อย่างมีมิติ เช่น คนดูจะได้สัมผัสกับ “เสรีไทย” ในมุมที่ไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยครั้งนัก คือเป็น “เสรีไทยแบบเทาๆ” ที่ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นคนรักชาติ/ต้านญี่ปุ่น กับความเป็นคนนอกกฎหมายหรือคนในระบบกฎหมายที่ใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้อง แต่ท้ายสุด ความกำกวมสีเทาๆ เหล่านั้น ก็ค่อยๆ…

“พันท้ายนรสิงห์” อีกหนึ่งหนัง/ละครที่มาก่อนกาล ท่ามกลางกระแสฮิต “บุพเพสันนิวาส”

ภาวะฮิตระเบิดของ "บุพเพสันนิวาส" ทำให้หลายคนพยายามเปรียบเทียบละครทีวีเรื่องนี้กับ "ศรีอโยธยา" ซีรีส์เล่าเรื่องราวยุคเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดย "หม่อมน้อย" ของช่องทรูฯ หรือหนังใหญ่เมื่อ 14 ปีก่อนอย่าง "ทวิภพ" ฉบับ "สุรพงษ์ พินิจค้า" อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งผลงานบันเทิงที่มีความสอดคล้องใกล้เคียงกับ "บุพเพสันนิวาส" มากๆ คือ "พันท้ายนรสิงห์" ของ "ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล" หรือ "ท่านมุ้ย" แรกเริ่มเดิมที โปรเจ็กท์นี้ถูกผลิตเป็น "ภาพยนตร์โทรทัศน์" เพื่อป้อนช่อง…

รู้ไหม? “ผู้ออกแบบงานสร้างบุพเพสันนิวาส” เคยร่วม “ออกแบบงานสร้าง” ให้หนัง “ทวิภพ” มาก่อน!

เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา สำนักข่าวออนไลน์ "เดอะ สแตนดาร์ด" เป็นผู้จุดกระแสรำลึกวาระครบรอบ 14 ปี ของภาพยนตร์ไทยเรื่อง "ทวิภพ" ฉบับ "สุรพงษ์ พินิจค้า" ในบริบทที่ละครโทรทัศน์เรื่อง "บุพเพสันนิวาส" ของช่อง 3 กำลังฮิตระเบิดทั่วบ้านทั่วเมือง หลายคนเห็นว่าภาพยนตร์และละคร (นิยาย) คู่นี้ มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นเรื่องราวของหญิงสาวจากยุคปัจจุบันที่พลัดหลงเข้าไปในอดีต อันเป็นยุคที่อยุธยา/กรุงเทพฯ ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญา-การเมืองระหว่างประเทศ และต้องพยายามปรับประสานต่อรองกับ "ตะวันตก" เหมือนกัน นอกจากนี้ มณีจันทร์และเกศสุรางค์…

อีกเวอร์ชั่น! ชม “ฟอลคอน-ท้าวทองกีบม้า” จากภาพนิ่งของตัวอย่างหนังเรื่อง “SÏAM”

ในขณะที่ละครโทรทัศน์ "บุพเพสันนิวาส" กำลังฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง ก็มีอีกหนึ่งโปรเจ็คท์ภาพยนตร์ของผู้กำกับลูกครึ่งไอริช-ไทย (ที่ทำหนังไทยมาหลายเรื่อง) ซึ่งกำลังถูกพัฒนาขึ้น โดยท้องเรื่องของหนังเรื่องนี้จะอยู่ในยุคสมัยเดียวกันกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ใน "บุพเพสันนิวาส" หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า "SÏAM" ผลงานการกำกับของ "ทอม วอลเลอร์" แห่ง De Warrenne Pictures ซึ่งเคยกำกับหนังพูดไทยอย่าง "ศพไม่เงียบ" และ "เพชฌฆาต" มาแล้ว ตามข้อมูลที่ถูกประชาสัมพันธ์เอาไว้ในช่วงเริ่มต้นโปรเจ็คท์ หนังเรื่องนี้จะเล่าเรื่องราวในช่วงที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ส่งบาทหลวงคณะเยสุอิตกลุ่มหนึ่งเข้ามายังอยุธยาเมื่อ ค.ศ.1685 เพื่อหวังเปลี่ยนแปลงราชอาณาจักรแห่งนี้ให้กลายเป็นดินแดนคาทอลิก กลุ่มบาทหลวงได้ดำเนินกโลบายดังกล่าวโดยร่วมมือกับ…

ความรู้สึกหลังดู “ทวิภพ” ฉบับ “สุรพงษ์ พินิจค้า” เวอร์ชั่น “Director’s Cut” รอบสอง

1. เป็นการดูรอบสองที่โรงหนังศรีศาลายา หลังจากเคยดูเมื่อครั้งที่หนังเวอร์ชั่นนี้เข้าฉาย ณ House RCA เมื่อหลายปีก่อนโน้น การฉายที่ศรีศาลายาเหมือนจะมีปัญหาเรื่องระบบเสียงหน่อยนึง เวลาตัวละครที่รับบทโดย "นิรุตติ์ ศิริจรรยา" พูด (ประโยครูปแปลกๆ ด้วยเสียงที่อยู่ในลำคอ) จึงค่อนข้างฟังลำบากอยู่พอสมควร 2. แต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าตัดปัญหาเรื่องเสียงออกไป ผู้ชมยังสัมผัสได้ถึง "พลังเต็มเปี่ยม" ของหนังเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่า "ทวิภพฉบับสุรพงษ์" นั้น เป็นหนังไทยที่ "ทะเยอทะยาน" จริงๆ ทั้งในแง่การกล้าลงทุนสร้างหนังแบบนี้ (แต่ผลตอบรับกลับสวนทางกับทุนสร้างแบบสุดๆ) ซึ่งถ้ามองจากยุคปัจจุบัน…

บันทึกหลังดูหนัง “[นิรโทษกรรม จำเลยคดี ๖ ตุลา]”

https://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/videos/1257150591001805/?hc_ref=PAGES_TIMELINE   หนึ่ง ที่มาของหนังน่าสนใจดี คือ มาจาก "วีซีดี" แผ่นหนึ่ง จากหลายแผ่น ที่แจกมาพร้อมกับหนังสืองานศพของ "พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์" เมื่อคุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ไปค้นพบ เลยนำมาให้หอภาพยนตร์ ก่อนที่ตัวหนังจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2559" ส่วนชื่อ [นิรโทษกรรม จำเลยคดี ๖ ตุลา] นั้น หอภาพยนตร์ตั้งขึ้นมาเอง เนื่องจากวีซีดีไม่ได้ระบุชื่อ/หัวข้อของ…

ชมหนังสั้น “คืนหนึ่งในปี ค.ศ.1940” โปรเจ็คท์ก่อนภาพยนตร์เรื่องยาว “สองคอน”

https://youtu.be/-xcN8RIjMtM "คืนหนึ่งในปี ค.ศ.1940" เป็นภาพยนตร์ขนาดสั้นซึ่งอิงเนื้อหาจากโครงการภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่อง "สองคอน" (MARTYRS) หนังสั้นเรื่องนี้ถูกถ่ายทำขึ้นเพื่อให้เห็น Mood and Tone โดยรวมของโครงการภาพยนตร์ขนาดยาวดังกล่าว หนังเล่าเรื่องราวเล็กๆ ก่อนเหตุการณ์การสละชีวิตของ "มรณสักขีแห่งสองคอน" ดังนี้ คืนหนึ่งในเดือนธันวาคม ค.ศ.1940 ณ หมู่บ้านสองคอน เด็กหญิงคนหนึ่งไข้ขึ้นสูง พ่อของเธอไปตามซิสเตอร์มาช่วยดูอาการ ในขณะที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ผู้เคยให้การรักษาชาวบ้านที่ป่วยด้วยโรคต่างๆ ถูกขับไล่ออกจากประเทศไทยแล้ว และครูคำสอนก็ถูกกักบริเวณ ชาวบ้านตกอยู่ในความหวาดกลัวภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน การสวดภาวนาและดูแลศรัทธาชาวบ้านจึงต้องทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ หนังเรื่องนี้กำกับ/เขียนบท โดย…