อ่าน ‘ทวิภพ’ ฉบับ ‘สุรพงษ์ พินิจค้า’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ (บทความอำลาไบโอสโคป)

บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคปช่วงปี 2554 ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้งที่บล็อกคนมองหนัง เนื่องในโอกาสที่ “ไบโอสโคป” เพิ่งเดินทางไปถึงจุดสิ้นสุด ซึ่งย่อมมิได้หมายถึง “จุดอวสาน” แต่อย่างใด อ่าน ‘ทวิภพ’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ ฉบับนี้ อยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับบทความชื่อ An Ambiguous Intimacy: Farang as Siamese Occidentalism (ความใกล้ชิดอันกำกวม: ฝรั่งในฐานะอัสดงคตคดีศึกษาของสยาม) ซึ่งเขียนโดย อ.พัฒนา กิติอาษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำโครงการอุษาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ…

จาก “เทวดามีหาง” ใน “จันทร์ สุริยคาธ” ถึง “ไก่ชน-ม้าบินพาลเทพ” ใน “นางสิบสอง/พระรถเมรี”

การต้องกลายร่างเป็น “ไก่ชนเทวดา” และ “ม้าบินพาชี” ของ “พาลเทพ” ไม่ใช่ครั้งแรกของจักรวาลละครจักรๆ วงศ์ๆ สามเศียร ซึ่งตัวละครเทวดาถูกสาปให้มีเรือนร่างเป็นสัตว์เพื่อชดใช้ความผิด อย่างน้อยที่สุด เมื่อย้อนไปในปี 2556 ละครเรื่อง “จันทร์ สุริยคาธ” ซึ่งเล่นกับการกลับหัวกลับหางของระบบระเบียบ-ฐานานุศักดิ์อย่างเมามัน ก็เคยกำหนดให้สองเทวดา คือ “พระรำพัด” และ “พระรำเพย” ต้องมีหางงอกออกจากบริเวณก้นประหนึ่งสุนัขมาแล้ว เทวดาทั้งสององค์ได้รับบัญชาจาก “พระอินทร์” ให้คอยมาจับตาดูและผลักดันสองพี่น้อง “จันทคาธ” กับ “สุริยคาธ” ให้สามารถนำ…

“ชารอน ชเว” ล่ามภาษาอังกฤษ ผู้เป็นอีกหนึ่ง “เบื้องหลัง/หน้า” ความสำเร็จของหนัง “Parasite”

https://www.youtube.com/watch?v=5iVdd39ovuc เมื่อฤดูกาลประกาศผลรางวัลทางภาพยนตร์ประจำปี 2019 ในฝั่งอเมริกา กำลังงวดเข้าสู่จุดไคลแมกซ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในหนังที่ถูกแสงสปอตไลท์จับ ก็คือ “Parasite” จากเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มากถึง 6 สาขา ไม่ใช่เพียงผู้กำกับอย่าง “บงจุนโฮ” และทีมงานนักแสดงของ “Parasite” จะได้รับการจับตามองจากสื่อสหรัฐเท่านั้น ทว่าอีกคนที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่แพ้กัน ก็คือ “ชารอน ชเว” ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาอังกฤษข้างกาย “บงจุนโฮ” ชารอนเริ่มต้นทำงานเคียงคู่กับผู้กำกับหนังเรื่อง “Parasite” ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เมื่อหนังเรื่องนี้คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ เดิมที “ชารอน…

“พระรถเมรี 2562” เมื่อ “ฤาษีแปลงสาร” ไม่ได้มีความสำคัญอีกต่อไป

แฟนละครจักรๆ วงศ์ๆ หลายคน อาจรู้สึกผิดแปลก-ไม่คุ้นเคยกับความสัมพันธ์ของ “รถเสน” กับ “เมรี” ใน “นางสิบสอง-พระรถเมรี” เวอร์ชั่น 2562 เพราะทางสามเศียรได้เปลี่ยนแปลงบทให้ตัวละครนำคู่นี้พบปะรู้จักกันตั้งแต่วัยเด็ก และเมื่อโตขึ้น ทั้งคู่ยังได้สานสัมพันธ์กัน ก่อนหน้าเหตุการณ์ “พระฤาษีแปลงสาร” และ “รถเสนเข้าเมืองทานตะวัน” เท่ากับว่า “เมรี” จะไม่ได้เข้าใจผิด-ถูกหลอก-ลุ่มหลงในตัว “รถเสน” เพราะกระบวนการ “ฤาษีแปลงสาร” เสียทีเดียว (และอาจไม่ได้ “ขี้เมา” อีกด้วย) นั่นทำให้แฟนละครจำนวนหนึ่งเชื่อว่าดราม่าและโศกนาฏกรรมช่วงท้ายละคร “นางสิบสอง” ฉบับนี้…

เพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกแบบ “พนเทพ สุวรรณะบุณย์”

ต้นสัปดาห์ที่แล้ว มีโอกาสไปสัมภาษณ์ “พี่ตุ่น พนเทพ สุวรรณะบุณย์” โปรดิวเซอร์-นักแต่งเพลงคนสำคัญ พร้อมกับเพื่อนๆ ที่ออฟฟิศ (ตัวซีรีส์บทสัมภาษณ์นี้จะเผยแพร่ลงในเพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่ง ช่วงปลายเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) บทสนทนาหัวข้อหนึ่ง ซึ่งหลายคนที่เคยไปพูดคุยกับพี่ตุ่น ในฐานะสมาชิกวงนั่งเล่น-ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์ ก่อนหน้านี้ ไม่ค่อยชวนแกย้อนรำลึก ก็คือ ที่มา-ที่ไปของค่ายเพลง Oh! My God แม้นักฟังเพลงส่วนใหญ่จะจดจำค่ายเพลงดังกล่าวที่มีชีวิตอยู่ระหว่างปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2540 จากผลงานแนวอีซี่ ลิสซึนนิ่ง หรือเพลงป๊อปหวานๆ ผ่านการคัมแบ็กของพี่ปุ๊ อัญชลี เสียงร้องสไตล์บีจีของพี่ป้อม…

รีวิว Kim Ji-young: Born 1982, Dracula และ มือปืน/โลก/พระ/จัน 2

Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง”…

บงจุนโฮ: “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลี

“Parasite” ไม่ใช่ภาพยนตร์ซึ่งไร้ที่มา วงการภาพยนตร์เกาหลีมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และ “Parasite” ก็ถือเป็นความสืบเนื่องต่อจากหนังเกาหลีเรื่องอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาก่อนหน้า หนังเรื่องนี้คือส่วนต่อขยายในประวัติศาสตร์ของพวกเรา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสุดที่วงการภาพยนตร์เกาหลีพุ่งผงาดขึ้นมาได้ในลักษณะนี้ หนังเรื่อง “The Handmaiden” ของ “ปักชานวุก” เคยได้รับรางวัลบาฟต้ามาแล้ว ขณะที่เมื่อปีก่อน “Burning” (โดย “อีชางดง”) ก็มีรายชื่อผ่านเข้าสู่รอบชอร์ตลิสต์ (หนัง 9 เรื่องที่มีโอกาสเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม -ชื่อ ณ ขณะนั้น- บนเวทีออสการ์ แต่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ 5 เรื่องสุดท้ายได้สำเร็จ)…

ก่อนจะเป็น “ไก่ชนเทวดา” ใน “นางสิบสอง 2562”

ตัวละคร “ไก่ชนเทวดา (พาลเทพ)” ที่ถูกสาปโดยพระอินทร์ ใน “นางสิบสอง 2562” นั้นถือเป็นนวัตกรรมโดดเด่นข้อหนึ่งใน ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสองฉบับล่าสุด” อย่างไรก็ดี “ไก่ชน” กับนิทาน “นางสิบสอง” และ/หรือ “พระรถเมรี” นั้นมีความข้องเกี่ยวกันมาเนิ่นนานแล้ว จึงอยากเชิญชวนทุกท่านไปพินิจพิจารณาความเป็นมาของ “ไก่ชน” ในดินแดนอุษาคเนย์ และบทบาททางวัฒนธรรมของสัตว์ชนิดนี้ ก่อนจะมีพัฒนาการกลายเป็น “ไก่เทวดา” ในปี 2562 เนื้อหาทั้งหมดสรุปความจากบทความ “อนุภาคการชนไก่ในนิทานเรื่องพระรถเมรี: ร่องรอยสู่ความเป็น ‘เมือง’…

หนัง-เพลงที่ชอบ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทึ่ง ในปี 2019

หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน)…