“Southeast Asian Fiction Film Lab” (SEAFIC) คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งดำเนินงานผ่านโครงการ Script Lab ที่จะคัดเลือกบทภาพยนตร์ที่น่าสนใจเข้าร่วมโครงการ และมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเรื่องบทอย่างละเอียด ก่อนจะมีการประกวดบทร่างสุดท้าย เพื่อให้ทุนสนับสนุนโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลต่อไป
งาน “SEAFIC OPEN HOUSE” เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาบทภาพยนตร์ของนักทำหนังทั่วภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่สามแล้ว
ภายในงาน มีกิจกรรมมากมาย อาทิ การจัดฉายภาพยนตร์ที่เปิดให้เข้าชมฟรี, เสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้กํากับ/ผู้อํานวยการสร้าง, กิจกรรมไลฟ์พิชชิ่ง, กิจกรรมพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคลากรอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและเทศ
โดยในปีนี้งานจะจัดขึ้นที่สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26-28 ตุลาคม 2562
ดังมีรายละเอียดกิจกรรมดังต่อไปนี้
วันที่ 26 ตุลาคม 2562
Panel Discussion
เชิญผู้เชี่ยวชาญจากทั่วทุกมุมโลกมาพูดคุยว่าด้วยหนังจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสถานการณ์เทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลก ผู้ร่วมสนทนาประกอบด้วย
GEORGES GOLDENSTERN ชวนคุยเรื่องโปรแกรมของ Cannes Cinefondation จากประเทศฝรั่งเศส ที่สนับสนุนนักทําหนังหน้าใหม่จากภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
Albert Lee หัวหน้าเทศกาล Hong Kong International Film Festival ชวนเจาะลึกแพลตฟอร์มอันหลากหลายของเทศกาลนี้ ที่ทุกคนสามารถพาหนังมาเทศกาลระดับโลกได้
SOPHIE BOURDON หัวเรือใหญ่แห่ง Locarno Open Door จะมาคุยถึงวิธีการคัดเลือกและความแตกต่างของแต่ละโปรแกรมในงานเทศกาลภาพยนตร์จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
SEAFIC Open Fair
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักทำหนังที่ลงทะเบียนเข้างานกว่า 50 ชีวิต จากหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีโอกาสพูดคุย ปรึกษา และรับคําแนะนําเกี่ยวกับโปรเจ็กต์ของตนเอง จากองค์กรภาพยนตร์ระดับโลก อาทิ Produire au Sud (ฝรั่งเศส), Locarno Open Doors (สวิตเซอร์แลนด์), Purin Pictures (เอเชียอาคเนย์) , Busan Asian Film School (เกาหลีใต้) และ White Light Post (ไทย)
วันที่ 27 ตุลาคม 2562
ชมฟรี หนังฟิลิปปินส์ “Woman of the Weeping River”
ฉายภาพยนตร์ฟรีจากประเทศฟิลิปปินส์เรื่อง Woman of the Weeping River กํากับโดย Sheron Dayoc ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลใหญ่ไปหลายรางวัลจากเทศกาล QCinema International Film Festival ทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นักแสดงนําหญิง และนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม แม้ว่านักแสดงทั้งสอง คือ Laila Ulao และ Taha Daranda จะไม่ใช่นักแสดงมืออาชีพ
หลังฉายภาพยนตร์จะมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการพัฒนาบท และการหาทุนสร้างของภาพยนตร์ Woman of the Weeping River กับผู้กํากับ Sheron Dayoc ชวนคุยโดย Raymond Phathanavirangoon ผู้อํานวยการ SEAFIC
Live Pitching
Live Pitching (การนำเสนอผลงานแบบสดๆ) ของ 5 โปรเจ็กต์ภาพยนตร์ที่เริ่มพัฒนาบทมาตั้งแต่ต้นปี (รวมเวลากว่า 8 เดือน) สู่บทสรุปสุดท้ายของการพิชชิ่งเพื่อชิงรางวัลในงาน
โครงการภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง มีดังนี้
AUTOBIOGRAPHY (อินโดนีเซีย) ผู้กำกับ: Makbul Mubarak, ผู้อำนวยการสร้าง: Yulia Evina Bhara
SKIN OF YOUTH (เวียดนาม) ผู้กำกับ: Ash Mayfair, ผู้อำนวยการสร้าง: Tran Thi Bich Ngoc
SOME NIGHTS I FEEL LIKE WALKING (ฟิลิปปินส์) ผู้กำกับ: Petersen Vargas, ผู้อำนวยการสร้าง: Alemberg Ang, Jade Castro
TILL THE CAVE FILLS (เวียดนาม) ผู้กำกับ: Nguyen Le Hoang Viet, ผู้อำนวยการสร้าง: Josh Levy, Nguyen Le Hang
THE WOMEN (พม่า) ผู้กำกับ: The Maw Naing, ผู้อำนวยการสร้าง: Oh Youngjeong
โดยแต่ละโปรเจ็กต์ได้ผ่านงานระดับโลกมาแล้วมากมาย เช่น โปรเจ็กต์จากประเทศพม่าที่ได้เข้าร่วม Cannes Atelier 2019 และภาพยนตร์ The Monk ของผู้กำกับรายนี้ ก็ได้ฉายในเทศกาลต่างๆ ทั่วโลก กว่า 40 แห่ง รวมถึงร็อตเตอร์ดัมและปูซาน
สำหรับ Ash Mayfair ผู้กำกับจากเวียดนาม ผลงานล่าสุดของเธอ คือ The Third Wife ก็มีโอกาสเข้าฉายในไทยกับทาง Doc Club ไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคม
ส่วนโปรเจ็กต์ AUTOBIOGRAPHY ก็ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานใหญ่อย่าง Berlinale Talent Project Market และ TorinoFilmLab
วันที่ 28 ตุลาคม 2562
พิธีประกาศรางวัลโครงการ 2019 Southeast Asia Fiction Film Lab Projects ให้แก่โปรเจ็กต์ภาพยนตร์ที่ร่วมพัฒนาบทมากว่า 8 เดือน มีทั้งหมด 3 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท คือ
SEAFIC AWARD สนับสนุนรางวัลนี้จาก Purin Foundation
OPEN SEA FUND AWARD สนับสนุนรางวัลนี้โดย VS Service และ White Light Post
SEAFIC HAF Award โดยผู้ที่ได้รับรางวัลจะเดินทางเข้าร่วม HAF project market ที่ฮ่องกง ในเดือนมีนาคมปี 2563
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมของ SEAFIC Open House 2019 ได้ทาง https://www.seaficlab.com/open-house-2019 และเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/seaficlab/