รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย

(อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561)

1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด

ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ

รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย

2529

%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%89%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%8c

“ช่างมันฉันไม่แคร์” โดย ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล

หนังที่สร้างขึ้นคล้อยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพียงแค่สิบปี เล่าเรื่องของหญิงสาวแห่งวงการโฆษณา ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาผู้มีบาดแผลความทรงจำจากเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ และความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับหนุ่มชนชั้นล่าง ที่เข้ามาทำงานเป็นผู้ชายขายตัวในเมืองหลวง

นอกจากนั้น หนังยังพูดถึง “คนเดือนตุลาฯ” ที่เปลี่ยนแปลงไป จากหนุ่มสาวผู้มีอุดมการณ์ปฏิวัติ มาสู่นักธุรกิจ-นักโฆษณาผู้ประสบความสำเร็จในระบบทุนนิยม

2534

%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a7

“เวลาในขวดแก้ว” โดย ประยูร วงษ์ชื่น สร้างจากนิยายของประภัสสร เสวิกุล

มีเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นบริบทสำคัญและฉากหลังของหนัง ที่เล่าเรื่องราวการเติบโต-เปลี่ยนผ่านของคนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่ง

2544

%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c

“14 ตุลา สงครามประชาชน” (คนล่าจันทร์) โดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล

จัดเป็น “หนังการเมือง” ที่ไม่ได้ใช้สถานการณ์ทางการเมืองเป็นแค่บริบท

หนังเล่าเรื่องโดยตัดสลับระหว่างชัยชนะในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ กับการเข้าป่าและพ่ายแพ้ออกจากป่าของ “เสกสรรค์-จิระนันท์”

หนังจะมีฉากเกี่ยวกับ 6 ตุลาฯ ตรงๆ อยู่หนึ่งฉาก คือ ฉากที่คนในป่าฟังข่าวเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ จากวิทยุ โดยบรรดาอดีตนักศึกษาจะแสดงความรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนในเมือง แต่ตัวละครสมาชิกพคท. สายจีน กลับไปตกอกตกใจกับข่าวเจียงชิง-แก๊งสี่คนถูกโค่นล้ม

2546

%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%a1%e0%b8%89%e0%b8%b1%e0%b8%99

หนังสั้น “อย่าลืมฉัน” โดย มานัสศักดิ์ ดอกไม้ ที่ใช้ found footage ของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มานำเสนอแบบดิบๆ ได้รับรางวัลรัตน์ เปสตันยี จากเทศกาลหนังสั้น

2552

%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%a1

“เชือดก่อนชิม” โดย ทิวา เมย์ไธสง เป็นหนังสยองขวัญ ที่ใช้เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นฉากหลัง/บริบท

ลิฟท์แดง

“ลิฟท์แดง” (ตอนหนึ่งของหนัง “มหาลัยสยองขวัญ”) โดย บรรจง สินธนมงคลกุล และ สุทธิพร ทับทิม

หนังสยองขวัญกึ่งการเมือง ที่ไม่เพียงนำเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มารับใช้เรื่องราวสยองขวัญดังเช่นกรณีของ “เชือดก่อนชิม” เท่านั้น แต่ยังเพิ่มองค์ประกอบเรื่องความสูญเสีย ความพลัดพราก ความโรแมนติกลงไป และคล้ายจะพยายามพูดถึงประเด็นการเมืองอย่างจริงจังมากกว่า

%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%aa%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%99

“ฟ้าใสชื่นบาน” โดย เกริกชัย ใจมั่น และ นภาพร พูลเจริญ

เป็นหนังตลกล้อเลียนการต่อสู้ทางการเมือง ถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ และการเข้าป่า มานำเสนอในแนวตลกไร้สาระบ้าบอแบบสุดๆ บนจอภาพยนตร์

october sonata

“October Sonata รักที่รอคอย” โดย สมเกียรติ วิทุรานิช

หนังการเมือง-โรแมนติก ดราม่า มีฉากหลังลากยาวตั้งแต่ยุคก่อน 14 ตุลาฯ จนถึงปลายทศวรรษ 2520 เมื่อปัญญาชนออกจากป่า

จุดเด่น คือ เป็นหนังที่พูดถึงวรรณกรรมการเมืองยุคคลาสสิคอย่างจริงจัง ผ่านการใช้นิยาย “สงครามชีวิต” ของ “ศรีบูรพา” มาเป็นหนังสือหลักที่เปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของนางเอก (ซึ่งคล้ายจะได้รับอิทธิพลมาจากชีวิตจริงของ “ศรีดาวเรือง”)

นอกจากนั้น หนังยังมีประเด็นรายทางที่น่าสนใจอีกมากพอสมควร อาทิ การเทียบเคียงความพ่ายแพ้ของปัญญาชน กับการอยู่เป็นและการกลายสถานะเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาอดีตฝ่ายซ้ายตกยากของตัวละครนายทุนเชื้อสายจีน

เจ้านกกระจอก

“เจ้านกกระจอก” โดย อโนชา สุวิชากรพงศ์

หนังการเมืองเชิงสัญลักษณ์ เล่าเรื่องความสัมพันธ์อันบาดหมางมึนตึงระหว่างพ่อกับลูกในครอบครัวหนึ่ง มีฉากอุปมาเกี่ยวกับนกที่ปีกซ้ายถูกยิง หรือภาวะที่เด็กทารกจำเป็นต้องตัดสายสะดือแยกขาดจากผู้ให้กำเนิด

2553

%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4

“ลุงบุญมีระลึกชาติ” โดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

หนังการเมืองเชิงสัญลักษณ์ เล่าเรื่องชายชราที่เคยฆ่า “คอมมิวนิสต์” ในยุคสงครามเย็น และลูกชายของเขาที่กลายร่างเป็น “ลิงป่า” ที่ออกจากป่ามาพบพ่อ ก่อนที่ผู้เป็นพ่อจะเดินทางไปสู่วาระสุดท้ายของชีวิต

2556

%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a7

“ยังบาว” โดย ยุทธกร สุขมุกตาภา

หนังที่เล่าถึงจุดกำเนิดของวงดนตรีคาราบาว (ตรงกับข้อเท็จจริงแค่ไหนเป็นอีกประเด็นหนึ่ง)

หนังใช้เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ และการเข้าป่าของปัญญาชนคนหนุ่มสาว มาเป็นบริบททางสังคมการเมืองที่สำคัญภายในเรื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของตัวละครหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แอ๊ด คาราบาว”

2559

ดาวคะนอง

“ดาวคะนอง” โดย อโนชา สุวิชากรพงศ์

หนังการเมืองเชิงสัญลักษณ์ ที่พูดถึง “ความทรงจำที่กระจัดกระจายและสลับซับซ้อน” กรณี 6 ตุลาฯ

2560

พิราบ

“พิราบ” โดย ภาษิต พร้อมนำพล

หนังสั้นนักศึกษาในปี 2560 ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงแรงผลักดันและขั้นตอนหรือกระบวนการ “เข้าป่า” ของนักศึกษาหนุ่มรายหนึ่ง ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

ภาพยนตร์สารคดี

2557

%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87

“ความทรงจำ-ไร้เสียง” โดย ภัทรภร ภู่ทอง และ เสาวนีย์ สังขาระ

หนังสารคดีที่มุ่งสำรวจเสียงของ 2 ครอบครัว ซึ่งสูญเสียลูกไปในวันที่ 6 ตุลาคม 2519

2559

ด้วยความนับถือ

“ด้วยความนับถือ” โดย ภัทรภร ภู่ทอง

หนังสารคดีที่จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 40 ปี 6 ตุลาฯ

2560

สองพี่น้อง

“สองพี่น้อง” โดย ธีระวัฒน์ รุจินธรรม และภัทรภร ภู่ทอง

หนังไปสัมภาษณ์ครอบครัวของ “ชุมพร ทุมไมย” และ “วิชัย เกศศรีพงษา”  สองช่างไฟฟ้าที่ถูกฆาตกรรมแขวนคอก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ

ภาพยนตร์ข่าว

2521

“[นิรโทษกรรม จำเลยคดี ๖ ตุลา]”

ภาพยนตร์ข่าวบันทึกเหตุการณ์ที่อดีตผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา จำนวน 19 คน อาทิ “สุธรรม แสงประทุม” “สุรชาติ บำรุงสุข” “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” “ธงชัย วินิจจะกูล” และ “วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์” เดินทางเข้าพบ “พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์” นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ภายหลังได้รับการนิรโทษกรรม

มิวสิกวิดีโอ

2561

มิวสิกวีดีโอเพลง “ประเทศกูมี” โดย ธีระวัฒน์ รุจินธรรม

ผลงานเพลงแร็พการเมืองวิพากษ์สังคมไทยร่วมสมัย (ยุคปลาย คสช.) โดยกลุ่มศิลปิน “Rap Against Dictatorship” (RAD) ซึ่งออกเผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2561

เอ็มวีนี้ใช้ฉากหลังเป็นภาพจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และกำกับโดย ธีระวัฒน์ รุจินธรรม ซึ่งเคยกำกับหนังสารคดี “สองพี่น้อง” ตลอดจนเคยเป็นผู้กำกับภาพของหนังเรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน”

ภาพยนตร์ต่างประเทศ

2557

river

“River of Exploding Durians” หนังมาเลเซีย โดย เอ็ดมันด์ โหย่ว

หนังพูดถึงการต่อสู้ทางการเมืองของหนุ่มสาวมาเลเซีย โดยมีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และประวัติศาสตร์บาดแผลทางการเมืองอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะ “ประสบการณ์ร่วม” ของผู้คนแถบภูมิภาคนี้

ทำไมปี 2552 ถึงมีหนัง 6 ตุลาฯ เยอะสุด?

ถ้าพิจารณาจากข้อมูลนี้ จะพบว่าในปี 2552 มีการผลิตหนังที่เกี่ยวข้อง/อ้างอิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากถึง 5 เรื่อง (หากรวม “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ในปี 2553 ด้วย ก็จะกลายเป็น 6 เรื่อง)

ถือว่ามากในแง่จำนวน ทั้งยังมีความหลากหลายทางเนื้อหา คือ มีตั้งแต่หนังสยองขวัญ หนังผี หนังตลก หนังโรแมนติก ดราม่า และหนังทดลองอิสระ ซึ่งสื่อสารประเด็นแหลมคมผ่านสัญลักษณ์ทางภาพยนตร์

น่าจะยังไม่เคยมีใครศึกษาอย่างจริงจังว่าทำไมช่วงเวลาดังกล่าว จึงมีหนังว่าด้วย 6 ตุลาฯ ออกมามากมายและหลากหลายขนาดนั้น

อย่างไรก็ดี ตามสมมุติฐานเบื้องต้นของผม ช่วงเวลาระหว่างปี 2549-53 (ส่วนใหญ่ ภาพยนตร์จะใช้เวลาสร้าง 1-2 ปี หรือยาวนานกว่านั้นอยู่แล้ว) ถือเป็นภาวะ “ลักปิดลักเปิด” สำหรับสังคมการเมืองไทย

กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาหลังรัฐประหารปี 2549 แต่บรรยากาศภายหลังการรัฐประหารกลับไม่ “ปิด” เสียทีเดียว (จนเกิดแนวคิดเรื่อง “รัฐประหารเสียของ” ตามมา)

มิหนำซ้ำ บรรยากาศปิดๆ เปิดๆ ที่ว่า ยังกระตุ้นเร้าให้ผู้คนจำนวนมากมีความตื่นตัวทางการเมือง จากกระแสเสื้อเหลืองก่อนรัฐประหาร มาสู่จุดกำเนิดของกลุ่ม นปก. นปช. หรือเสื้อแดง

น่าสนใจด้วยว่าความขัดแย้งทางการเมืองในเวลาดังกล่าวยังไม่ตึงเครียด จนผู้คนถูกแบ่งออกเป็น “สองขั้ว” อย่างชัดเจน หรือรุนแรงหนักถึงขนาดล่าแม่มดกัน

นอกจากนี้ บรรยากาศทางความคิดก็ยังเปิดกว้างอยู่พอสมควร มีการถกเถียง/นำเสนอข้อมูลเรื่องการเมือง/ประวัติศาสตร์การเมืองในอินเตอร์เน็ต งานศิลปะต่างๆ กล้าพูดประเด็นการเมืองแรงๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น งานบทกวี หรือในส่วนวงการภาพยนตร์เอง ถ้าติดตามวงการหนังสั้นช่วงปี 2549-ต้นทศวรรษ 2550 เราก็จะพบว่ามีหนังการเมืองแรงๆ เกิดขึ้นไม่น้อย

แน่นอน ประวัติศาสตร์ของคณะราษฎรช่วงปี 2475 ตลอดจนประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ซึ่งส่วนทางกับประวัติศาสตร์การเมืองกระแสหลัก ได้ถูกหยิบยืมมานำเสนอหรือดัดแปลงในผลงานศิลปะเหล่านี้ด้วย

ตามการประเมินคร่าวๆ ของผม กระแสทางวัฒนธรรมทำนองนี้จะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2553-54

พอพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง จึงเริ่มมีการชะลอตัว แล้วเงียบเสียงลงไปอย่างชัดเจนหลังรัฐประหารปี 2557

ป.ล.

นี่เป็นการรวบรวมข้อมูลและตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นอย่างคร่าวๆ ถ้าใครมีรายชื่อ-เรื่องย่อหนังเพิ่มเติม ตลอดจนคิดสมมุติฐานอื่นๆ ได้ สามารถบอกกล่าว-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.