“พลอย” และ “ใจจำลอง” สองหนังไทยในเทศกาลเบอร์ลิน 2021

มีภาพยนตร์ไทยสองเรื่องได้รับคัดเลือกเข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน 2021 เริ่มจาก “พลอย” ผลงานการกำกับ-เขียนเรื่อง-ถ่ายภาพโดย “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” และโปรดิวซ์โดย “ไกรวุฒิ จุลพงศธร” ที่ได้เข้าฉายในสาย Forum Expanded ภาพยนตร์สารคดีทดลองความยาว 51 นาทีเรื่องนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “คนไกลบ้าน” ซึ่งมี “พัฒนา กิติอาษา” (นักมานุษยวิทยาไทยผู้ล่วงลับ) เป็นบรรณาธิการ “พลอย” ได้ตามรอยไดอารีของแรงงานต่างด้าวในสิงคโปร์ โดยร้อยเรียงปมประเด็นทางสังคมและศิลปะมากมายเข้าไว้ด้วยกัน https://www.youtube.com/watch?v=213qVaGfVPg ทั้งชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศชื่อ “พลอย” ซึ่งเคยทำงานใน…

3 ประเด็นกับ “ชะตาธิปไตย”

https://www.youtube.com/watch?v=XjksMofqRPc จุดที่ชอบมาก ผมชอบวัตถุดิบหลักของหนังสารคดีเรื่องนี้ นั่นคือการไปตามติดชีวิตการหาเสียงเมื่อการเลือกตั้งปี 2554 ของหมอชลน่าน ศรีแก้ว หมอบัญญัติ เจตนจันทร์ หมอภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ เพื่อนนักเรียนแพทย์ศิริราช ซึ่งหันมาทำงานการเมืองคล้ายๆ กัน แต่ต่างพรรค ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับ/ผู้บันทึกเรื่องราว คือ คุณหมอเดชา ปิยะวัฒน์กูล จะตั้งใจหรือไม่ แต่ไปๆ มาๆ การตามติดสามคุณหมอนักการเมือง ได้นำไปสู่ผลลัพธ์สามแบบบนจอภาพยนตร์ หนังประสบความสำเร็จในการฉายภาพหมอชลน่านออกมาเป็นมนุษย์สามัญ (แบบลูกผู้ช้ายลูกผู้ชาย) ผู้เคยผ่านการสูญเสียสำคัญในวัยเยาว์ ผู้คลุกคลีใกล้ชิดเข้าถึงชาวบ้านด้วยสื่อกลางเช่นสุราและซองงานศพ ผู้เป็นมนุษย์ที่อาจไม่ได้มีแง่มุมความคิด/ทัศนคติชีวิตดีงามราวพระเอกไปเสียทุกเรื่อง (ผมคิดว่าเนื้อหาพาร์ตนี้จะนำไปสู่ข้อถกเถียงมากพอสมควร…

“ยุคทอง” ใน Last Night I Saw You Smiling

ไม่ขอลงรายละเอียดหรือบรรยายอะไรเกี่ยวกับตัวหนังมากนัก เพราะคิดว่าคงมีท่านอื่นๆ เขียนถึงไปเยอะแล้ว หรือกำลังจะเขียนในอนาคตอันใกล้ โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังสารคดีจากกัมพูชาเรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่ 2-3 จุด https://www.youtube.com/watch?v=HJzcUx_jUqM หนึ่ง คนดูจะไม่ได้มองเห็นรูปพรรณสัณฐานของ “the White Building” ช่วงก่อนถูกทุบ ในมุมกว้างๆ เลย แต่จะเห็นเพียงเสี้ยวเล็กส่วนน้อยภายในตึกหรือด้านนอกอาคาร รวมทั้งภาพนิ่งที่สื่อถึงความโอ่อ่าทันสมัยของมันเมื่อแรกสร้างเสร็จ ณ ทศวรรษ 1960 สอง ผมชอบที่หนังเลือกจับภาพส่วนเสี้ยวเล็กๆ กระจัดกระจายของบางชีวิตใน “the White Building” โดยไม่พยายามจะเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าหากันเป็นองค์รวม หรือพยายามทำให้หลายๆ…

อรดี อินทร์คง: (ความหล่นหายไปของ) เสียงที่หลากหลายใน “ดินไร้แดน”

(บทความชิ้นนี้เขียนโดย “อรดี อินทร์คง” นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยคอร์แนล) Soil without Land ดินไร้แดน **spoil เต็มๆ เลยเน้อ** https://www.youtube.com/watch?v=32Fh67tRnso ดินไร้แดน เป็นหนังสารคดีเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของ จายแสงลอด เด็กหนุ่มชาวไทใหญ่ที่เคยเข้ามาทำงานในเชียงใหม่ แต่ด้วยเงื่อนไขสำคัญเรื่องบัตรประจำตัว ทำให้เขาตัดสินใจเลือกกลับไปอยู่บ้าน บริเวณชายแดนไทย-รัฐฉาน และเข้าฝึกทหารที่ดอยก่อวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานที่ตั้งกองกำลังกู้ชาติรัฐฉาน หากก้าวข้ามเรื่องราวชีวิตของจายแสงลอดไปแล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเราก็คือ การเข้าไปนั่งฟังเสียงต่างๆ ในหนังเรื่องนี้ ทั้งเสียงสนทนา เสียงที่บันทึกสด เสียงเพลงประกอบ…

“รอยแหว่งวิ่น” ใน “นคร-สวรรค์”

หนึ่ง https://www.facebook.com/puangsoi/videos/1545384905591813/   ในแง่กระบวนการ-วิธีการ ความเป็นภาพยนตร์ “สารคดีผสมเรื่องแต่ง” ของ “นคร-สวรรค์” มิได้แปลกใหม่กว่าหนังอินดี้ไทยร่วมสมัยจำนวนหนึ่งแน่ๆ เช่น เมื่อ 5 ปีก่อน ภาพยนตร์เรื่อง “Mother” ของ “วรกร ฤทัยวาณิชกุล” (ปัจจุบัน เป็นสมาชิกและผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่) ก็บอกเล่าปัญหาชีวิตครอบครัวของผู้กำกับด้วยกระบวนท่า “กึ่งสารคดีกึ่งเรื่องแต่ง” คล้ายคลึงกัน ทว่า “นคร-สวรรค์” นั้นมีเสน่ห์เฉพาะในแบบฉบับของตัวเอง หนังเล่าเรื่องราวคู่ขนาน ระหว่างเนื้อหาส่วนสารคดีที่ “โรส”…

“Hope Frozen” หนังสารคดีไทยประเด็นเข้มข้น คว้ารางวัลที่แคนาดา

https://vimeo.com/221718693 วาไรตี้ รายงานว่า “Hope Frozen” ภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยความโศกเศร้าเสียใจที่ครอบครัวคนไทยครอบครัวหนึ่งต้องเผชิญหลังการสูญเสียลูกสาว และการตัดสินใจของพวกเขาที่จะแช่แข็งร่างไร้วิญญาณของเด็กน้อยเอาไว้ เพื่อรอคอยความหวังบางอย่าง ได้รับรางวัลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังสารคดี Hot Docs ที่โตรอนโต ประเทศแคนาดา ผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ของหนังสารคดีเรื่องนี้คือ “ไพลิน วีเด็ล” การได้รับรางวัลดังกล่าวจาก Hot Docs ส่งผลให้ “Hope Frozen” มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวยอดเยี่ยมในออสการ์ครั้งหน้า โดยไม่ต้องเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์ทางการของ “Hope Frozen” ระบุถึงเรื่องย่อของหนังเอาไว้ว่า “น้องไอนส์” เด็กหญิงวัยสองขวบจากกรุงเทพฯ…

รำลึก “อานเญส วาร์ดา” (1928-2019) กับ 5 คำถาม-คำตอบ ก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต

บล็อกคนมองหนังขอร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ “อานเญส วาร์ดา” (1928-2019) นักทำหนัง (สตรี) คนสำคัญ ด้วยการแปลเนื้อหาบางส่วนจากบทสัมภาษณ์ชิ้นท้ายๆ ในชีวิตของเธอ ได้แก่ Agnes Varda on Examining Her Work for New Doc and Why Awards Make Her Uncomfortable โดย รอนดา ริชฟอร์ด และ Agnès…

“Last Night I Saw You Smiling” หนังสารคดีกัมพูชาที่เพิ่งได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ร็อตเตอร์ดัม

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Last Night I Saw You Smiling” ของ “กวิช เนียง” ผู้กำกับหนุ่มจากกัมพูชา เพิ่งคว้ารางวัล NETPAC award ในเทศกาลหนังนานาชาติร็อตเตอร์ดัม 2019 ซึ่งมอบให้แก่ภาพยนตร์เอเชียที่มาฉายรอบปฐมทัศน์โลก ณ เทศกาล ซึ่งมีความโดดเด่นสูงสุด คณะกรรมการระบุว่าหนังสารคดีเรื่องนี้มีความพยายามอย่างกล้าหาญ ที่จะมุ่งเปิดเผยภาวะล่มสลายของสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเปลี่ยนผ่านอันเชี่ยวกรากรุนแรง https://www.youtube.com/watch?time_continue=1&v=c772_JhB6nA “Last Night I Saw You Smiling”…

มุมมอง “โจนัส เมคัส” ว่าด้วยหนังเรื่อง “Lady Bird” และภาพยนตร์แอคชั่นฮอลลีวูด

“โจนัส เมคัส” คนทำหนังอาวองการ์ดรุ่นอาวุโส ผู้บุกเบิกวงการหนังทดลองใต้ดินอเมริกัน เพิ่งจะเสียชีวิตลงในวัย 96 ปี เมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากนั้น “ไซม่อน แฮตเตนสโตน” ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์สุดท้ายของเมคัสลงในเว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยน โดยเนื้อหาส่วนหนึ่ง มีการพูดถึงหนังเรื่อง “Lady Bird” และหนังแอคชั่นฮอลลีวูดเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ --- เมื่อแฮตเตนสโตนถาม โจนัส เมคัส ว่าเขาชอบหนังรุ่นใหม่ๆ เรื่องไหนบ้าง? เมคัสก็กล่าวถึง “Lady Bird” ของเกรต้า เกอร์วิก “นี่เป็นหนังเรื่องเดียวที่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอประเด็นว่าด้วยชีวิตจริง…

ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…