Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง” […]
“Parasite” ไม่ใช่ภาพยนตร์ซึ่งไร้ที่มา วงการภาพยนตร์เกาหลีมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และ “Parasite” ก็ถือเป็นความสืบเนื่องต่อจากหนังเกาหลีเรื่องอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาก่อนหน้า หนังเรื่องนี้คือส่วนต่อขยายในประวัติศาสตร์ของพวกเรา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสุดที่วงการภาพยนตร์เกาหลีพุ่งผงาดขึ้นมาได้ในลักษณะนี้ หนังเรื่อง “The Handmaiden” ของ “ปักชานวุก” เคยได้รับรางวัลบาฟต้ามาแล้ว ขณะที่เมื่อปีก่อน “Burning” (โดย “อีชางดง”) ก็มีรายชื่อผ่านเข้าสู่รอบชอร์ตลิสต์ (หนัง 9 เรื่องที่มีโอกาสเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม -ชื่อ ณ ขณะนั้น- บนเวทีออสการ์ แต่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ 5 เรื่องสุดท้ายได้สำเร็จ) […]
ตัวละคร “ไก่ชนเทวดา (พาลเทพ)” ที่ถูกสาปโดยพระอินทร์ ใน “นางสิบสอง 2562” นั้นถือเป็นนวัตกรรมโดดเด่นข้อหนึ่งใน ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสองฉบับล่าสุด” อย่างไรก็ดี “ไก่ชน” กับนิทาน “นางสิบสอง” และ/หรือ “พระรถเมรี” นั้นมีความข้องเกี่ยวกันมาเนิ่นนานแล้ว จึงอยากเชิญชวนทุกท่านไปพินิจพิจารณาความเป็นมาของ “ไก่ชน” ในดินแดนอุษาคเนย์ และบทบาททางวัฒนธรรมของสัตว์ชนิดนี้ ก่อนจะมีพัฒนาการกลายเป็น “ไก่เทวดา” ในปี 2562 เนื้อหาทั้งหมดสรุปความจากบทความ “อนุภาคการชนไก่ในนิทานเรื่องพระรถเมรี: ร่องรอยสู่ความเป็น ‘เมือง’ […]
หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน) […]
ก่อนหน้าปีใหม่ 2563 ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสอง 2562” ก็ได้ฤกษ์ “รีแบรนด์” ตัวเองครั้งสำคัญ โดยในการแพร่ภาพตอนที่ 44 ประจำวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562 นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงไตเติ้ลก่อนเข้าละครแล้ว ยังมีการเปลี่ยนชื่อละครเป็น “พระรถเมรี” ด้วย นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ค่ายสามเศียรเลือกใช้กลยุทธ์เช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้ ละคร “ดิน น้ำ ลม ไฟ” (2559) ก็เคยเปลี่ยนชื่อเป็น “สี่ยอดกุมาร” […]
View this post on Instagram คิดหนักเลย 😅😅😅 A post shared by พิ้งค์ กมลวรรณ (@pinkkamonwan_missteen11) on Dec 20, 2019 at 7:36pm PST คลิกอ่าน “พระรถเมรี 2562” เมื่อ “ฤาษีแปลงสาร” ไม่ได้มีความสำคัญอีกต่อไป ตอนเริ่มเปิดกล้องละคร “นางสิบสอง 2562” […]
“ฉันชอบงานในยุคแรกๆ ของเขา (โกดาร์ด) มากกว่า งานกลุ่มนี้มีความเป็นมนุษย์ ขณะที่งานในยุคต่อมามีความเป็นนามธรรม มันก็เหมือนผลงานจิตรกรรมแนวคิวบิสต์ ซึ่งไม่น่าสนุกเอาเสียเลย วันหนึ่งที่ลอสแอนเจลิส ฉันเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ และจ่ายค่าตั๋วเข้าชมไป 25 ดอลลาร์ แล้วรู้ไหมสิ่งที่ฉันได้เข้าไปชมคืออะไร? มันคือภาพวาดลูกบาศก์สีขาว! รู้ไหมสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคืออะไร? ฉันเดินกลับไปที่บู๊ธจำหน่ายตั๋วและพูดว่า ‘ฉันขอเงินค่าตั๋วคืนเถอะ ฉันไม่ได้จ่ายเงินเพื่อเข้าไปจ้องมองลูกบาศก์สีขาวพวกนั้น’” อันนา คาริน่า (1940-2019) นักแสดงและอดีตภรรยาของผู้กำกับ “ฌอง-ลุค โกดาร์ด” ทั้งคู่เคยมีผลงานภาพยนตร์ร่วมกันจำนวน 8 เรื่อง คาริน่าเพิ่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ […]
นอกประเด็น ขอพูดถึงประเด็นที่กำลัง “อินเทรนด์” ในสังคมไทยก่อนสักเล็กน้อย นั่นคือเรื่องการตอบคำถามของ “ฟ้าใส ปวีณสุดา” ซึ่งบางคนบอกว่า “เป็นไทย” เกินไป อยู่ใน “กะลา” เกินไป ส่วนบางคนก็ลากไปถึงบริบทการอยู่ในอำนาจของ “ประยุทธ์/พลังประชารัฐ/คสช.” แต่เอาเข้าจริง ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลในการตอบคำถามของมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ นั้นน่าจะขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ของ “ฟ้าใส” เองและทีมงานมากกว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยสอบทักษะการเขียนของ IELTS แนวคำถามของข้อสอบประเภทนั้นก็จะไม่ต่างกับพวกคำถามบนเวทีนางงามจักรวาลระยะหลังมากนัก คือ เป็นประเด็นถกเถียงทางสังคม มีสมมติฐานให้เลือกสนับสนุนสองขั้ว ซึ่ง “สูตร” ที่ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่รู้กันดี ก็มีอยู่ว่าเราต้องบรรยายถึงข้อดี-ข้อด้อยของทั้งสองสมมติฐาน […]
จู่ๆ ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสอง 2562” ที่มีเรตติ้งซึมๆ เนือยๆ (อย่างพลิกความคาดหมาย) ก็มีดัชนีความนิยมทะลุหลัก 5 สองสัปดาห์ติดต่อกัน เริ่มจากวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งละครเรื่องนี้คว้าเรตติ้งไป 5.220 ก่อนจะได้เรตติ้ง 5.002 ในวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม ความนิยมที่กระเตื้องขึ้นของ “นางสิบสอง” บ่งบอกอะไร? อาจเป็นไปได้ว่าเรตติ้งที่ดีขึ้น มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาของละครตอนที่ 30 กว่าๆ ที่สนุกเข้มข้นกว่าช่วงแรกๆ แต่หากลงรายละเอียดให้ลึกกว่านั้น […]
“I’m Not Your F***ing Stereotype” หนังสั้นโดย “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” คว้ารางวัลภาพยนตร์สั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ 2019 หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของ “มัรยัม” เด็กสาวมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศไทย ที่ตกเป็นเหยื่อของการเหยียดเชื้อชาติในโรงเรียน ส่งผลให้เธอประสบภาวะวิกฤตอัตลักษณ์ จนเริ่มไม่พอใจกับชื่อ, ศาสนา กระทั่งวันเกิดของตนเอง “ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ” เกิดที่จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบัน เขาเข้ามาศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาพยนตร์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดย “I’m Not Your F***ing Stereotype” […]