“มอน ลาเฟร์เต้” นักร้อง-นักแต่งเพลงหญิงคนสำคัญแห่งลาตินอเมริกา

“มอน ลาเฟร์เต้” (Mon Laferte) คือนักร้อง-นักแต่งเพลงหญิงวัย 38 ปี ซึ่งถือเป็นศิลปินเพลงป๊อปร่วมสมัยชาวชิลีที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในระดับนานาชาติ/ข้ามชาติ ไม่ว่าจะพิจารณายอดผู้ฟังผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ยอดขายผลงาน หรือความสำเร็จบนเวทีมอบรางวัลลาตินแกรมมี่ ลาเฟร์เต้เริ่มเข้าสู่วงการดนตรีตั้งแต่ตอนอายุ 9 ขวบ หลังเธอชนะการประกวดร้องเพลงและได้รับรางวัลเป็นกีตาร์ ในวัย 13 ปี เธอได้รับทุนให้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนดนตรีประจำท้องถิ่น แล้วก็เริ่มเพิ่มพูนประสบการณ์ของตนเองผ่านการเข้าไปเล่นดนตรีตามบาร์ต่างๆ ในปี 2003 ลาเฟร์เต้ ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อในวงการบันเทิงว่า “มอนเซร์รัต บุสตามันเต้” ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางสถานีโทรทัศน์ ปีเดียวกัน เธอมีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศบ้านเกิด…

“บุตรธิดาแห่งมาตุภูมิ” (บทกวีจากหนัง)

หมายเหตุ ถอดความ-แปรความจากเนื้อหาของเพลง “Anak Ng Bayan” ที่ปรากฏในภาพยนตร์ฟิลิปปินส์เรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” กำกับโดย “ลาฟ ดิแอซ” https://www.youtube.com/watch?v=4juoATkeuSo แม่พ่อจ๋าลูกขอขมาไหว้ก่อนออกเดินทางไกลทะลุฟ้าศึกครานี้ลูกอาจวายชีวาเพื่อไขว่คว้าใฝ่หาซึ่งเสรี แม่พ่อจ๋าอย่ากังวลห่วงอะไรลูกจะเก็บรักใส่ใจไปทุกที่รักเอ่อท้นหัวใจคนอีกมากมีรักล้นปรี่ที่พักแรมตามรายทาง แม่พ่อจ๋าท่านจะไม่โดดเดี่ยวลูกมิได้สู้คนเดียวอย่างอ้างว้างลูกมีเพื่อนมากมายอยู่เคียงข้างเราจะแผ้วถางซ่อมสร้างมาตุภูมิ แม่พ่อจ๋าได้รับสารของลูกไหมจากเหล่ามิตรสหายที่มารวมกลุ่มโปรดเมตตายามพวกเขามาชุมนุมโปรดปกคุ้มดุจดังบุตรธิดาตน แม่พ่อจ๋ายามลูกหันหลังจากจุดหมาย ณ อีกฟากจักไม่หมองหม่นเสรีภาพจักเฉิดฉายกลบมืดมนฝันจักถูกบันดาลดลตรงบั้นปลาย ภาพปกจาก www.matichon.co.th

“สายลมที่หวังดี” : ชีวประวัติของ “เพลงป๊อปร็อก-การเมือง” เพลงหนึ่ง

หมายเหตุ ปรับปรุง-เพิ่มเติมเนื้อหาจากบทความชื่อเดียวกันในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 20-26 พฤศจิกายน 2563 “ฉันอาจเป็นสายฝน เมื่อเธอร้อนใจ อบอุ่นเหมือนไฟ เมื่อเธอเหน็บหนาว อาจเป็นดนตรี กล่อมเธอเมื่อเหงา อาจเป็นแสงดาว เมื่อเธอแหงนมอง” https://www.youtube.com/watch?v=Yp1eN9I5vPg บนเวที “ม็อบเฟสต์” ถนนราชดำเนิน เมื่อช่วงค่ำวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน “เอ้ กุลจิรา ทองคง” และ “พัด สุทธิภัทร สุทธิวาณิช” นักร้องนำวง “Zweedz…

ย้อนฟังเพลงไพเราะจากน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ “พี่ป้อม เกริกศักดิ์ – วงนั่งเล่น”

คราวนี้ขออนุญาตพาไปฟังผลงานเพลงยุค 90 (และ 80) จากเสียงร้องของ “พี่ป้อม เกริกศักดิ์ ยุวะหงษ์” ซึ่ง ณ ปัจจุบัน หลายคนอาจรู้จักแกในฐานะมือเพอร์คัสชั่นและคอรัสประจำ “วงนั่งเล่น” กับ “ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์” ทว่าหากย้อนอดีตไปเมื่อราวสองทศวรรษก่อน “พี่ป้อม เกริกศักดิ์” นั้นถือเป็นนักร้องที่มีเสียงไพเราะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คนหนึ่งของวงการเพลงไทย และเอาเข้าจริง ในบรรดาสมาชิก “วงนั่งเล่น” ทั้งหมด “พี่ป้อม” ก็เป็นเพียงหนึ่งเดียวที่เคยมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง ในความทรงจำส่วนตัว ผมจดจำ “พี่ป้อม เกริกศักดิ์” และน้ำเสียงของแกได้…

“ไกล” : จากปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2560

สถานะของเพลง “ไกล” ในปลายทศวรรษ 2530 https://www.youtube.com/watch?v=ZtSvQeY4ld0 ไม่ว่าจะนิยามเพลง “ไกล” ว่าเป็นผลงานแนวโปรเกสซีฟร็อก โอเปร่าร็อก ฯลฯ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทว่าสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นตรงกันก็คือผลงานเพลงดังกล่าวคือการเปิดตัว “มาโนช พุฒตาล” ในฐานะนักดนตรี-นักแต่งเพลงฝีมือยอดเยี่ยม ประดุจนาวาที่นำพาเขาโดยสารข้ามมาจากอีกฟากฝั่งทางวิชาชีพ อันได้แก่ การเป็นพิธีกรรายการดนตรี นักจัดรายการวิทยุ หรือนักวิจารณ์ “ไกล” เข้ามาสร้างความแหวกแนวให้แก่อุตสาหกรรมเพลงไทยในช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 2530 ด้วยเนื้อหาเชิงปรัชญาที่ลึกซึ้ง คมคาย ชวนขบคิด และด้วยความยาว (เกือบ 24 นาที)…

ย้อนฟังเพลงนำซีรี่ส์ “แปดเทพอสูรมังกรฟ้า” ฉบับคลาสสิก ในหลากหลายเวอร์ชั่น

https://youtu.be/1-_fKHpkfUE องค์ประกอบโดดเด่นข้อหนึ่งของซีรี่ส์ “แปดเทพอสูรมังกรฟ้า 1997” ที่ช่องยูทูบ TVB Thailand เพิ่งจะทยอยนำกลับมาเผยแพร่ซ้ำในสัปดาห์นี้ (ทีวีบีไทยระบุชื่อปีที่ออกอากาศครั้งแรกผิดเป็น 1996) ก็คือเพลงนำซีรี่ส์ https://www.youtube.com/watch?v=UxgWCWdIrPs&t=276s https://www.youtube.com/watch?v=iVE5uNpDl3w&t=27s เพลงดังกล่าว ซึ่งมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “A Hard Scripture To Read” (คงแปลเป็นไทยได้ราวๆ ว่า "คัมภีร์ที่ยากหยั่งถึง") เป็นผลงานของ “Emil (Wakin) Chau” หรือ “โจวหวาเจี้ยน” นักร้องนักแต่งเพลงชาวฮ่องกงที่เริ่มต้นสร้างชื่อเสียงบนเกาะไต้หวัน…

หนัง-เพลงที่ชอบ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทึ่ง ในปี 2019

หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน)…

แนะนำนักแสดงรุ่นหนุ่ม-สาว “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562”

“ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” เปลี่ยนโหมดเข้าสู่ช่วงวัยที่เติบโตเป็นหนุ่มสาวของเหล่าตัวละครหลักเรียบร้อยแล้ว และผลตอบรับก็ดูเหมือนจะ “ดี” ทีเดียว หากพิจารณาจากเรตติ้งของละครในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 8-9 มิถุนายน ซึ่งได้ไป 5.029 และ 5.632 “ขวานฟ้าหน้าดำ” นั้นมีตัวละครหลักไม่มาก ส่งผลให้ไม่ต้องใช้บริการนักแสดงเยอะแยะเท่าละครจักรๆ วงศ์ๆ อีกหลายเรื่อง โดยใน “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” นักแสดงผู้รับบทบาทสำคัญช่วงหนุ่มสาว จะประกอบไปด้วย https://www.instagram.com/p/Byg64AbA6Gk/ “ข้าวตู พลพจน์ พูลนิล” ผู้รับบท “ขวาน” หรือ…

“Jocelynang Baliwag” (บทกวีแปลจากเพลงประกอบภาพยนตร์ของ “ลาฟ ดิแอซ”)

“Jocelynang Baliwag” https://www.youtube.com/watch?v=vVeDuJQmk_s รักเดียวที่จิตวิญญาณฉันทูนเทิด ถือกำเนิดอย่างพิสุทธิ์งามเลิศหล้า เป็นน้ำปรุงกลั่นจากยอดแห่งผกา คือธาราพุ่งสราญบันดาลใจ ดุจน้ำพุสุขกำซาบบนสวนสวรรค์ ติดตรึงฉันตราบชีวีจะหาไม่ เนตรเย้ายวนรอยยิ้มหวานกว่าใครๆ กล่อมดอกไม้ให้ผลิบานเกินคะเน เมตตาเธอฉันน้อมรับปราศเงื่อนไข ยึดมั่นไว้ไร้ความกลัวไม่หันเห ยอดชีวาไถ่บาปฉันอย่าทิ้งเท กลางทะเลผันผวนอย่าปล่อยจม คนต่ำต้อยขัดสนอยากวอนขอ ฉันเฝ้ารอรักแท้ในยุคขืนข่ม ฉันยอมเป็นยาจกดูโง่งม ดีกว่ากลวงเปล่าเศร้าตรมไร้หวังใด (ถอดความจากซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษในภาพยนตร์เรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของ “ลาฟ ดิแอซ”) https://www.youtube.com/watch?v=STxchtw6g88…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…