ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน

(หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…

เมื่อ “เศก ดุสิต” และ “ตรี อภิรุม” ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ

นอกจาก “ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง” และ “อารีย์ นักดนตรี” ซึ่งได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ (สาขาศิลปะการแสดง ประเภทภาพยนตร์และละคร) ประจำปี 2562 แล้ว ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2562 อีกสองรายที่มีความข้องเกี่ยวกับ/ทรงอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยเฉพาะละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นอย่างสูง ก็คือ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ อันได้แก่ “เริงชัย ประภาษานนท์” และ “เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” ชื่อจริงของศิลปินแห่งชาติสองท่านนี้อาจไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตาคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าบอกว่า “เริงชัย”…

เมื่อ “เทศกาลเมืองคานส์” ไม่ใช่ “เทศกาลภาพยนตร์” (สำหรับทุกคน)

https://www.youtube.com/watch?v=3zJ3_JZnH_Q ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ประจำปี 2018 พร้อมกับการก้าวขึ้นคว้ารางวัลปาล์มทองคำของ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” (ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น ที่ผลงานของเขาได้เข้ามาฉายในเมืองไทยโดยต่อเนื่อง) จากหนังเรื่องล่าสุดอย่าง “Shoplifters” อย่างไรก็ตาม เราอยากจะพาคอหนังไปสัมผัสกับมุมมองเชิงวิพากษ์ที่มีต่อเทศกาลหนังเมืองคานส์กันบ้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา “ดินา ยอร์ดาโนวา” ศาสตราจารย์ด้านภาพยนตร์โลกและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ส ได้เขียนบทความหัวข้อ Cannes is not a film festival – it’s a club for insiders…

เรตติ้งล่าสุด “เทพสามฤดู”-ตีความใหม่ “พระอภัยมณี”-รวม “มือระนาด” ช่วย “ป๋อม บอยไทย”

เรตติ้ง "เทพสามฤดู" ทรงๆ แต่ไม่ย่ำแย่ เรตติ้งละคร "เทพสามฤดู" ประจำวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2560 ยังทรงตัวอยู่ในระดับ "เกือบจะ" 6 โดยทั้งวันเสาร์ที่ 18 และอาทิตย์ที่ 19 ละครเรื่องนี้ต่างได้เรตติ้งไป 5.8 เท่ากัน https://www.instagram.com/p/BbtTbNznbjw/?taken-by=samsearn แม้จะไม่ถึงจุดพีกเกิน 7 ดังที่เคยทำได้ แต่ก็ไม่ขี้เหร่มากมาย เพราะคู่แข่งซึ่งออกอากาศในวันเดียวกันที่ชนะ "เทพสามฤดู" ขาดลอยจริงๆ ก็มีแค่ "สุดรักสุดดวงใจ"…

วิธีเสพ “ภาพยนตร์สังคมเก่า” ของสมาชิกกองทัพประชาชนในเขตป่าเทือกเขาบรรทัด

ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ แต่กระนั้น คุณกมลเป็นคนที่พิเศษคนหนึ่งในหมู่พวกเราทีเดียว เพราะเราเพิ่งทราบว่า การมีคุณกมลทำให้เรามีภาพยนตร์สังคมเก่าฉายบนกองทัพได้ โดยเฉพาะภาพยนตร์ฝรั่งไม่ว่าเรื่องอะไร พยัคฆ์ร้าย 007, สปาตาร์คัส, พิภพวานร, ขุมทองแมคเคนน่า, เจ็ดคู่ชู้ชื่น, บุษบาริมทาง เป็นต้น คุณกมลเล่าเรื่องได้หมด พร้อมทั้งอธิบายผู้แสดงและภูมิหลังของเรื่องได้เสร็จ เราจึงเรียกกันเล่นว่าๆ 'กมลเธียเตอร์' ดังนั้น เมื่อเวลาสหายเหงาก็สามารถใช้ "บริการกมลเธียเตอร์" ได้ โดยเฉพาะคุณแก้ว คุณกาย คุณอรุณ ได้ใช้บริการอยู่เสมอ แต่จุดอ่อนของ 'กมลเธียเตอร์' อยู่ที่หนังจีนกำลังภายใน…

“Little People” : ลัทธิความเชื่อ ระบอบเผด็จการ และพลังอำนาจของคนเล็กคนน้อย

(ปรับปรุงจากข้อเขียนที่เผยแพร่ครั้งแรกในเพจเฟซบุ๊ก "คนมองหนัง" เมื่อเดือนธันวาคม 2556) ตอนอ่านนวนิยายเรื่อง "1Q84" ของ "ฮารูกิ มูราคามิ" จบ เมื่อประมาณปี 2555 ผมขบคิดไม่ค่อยแตกว่าไอ้ "Little People" นี่มันมีนัยยะหมายถึงอะไร? จริงๆ กระทั่งตอนนั่งพิมพ์ข้อเขียนชิ้นนี้ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ค่อยได้ติดตามว่ามีใครตีความ/ถกเถียงเกี่ยวกับตัวละครกลุ่มดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง? https://thebookvineyard.files.wordpress.com/2012/02/air-chrysalis.jpg แต่พอมานั่งครุ่นคิดถึง "Little People" ของมูราคามิในช่วงปลายปี 2556 ก็เริ่มมองเห็นอะไรบางอย่างที่น่าสนใจดี ข้อแรก (ซึ่งหลายคนคงเอะใจตั้งแต่ตอนอ่านหนังสือ) คือ…

อ่าน “พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ”

(มติชนสุดสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2560) ในฐานะคนที่อ่านนิยายรางวัลซีไรต์เรื่อง "ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต" ไม่จบเล่ม ผมกลับพบว่าตัวเองรู้สึกเพลิดเพลินและสนุกสนานกับ "พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ" นิยายเล่มที่สองของ "วีรพร นิติประภา" จนสามารถอ่านหนังสือเล่มนี้จบภายในเวลาอันรวดเร็ว (และต้องเข้านอนตอนเช้าถึงสองวันติด) การทดลองเล่นกับภาษาอย่างมีเอกลักษณ์ของวีรพร ยังคงเป็น "ลักษณะเด่น" ของนิยายเรื่องล่าสุด ทว่า ปัจจัยที่ช่วยดึงดูดผมให้อยู่กับ "พุทธศักราชอัสดงฯ" ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เห็นจะเป็นรายละเอียดของเรื่องราวซึ่งมีฉากหลังคือบริบททางการเมืองไทย จากยุค 2475 มาถึงสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเย็น ตลอดจนการประกอบสร้างชีวประวัติของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่มิได้ดำเนินตามแนวทางว่าด้วยชีวิตรุ่งเรือง-ร่วงโรยของ "เจ้าสัว"…

“วัตถุแห่งการขัดขืน” เมื่อสัญลักษณ์การประท้วงทั่วโลกถูกรวบรวมจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

(มติชนสุดสัปดาห์ 1-7 สิงหาคม 2557) ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2558 พิพิธภัณฑ์ "เดอะ วิคตอเรีย แอนด์ อัลเบิร์ต" ที่กรุงลอนดอน จะจัดแสดงนิทรรศการศิลปะที่น่าสนใจอย่างยิ่งนิทรรศการหนึ่ง นิทรรศการดังกล่าวมีชื่อว่า "Disobedient Objects" หรือ "วัตถุแห่งการขัดขืน" โดยนิทรรศการศิลปะครั้งนี้ จะเก็บรวบรวมวัตถุสิ่งของที่ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว เพื่อท้าทาย หรือกระทั่งโค่นล้มระบอบระเบียบดั้งเดิม จากหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่การรณรงค์เรียกร้องให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง…

ความหมายของ “หุ่นล้อการเมือง” ในวัฒนธรรมการประท้วงแบบ “ตะวันตก”

เผยแพร่ครั้งแรกใน "มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับประจำวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เพิ่มเติมภาพประกอบและจัดเรียงย่อหน้าใหม่ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2563 เพื่อรำลึกถึงการจากไปของ "เดวิด เกรเบอร์" (ค.ศ.1961-2020) "หุ่นล้อการเมือง" ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งล่าสุด เพิ่งตกเป็นประเด็นข่าวที่ถูกพูดถึงกันอย่างเกรียวกราว ในฐานะของ "เครื่องมือ" (ร่วมกับป้ายผ้าและกิจกรรมแปรอักษร) ที่คนรุ่นใหม่ใช้ท้าทายอำนาจและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร บทความชิ้นนี้จะไม่ได้กล่าวถึง "หุ่นล้อการเมือง" ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่จะขออนุญาตพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ "ความหมาย"…

อ่าน “เนรเทศ”

(ปรับปรุงแก้ไข จากบทความที่เผยแพร่ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ 30 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2558) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้อ่านนวนิยายความยาว 200 กว่าหน้า เรื่อง “เนรเทศ” ของ “ภู กระดาษ” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน นวนิยายเรื่องนี้ บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวละครชื่อ “สายชน ไซยปัญญา” และคนในครอบครัวของเขา ซึ่งเป็น “ลูกอีสาน” ยุคใหม่ ที่ออกเดินทางไกลไปทำงานยังต่างบ้านต่างเมือง “เนรเทศ” มีสถานการณ์หลักจริงๆ อยู่เพียงสถานการณ์เดียว…