ซีนตลกสุดใน “สังข์ทอง”, เรตติ้งเฉียด 8?, เจ็ดเขยล่าเนื้อ และร่วมอนุโมทนาบุญ “ไพโรจน์”

ซีนตลกสุดของ “สังข์ทอง 2561” ในความคิดเห็นส่วนตัว เท่าที่ตามดู “สังข์ทอง 2561” มาเรื่อยๆ ยอมรับว่าแม้ละครเรื่องนี้จะมีฉากดีๆ ซึ้งๆ ขำๆ ปรากฏขึ้นเป็นระยะ แต่ยังไม่มีซีนไหนที่ผมชอบแบบสุดๆ เลย จนกระทั่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิ.ย. ซึ่งมีฉาก “เขยสอง” หรือ “มังราย” โชว์เล่นกลต่อหน้าท้าวสามนต์และมเหสีมณฑา ต้องยอมรับว่า “มุข-แก๊ก” เรื่อง “สายคล้องแว่นตา” ที่ใส่เข้ามาในฉากนี้ มันเหมาะเหม็งลงตัว และเปี่ยมอารมณ์ขันจริงๆ จะเด็ดแค่ไหน…

“เจ้าเงาะกล้ามสวย 2561”: เมื่อ “ตัวตลกบ้าใบ้” ขอแสดงบทบาท “พระเอกรูป (ร่าง) งาม”

คนส่วนใหญ่ที่รู้เรื่อง “สังข์ทอง” คงจะพอจำแนกได้ออกถึงบทบาทหน้าที่อันแตกต่างกันระหว่าง “พระสังข์” รูปทอง กับ “เจ้าเงาะป่า” บ้าใบ้ตัวดำ กล่าวคือ “พระสังข์” นั้นมีฐานะเป็นพระเอกรูปงาม ส่วน “เจ้าเงาะ” เป็นพระเอกในเวอร์ชั่นตัวตลกผู้มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ทั้งสองตัวละครคือพระเอกในแบบฉบับ “สองคนในร่างเดียว” ซึ่งทำหน้าที่ผิดแผกและแบ่งแยกจากกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ดูเหมือน “เจ้าเงาะ” ในละครจักรๆ วงศ์ๆ “สังข์ทอง 2561” ที่รับบทโดย “ปอนด์ โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์” จะทำให้เส้นแบ่งดังกล่าวพร่าเลือนกว่าแต่ก่อน เนื่องจาก “เจ้าเงาะ” ในเวอร์ชั่นใหม่นั้น…

พ่อ “รจนา” ชื่อ “ท้าวสามนต์” ไม่ใช่ “ท้าวสามล”!

ดูจะมีความเข้าใจผิดกันไม่น้อยว่าตัวละครสำคัญรายหนึ่งใน “สังข์ทอง” คือ พระบิดาของนางรจนานั้นมีชื่อว่า “ท้าวสามล” อย่างไรก็ดี เมื่อตรวจสอบบทละครนอกเรื่อง “สังข์ทอง” จากเว็บไซต์วชิรญาณแล้ว พบว่ามีการระบุถึงชื่อของตัวละครรายนี้ว่า “ท้าวสามนต์” “ท้าวสามนต์” เป็นชื่อที่มีความหมายชัดเจน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานและฉบับมติชนนิยามไว้ตรงกันว่า “สามนต์” เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง “รอบๆ” หรือ “ใกล้เคียง” ส่วน “สามนตราช” (ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อ “ท้าวสามนต์”) นั้นหมายถึง “พระราชาแห่งแคว้นที่ใกล้เคียง” หรือ “เจ้าประเทศราช” น่าสนใจว่าหากพิจารณาจากความหมายของชื่อตัวละคร “ท้าวสามนต์”…

เปิดตัว “หกเขย” ที่หลากหลายทั้ง “ชาติพันธุ์” และ “เพศสภาพ” ใน “สังข์ทอง 2561”

“สังข์ทอง 2561” ดำเนินเรื่องมาถึงตอนที่ “หกเขย” ต้องเข้าร่วมพิธีเสี่ยงมาลัย และต้องปะทะกับ “เจ้าเงาะป่า” บ้าใบ้กันแล้ว https://www.instagram.com/p/Bh_Q5TRHxzN/?hl=en&taken-by=samsearn แน่นอนว่า การปรากฏตัวของ “หกเขย” ย่อมมาพร้อมกับความเฮฮาและสารพัดสารพันมุข ตัวละคร “หกเขย” ในละครเวอร์ชั่นนี้ประกอบไปด้วย เจ้าชายสิงหล (เขยแขก) รับบทโดย ณพบ ประสบลาภ, เจ้าชายมังราย (เขยพม่า) รับบทโดย รัฐศิลป์ นลินธนาพัฒน์, เจ้าชายจิโอวานนี (เขยฝรั่ง) รับบทโดย คริสเตียน…

คลิปเล่าเรื่องย่อ “สังข์ทอง” (ฉบับบทละครนอก) แบบแสบๆ มันๆ กวนๆ สนุกๆ

สำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจวรรณคดีและนิทานไทย คงน่าจะรู้จัก “คุณวิว ชนัญญา” อยู่บ้าง เธอเป็น youtuber และนักเขียนรุ่นใหม่ ที่พยายามนำเอาวรรณคดีและนิทานเก่าแก่ทั้งหลาย มาถ่ายทอดให้เข้าใจง่าย มีอารมณ์ขัน เสริมด้วยข้อสังเกตหรือมุขตลกแสบๆ กวนๆ ร่วมสมัย หนังสือรวมบทความชื่อ “วรรณคดีไทยไดเจสต์” ของคุณวิว นั้นเป็นหนังสือภาษาไทยที่ผมชอบมากๆ เล่มหนึ่ง ในช่วง 2-3 ปีหลัง ปลายปี 2559 คุณวิวเคยทำคลิปความยาวสามตอนจบ บอกเล่าเรื่องราวอย่างย่นย่อของบทละครนอกเรื่อง “สังข์ทอง” ซึ่งเป็นคลิปที่ดู/ฟังสนุกทีเดียว ใครที่เป็นแฟนละครจักรๆ วงศ์ๆ…

ประมวลภาพพิธีบวงสรวง “สังข์ทอง 2561”

วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ไม่มีอะไรมากจ้า แค่นำภาพพิธีบวงสรวงละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง "สังข์ทอง" (2561) มาฝากกัน (จุดน่าสังเกต คือ พิธีบวงสรวงมีขึ้นหลังจากละครเปิดกล้องและแพร่ภาพไปแล้วสามตอน ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเหตุผลเรื่องฤกษ์ยามหรือความสะดวก?) มาชมภาพสวยๆ งามๆ กันเลยดีกว่า https://www.instagram.com/p/BgDfspmH4Fs/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgDuIAPHEib/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgD6jWCHhST/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgEAlhjHzm3/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgEC_FsHGs6/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgEDae2nAji/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgEEEOUHTRe/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgEEbMuHWXV/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgEEsYIH4J_/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgGoLvmH0Rw/?taken-by=lakornthaijukwong https://www.instagram.com/p/BgEZ_q_HRTo/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgF264tg8BF/?taken-by=lakornthaijukwong https://www.instagram.com/p/BgEabFun2Xi/?hl=en&taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BgF2BnagvH3/?taken-by=lakornthaijukwong https://www.instagram.com/p/BgFwLa9AXL9/?taken-by=lakornthaijukwong https://www.instagram.com/p/BgFMUxlHm4q/?taken-by=lakornpurnbanthai_official…

เมื่อ “คู่จิ้น” จาก “สี่ยอดกุมาร” หวนคืนจอใน “สังข์ทอง”

เมื่อครั้งที่ "ดินน้ำลมไฟ/สี่ยอดกุมาร" เวอร์ชั่นปี 2559 ลงจอ หนึ่งในคู่ตัวละครที่โด่งดังมากๆ ก็คือ "เพชรราชกุมาร (รี)" ที่รับบทโดย "เกศรินทร์ น้อยผึ้ง" และ "มัลลิกานารี" ที่รับบทโดย "ธนภัทร ดิษฐ์ไชยวงศ์" เนื่องจากตัวละครสองคนนี้ ซึ่งเป็นหญิงทั้งคู่ เกือบจะหลงรักกัน จนกลายเป็นคู่พระคู่นางในละครเรื่องดังกล่าว https://www.instagram.com/p/Bfs4aKNntJ8/?hl=en&taken-by=samsearn ล่าสุด ใน "สังข์ทอง" (2561) นักแสดงทั้งสองก็ได้หวนมาทำงานร่วมกันอีกหน โดยเกศรินทร์ จะรับบทเป็นนางเอกของเรื่อง คือ…

ตัวละครจักรๆ วงศ์ๆ ตัดพ้อ “เด็กเดี๋ยวมันก็โต เดี๋ยวมันก็ลืมเรื่องเทวดากะนางฟ้า”

ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติปี 2561 ขออนุญาตพาแฟนๆ ละครพื้นบ้านจักรๆ วงศ์ๆ ย้อนกลับไปดูละครเรื่อง "จันทร์ สุริยคาธ" ฉบับปี 2556 ซึ่งโดยส่วนตัว แอดมินเห็นว่าเป็นละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่มีเนื้อหาแปลกใหม่มากที่สุดในทศวรรษ 2550 ฉากที่นำมาให้ดูกัน เกิดขึ้นในตอนที่ 45 ของละคร ซึ่งสองเทวดานิสัยเกเร (ที่สามารถกลับตัวเป็นเทวดาฝ่ายดีในตอนท้ายๆ) อย่าง "พระรำพัด" (รับบทโดยดอน จมูกบาน ผู้ล่วงลับ) และ "พระรำเพย" (รับบทโดยธรรมศักดิ์ สุริยน) กำลังโต้เถียงกัน…

บันทึกสั้นๆ ว่าด้วยละครชาตรี “นางสิบสาม”

"นางสิบสาม" โดย ประดิษฐ ประสาททอง และคณะละครอนัตตา หนึ่ง ดูจากชื่อคล้ายจะเป็นการตีความ​ "นางสิบสอง" ใหม่ แต่จริงๆ แล้ว เนื้อหาและโครงเรื่องของละครชาตรีร่วมสมัยเรื่องนี้ แทบจะเป็น "คนละเรื่อง" กับ "นางสิบสอง" ที่พวกเราคุ้นเคยกัน มีแค่ตัวละคร "นางยักษ์แปลงกาย/นางสิบสาม" เท่านั้นแหละ ที่ไปพ้องกับนิทาน "นางสิบสอง" อยู่รางๆ สอง ขณะเดียวกัน ชื่อละคร "นางสิบสาม" ก็มิได้หมายความว่าตัวละครเอกของละครเรื่องนี้จะเป็นผู้หญิงจำนวน "13 คน" ทว่า…

อีกหนึ่งวิธีเสพ “เทพสามฤดู” ในโลกออนไลน์ – รวมภาพนิ่งหลากอารมณ์จากเหล่านักแสดง

คลิปเล่าเรื่องย่อบนยูทูบ อีกหนึ่งวิธีเสพ "เทพสามฤดู" ในโลกออนไลน์ นอกจากการเผยแพร่ภาพผ่านทางโทรทัศน์, วิดีโอในเว็บไซต์ BUGABOO ของช่อง 7, ไลฟ์สดและคลิปย้อนหลังทางยูทูบ (มากกว่าหนึ่งช่อง) แล้ว อีกหนึ่งวิธีการเสพ "เทพสามฤดู 2560" ที่น่าสนใจในโลกออนไลน์ ก็คือ การรับฟังเนื้อหาล่วงหน้าของละครผ่าน "คลิปเล่าเรื่องย่อ" ช่องยูทูบที่ทำคลิปแนวนี้อย่างจริงจังแข็งขัน คือ ช่องของคุณ Pim ChaYa ข้อได้เปรียบหนึ่งของการทำคลิปประเภทนี้ ก็ได้แก่การที่สามเศียรเลือกสร้าง "เทพสามฤดู 2560" โดยนำเอาบทละครเมื่อปี 2546 มาใช้ถ่ายทำแบบแทบจะช็อตต่อช็อต…