อีกหนึ่งวิธีเสพ “เทพสามฤดู” ในโลกออนไลน์ – รวมภาพนิ่งหลากอารมณ์จากเหล่านักแสดง

คลิปเล่าเรื่องย่อบนยูทูบ อีกหนึ่งวิธีเสพ “เทพสามฤดู” ในโลกออนไลน์

นอกจากการเผยแพร่ภาพผ่านทางโทรทัศน์, วิดีโอในเว็บไซต์ BUGABOO ของช่อง 7, ไลฟ์สดและคลิปย้อนหลังทางยูทูบ (มากกว่าหนึ่งช่อง) แล้ว

อีกหนึ่งวิธีการเสพ “เทพสามฤดู 2560” ที่น่าสนใจในโลกออนไลน์ ก็คือ การรับฟังเนื้อหาล่วงหน้าของละครผ่าน “คลิปเล่าเรื่องย่อ”

ช่องยูทูบที่ทำคลิปแนวนี้อย่างจริงจังแข็งขัน คือ ช่องของคุณ Pim ChaYa

ข้อได้เปรียบหนึ่งของการทำคลิปประเภทนี้ ก็ได้แก่การที่สามเศียรเลือกสร้าง “เทพสามฤดู 2560” โดยนำเอาบทละครเมื่อปี 2546 มาใช้ถ่ายทำแบบแทบจะช็อตต่อช็อต ดังนั้น เรื่องย่อที่เล่าในคลิปจึงมีความแม่นยำค่อนข้างสูง

และจำนวนคนคลิกเข้ามาฟังคลิป (พร้อมดูภาพนิ่งประกอบ) ก็ถือว่าน่าพอใจทีเดียว คือ มีหลักหมื่นวิวอัพ

โดยส่วนตัว เมื่อลองฟังคลิปเหล่านี้ในสื่อใหม่ทางออนไลน์ ผมกลับย้อนนึกไปถึงสื่อเก่าสองชนิด

ชนิดแรก คือ ละครวิทยุ อีกชนิด คือ เรื่องย่อละครทีวี ไม่ว่าจะเป็นที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์หัวสี หรือพิมพ์ขายเป็นหนังสือราคาย่อมเยา แล้ววางจำหน่ายตามแผงหนังสือและร้านเซเว่นฯ

ปรากฏการณ์เช่นนี้ นำไปสู่ความกำกวมบางอย่าง

กล่าวคือ ด้านหนึ่ง มันอาจชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยยังมีลักษณะเป็น “สังคมมุขปาฐะ” (ชอบพูด/ฟัง หรือดู มากกว่า อ่าน/เขียน) ถ้าพิจารณาว่าลักษณะของคลิปเรื่องย่อ “เทพสามฤดู 2560” วางน้ำหนักอยู่บนเรื่องเล่าประหนึ่งละครวิทยุ (ตลอดจนเทปเล่านิทานเด็กเมื่อราว 30 กว่าปีก่อน)

ทว่า อีกด้าน ปรากฏการณ์ข้างต้นก็อาจไม่ได้ถูกตรึงอยู่ตรงทางแยกของคู่ตรงข้ามระหว่างการ “พูด/ฟัง/ดู” กับการ “อ่าน/เขียน” หากพิจารณาว่าคลิปเรื่องย่อ “เทพสามฤดู 2560” มีลักษณะพ้องกับเรื่องย่อละครต่างๆ ในเวอร์ชั่นสิ่งพิมพ์ ไปในคราวเดียวกัน

ถึงที่สุดแล้ว “คลิปเล่าเรี่องย่อเทพสามฤดู” ออนยูทูบ จึงอาจแสดงให้เห็นถึงการไหลวนของเรื่องเล่าแบบเดิมๆ ซึ่งตัวคนดู/คนฟัง/คนอ่าน/ผู้บริโภคก็คล้ายจะพอใจกับลักษณะไหลวนไปมาในวิถีทางเดิมๆ เช่นนั้น

ขออนุญาตปิดท้ายเนื้อหาส่วนนี้ ด้วยคำสัมภาษณ์ที่ผมเคยให้ไว้กับเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งอาจอธิบายถึงข้อสรุปดังกล่าวได้อยู่บ้าง

ขณะเดียวกันคนไทยอาจไม่ได้นิยมเสพความบันเทิงซ้ำๆ ด้วยเหตุผลว่าพวกเขาไม่สนใจเรื่องราว ไม่สนใจเนื้อหาสาระ เพราะการได้ดูมหรสพเรื่องเดิมๆ อาจมี ‘หน้าที่’ บางอย่างของมันอยู่ การดูหนัง ดูละคร ที่มีโครงเรื่องเก่าๆ ซ้ำเดิม หมายความว่าคนดูจะสามารถ ‘คาดการณ์’ เรื่องราวของมหรสพนั้นๆ ได้

“มองในบางแง่ การคาดการณ์เรื่องราวได้อาจแสดงให้เห็นถึงอำนาจ และการเข้าถึงความรู้ของคนดู แทนที่พวกเขาจะกลายเป็นผู้รับเรื่องราวใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงจากผู้ผลิตละคร ในฐานะคนที่ไม่รู้หรือแทบไม่รู้อะไรเลย”

นอกจากนี้ การคาดการณ์เรื่องราวต่างๆ ล่วงหน้าได้ ยังอาจทำให้การชมมหรสพมีรสชาติขึ้น ในกรณีของการชมละครจักรๆ วงศ์ๆ เราอาจนึกถึงภาพกลุ่มคนมาดูละครประเภทนี้หน้าจอทีวี ไปพร้อมๆ กับการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่าเรื่องราวจะดำเนินอย่างไรต่อไป ใครจะรักกับใคร ใครจะอยู่ ใครจะตาย อาจก่อให้เกิดชุมชนของคนดู หรือการสื่อสารในทิศทางอื่นๆ นอกเหนือไปจากการสื่อสารทางเดียวระหว่างภาพในจอกับคนดู ที่ต้องเพ่งสมาธิในการชม ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้มีความสำคัญ แต่มักถูกมองข้ามไป

(ที่มา https://prachatai.com/journal/2017/08/72704)

รวมภาพนิ่งหลากอารมณ์จากเหล่านักแสดง “เทพสามฤดู 2560”

คุยเรื่องเครียดๆ กันไปแล้ว ก็เลยขอปิดท้ายด้วยภาพหลากอิริยาบถ ตั้งแต่น่ารัก เฮฮา จนถึงโศกเศร้า ของบรรดานักแสดงจาก “เทพสามฤดู 2560” ครับ

โดยล่าสุด อินสตาแกรมสามเศียรได้ปล่อยภาพดีๆ มาหลายรูป

นี่คือบางส่วนของรูปภาพเหล่านั้น เชิญรับชมครับ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.