“เจ้ย” ขึ้นปก Film Comment และเหตุผลที่เขาฉาย “No” ให้คนไทยชม

นิตยสารภาพยนตร์ชื่อดังระดับนานาชาติอย่าง “Film Comment” ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 2016 ได้นำภาพผู้กำกับหนังชาวไทย “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” มาขึ้นหน้าปก

โดยในเล่ม “วิโอเล็ต ลุคคา” บรรณาธิการดิจิทัลของนิตยสารเล่มนี้ ได้เขียนรายงานขนาดยาวเกี่ยวกับภาพยนตร์ “รักที่ขอนแก่น” ของอภิชาติพงศ์ ภายใต้ชื่อว่า “Dream State” (สภาวะแห่งความฝัน)

อันประกอบไปด้วยบทความปริทัศน์ว่าด้วยหนังเรื่องนี้ และบทสัมภาษณ์คนไทยผู้เป็นเจ้าของผลงาน

ในคำถามแรกของบทสนทนา ลุคคาได้ถามอภิชาติพงศ์ ถึงเหตุผลที่เขาเพิ่งนำเอาภาพยนตร์ชิลีเรื่อง “No” ซึ่งเล่าถึงกระบวนการรณรงค์ที่นำไปสู่การลงคะแนนเสียง “โหวต โน” ล้มล้างระบอบการปกครองของนายพลออกุสโต ปีโนเชต์ ในประเทศชิลี มาฉายให้คนดูหนังชาวไทยได้รับชม

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

joe film comment

ไม่กี่วันก่อนหน้าการสัมภาษณ์ครั้งนี้ คุณเพิ่งนำภาพยนตร์ชิลีเรื่อง “No” ผลงานของ “พาโบล ลาเรน” ไปจัดฉายที่เทศกาลภาพยนตร์คัดสรร Cinema Diverse ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทำไมคุณถึงเลือกหนังเรื่องนั้นไปฉาย?

มันเป็นกระจกเงาที่เหมาะสมกับประเทศไทยแบบสุดๆ นอกจากนี้ มันยังเกือบจะเป็นเรื่องแฟนตาซีสุดเหลือเชื่อด้วย เพราะเรา (คนไทย) ไม่ได้รับโอกาสให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งใดๆ ตลอดปีที่ผ่านมา

จริงๆ แล้ว ผมก็เป็นหนึ่งในคนที่เดินทางไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด แต่หลังจากนั้น ก็เกิดเหตุรัฐประหาร คะแนนเสียงของผมจึงหมดความหมาย

ภาพยนตร์เรื่อง “No” ถือเป็นงานอันยอดเยี่ยมที่ช่วยจุดประกายความหวังให้แก่พวกเราว่า “สักวันหนึ่ง เราจะได้เจอสถานการณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นในชิลี”

สำหรับกรณีของชิลียุคปีโนเชต์ ประชาชนที่นั่นต้องรอคอยยาวนานถึง 16 ปี กว่าจะได้ออกไปเลือกตั้ง, 16 ปี เป็นเวลาที่นานมากพอ ซึ่งจะทำให้หลายๆ คน “ลืม”

ในกรณีของประเทศไทยยุคปัจจุบัน อะไรต่อมิอะไรมันเพิ่งผ่านไปแค่ 2 ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงยังต้องเผชิญหน้ากับการถูกละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ในลักษณะนี้ไปอีกนาน

มันอาจต้องใช้เวลามากถึง 10 หรือ 15 ปี กว่าที่เราคนไทยจะได้ระบอบประชาธิปไตยแท้จริงกลับคืนมา ถึงเวลานั้น ผมอาจไม่ได้ทำหนังอีกแล้ว แต่สำหรับผู้ชมจำนวนมากที่เข้าไปดูหนังเรื่อง “No” ผมต้องการจะสื่อสารให้พวกเขาตระหนักว่า

“อย่าลืมนะ ในอนาคต พวกเราจะสามารถสร้างหนังทำนองนี้ขึ้นมาได้ในประเทศของเรา”

ติดตามอ่านงานแปลบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ฉบับยาว (แต่ไม่ใช่ฉบับเต็ม) ได้ที่มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 11-17 มีนาคม 2559

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.