คนมองหนัง Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ” 2 Apr 20202 Apr 2020 (เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…
คนมองหนัง “The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น 30 Mar 202030 Mar 2020 นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…