เฉลย! “สุวิชา” ผู้เขียนบท “นางสิบสอง 2562” คือมือเก๋า “รัมภา ภิรมย์ภักดี”

เพิ่งเสิร์ชเจอบทสัมภาษณ์ ชีวิต-แนวคิดการเขียนบทละครจักรๆ วงศ์ๆ ของ “รัมภา ภิรมย์ภักดี” ต้นตอวลี “แม่ไม่ปลื้ม” โดย กันตพงศ์ ก้อนนาค ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2562 นี่คือบทสัมภาษณ์ “ครูตุ้ม รัมภา ภิรมย์ภักดี” ว่าด้วยงานเขียนบทโทรทัศน์ละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่เข้มข้นจริงจังชิ้นหนึ่ง และทำให้ได้รับทราบข้อมูลชัวร์ๆ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าผู้เขียนบท “นางสิบสอง 2562” ผ่านนามปากกา “สุวิชา” ก็คือ…

2 ความเท่ห์ใน “เทพสามฤดู 60”: “อำมาตย์อาจอง” กักตัวฝึกพระเวทย์-“สามศรี” มี “สามร่าง”

"เทพสามฤดู 2560" ตอนที่ 41 ประจำวันเสาร์ที่ 18 พ.ย. 2560 นั้นมีเนื้อหาหรือรายละเอียดหลายจุดน่าสนใจมากๆ ครับ จุดแรก https://youtu.be/XLA50ZPV1wk?t=5m10s ดังที่เคยพูดถึงไว้แล้วว่า ดูเหมือนทางสามเศียรจะพยายามหาทางคลี่คลายปัญหาที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของนักแสดงอาวุโส "กิตติ ดัสกร" อย่างละเอียดลออพอสมควร เริ่มจากการเกลี่ยบทของ "อำมาตย์อาจอง" (ซึ่งแสดงโดยกิตติ) ไปให้ "หมื่นมิตร" ตัวละครที่เป็นลูกน้องคนสนิทของท่านอำมาตย์ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ทางผู้กำกับ-ผู้เขียนบท ได้มีวิธีจัดการกับการหายตัวไปของ "อำมาตย์อาจอง"…

พาไปสัมผัส “พระราหู” เวอร์ชั่นอ่อนแอ ใน “สามฤดู” ฉบับวัดเกาะ

"พระราหู" เวอร์ชั่นอ่อนแอเพราะรักเธอมากกว่า "จะกล่าวถึงราหูภูวนราถ เมื่อไสยาศน์ลืมองค์หลงหลับใหล ครั้งรุ่งแจ้งสร่างแสงอะโณไทย เธอค่อยได้กลับจิตร์ฟื้นนิทรา ผวาสอดกอดเจ้าเยาวเรศ ผิดสังเกตไม่ยลยอดเสน่หา พัดระฆังข้างที่ศรีไสยา ก็เปล่าตาไม่เห็นให้เย็นทรวง โอ้ตัวเราคราวนี้ก็มีทุกข์ บังเกิดยุคยากไร้เปนใหญ่หลวง เสียเจ้ายอดกัลยาสุดาดวง ดังใครล้วงเอาชีวาตมาฟาดฟัน พัดชีวากับระฆังดังชีวิต ก็มาปลิดจากอุราเพียงอาสัญ โอ้ครั้งนี้น่าที่ถึงชีวัน เสียสำคัญของรักภักคินี ให้แค้นจิตร์เกิดเปนชายเสียดายชาติ์ มาพลั้งพลาดสาระพัดจะบัดสี ต้องเสียชื่อฦาทั่วธรณี มาเสียทีเสียน้องในห้องนอน เสียของรักรักษาไว้หาได้ อยู่ไปใยอายชนให้คนข้อน พระทุ่มทอดกายาลงอาวรณ์ ฤไทยถอนซ้อนซบสลบไป" https://www.instagram.com/p/BY-wUDKHAoO/?taken-by=samsearn ตัดตอนคำกลอนส่วนนี้มาจากวรรณกรรมวัดเกาะ "สามฤดู" เล่มที่…

ไขที่มาชื่อ “สามศรี” – ตัวละครรายนี้ใน “นิทานวัดเกาะ” แตกต่างกับใน “ละครทีวี” อย่างไร?

กำเนิด "สามศรี" ในวรรณกรรมวัดเกาะ สำหรับคนที่ดูละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่น 2546 และ 2560 หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนอาจนึกคิดอยู่ในใจ ก็คือ ทำไม "สามศรี/สามสี" ต้องมีชื่อว่า "สามศรี/สามสี"? คำถามข้อนี้เหมือนจะไม่ถูกอธิบายเอาไว้ในละคร แต่เมื่อย้อนไปอ่าน "สามฤดู" ฉบับวรรณกรรมวัดเกาะ ก็จะพบสาเหตุเบื้องหลังอันกระจ่างชัดของนามดังกล่าว ในนิทานวัดเกาะ "สามศรี" เป็นบุตรของนางสุทัศน์ (ในละครเปลี่ยนชื่อเป็น "ทัศนีย์") หนึ่งในมเหสีของท้าวตรีภพ ที่ใส่ร้าย "ตัวละครสามฤดู" และแม่จนต้องถูกขับออกจากเมือง…

เรตติ้งล่าสุด “เทพสามฤดู” – รู้จักผู้ให้กำเนิด “วรรณกรรมวัดเกาะ” ต้นธารละครจักรๆ วงศ์ๆ

เรตติ้ง "เทพสามฤดู 2560" ยังไม่แตะ 7 หลังจากวนเวียนกับตัวเลขเรตติ้ง 6.8-6.9 ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม พอขึ้นต้นเดือนกันยายน ผลการวัดเรตติ้งความนิยมของละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" ประจำวันที่ 2 และ 3 กันยายน 2549 ก็ยังผงาดขึ้นไม่ถึง 7 โดยวันเสาร์ที่ 2 กันยายน ละครเรื่องนี้ได้เรตติ้งไป 6.2 ส่วนวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน ได้เรตติ้ง 6.7…

“กระหัง”: จากข่าวแปลกที่ “บุรีรัมย์” ย้อนไปยัง “ไอ้งั่ง เทพสามฤดู” และ “นิทานวัดเกาะ”

(ที่มา “ผีกระหัง” : จากข่าวแปลกที่ “บุรีรัมย์” ย้อนไปยัง “ไอ้งั่ง” ใน “เทพสามฤดู” และ “นิทานวัดเกาะ” มติชนสุดสัปดาห์ 21-27 กรกฎาคม 2560) เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน หลายสำนักข่าว ทั้งสิ่งพิมพ์ ทีวี และออนไลน์ ต่างเล่นข่าวชาวบ้านหนองเสม็ด อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ พบคน/สิ่งของปริศนาบินผ่านยอดไม้ยามค่ำคืน โดยชาวบ้านจำนวนมากเชื่อกันว่าคน/สิ่งของดังกล่าวคือ "ผีกระหัง" พ้นไปจากการรายงานข่าวเชิงปรากฏการณ์ "แปลกๆ" เกี่ยวกับความเชื่อว่ามี "ผีกระหัง"…

เรตติ้ง “เทพสามฤดู” ตอน 3-4 รวมเกร็ด “กระหัง” จากเว็บข่าว-กฎหมายตราสามดวง-นิทานวัดเกาะ

เรตติ้ง "เทพสามฤดู" ตอน 3-4 ยังเกิน 5 ผลการสำรวจเรตติ้งยอดผู้ชมของละครโทรทัศน์แนวจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง "เทพสามฤดู" เวอร์ชั่น 2560 ประจำวันที่ 8-9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ยังคงมีมาตรฐานใกล้เคียงกับละครที่ออกอากาศสองตอนแรกในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านั้น โดยในตอนที่ 3 และ 4 "เทพสามฤดู 2560" คว้าเรตติ้งไป 5.2 และ 5.4 ตามลำดับ ต่ำกว่าตัวเลข 5.7 ของสอนตอนแรกเล็กน้อย…

โลกของจันทคาธและสุริยคาธ (1)

ประพาศ ศกุนตนาค และ นันทนา วีระชน หลายคนคงรู้จัก พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค ในฐานะผู้รับหน้าที่อ่านประกาศคณะรัฐประหารหลายครั้ง ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า พล.ต.ประพาศ นั้น "รับจ็อบ" อีกประเภทหนึ่ง มาอย่างต่อเนื่องยาวนานเช่นกัน จ็อบดังกล่าว ก็คือ การเป็นคนขับเสภาประกอบละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ปัจจุบันแพร่ภาพในทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ ทางช่องเจ็ดสี ทว่าละครจักรๆ วงศ์ๆ ช่อง 7 ที่อยู่ภายใต้การผลิตของบริษัทสามเศียร ในเครือดาราวิดีโอ ก็ไม่ได้มีเสภาประกอบละครตามจารีตดั้งเดิมไปเสียทุกเรื่อง อย่างน้อย…