เรตติ้งล่าสุด “เทพสามฤดู” – รู้จักผู้ให้กำเนิด “วรรณกรรมวัดเกาะ” ต้นธารละครจักรๆ วงศ์ๆ

เรตติ้ง “เทพสามฤดู 2560” ยังไม่แตะ 7

หลังจากวนเวียนกับตัวเลขเรตติ้ง 6.8-6.9 ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม

พอขึ้นต้นเดือนกันยายน ผลการวัดเรตติ้งความนิยมของละครจักรๆ วงศ์ๆ “เทพสามฤดู” ประจำวันที่ 2 และ 3 กันยายน 2549 ก็ยังผงาดขึ้นไม่ถึง 7

6.7
ที่มา https://www.instagram.com/samsearn/

โดยวันเสาร์ที่ 2 กันยายน ละครเรื่องนี้ได้เรตติ้งไป 6.2 ส่วนวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน ได้เรตติ้ง 6.7 ซึ่งถ้าพิจารณาภาพรวมแล้ว ถือว่ากระแสแผ่วลงจากช่วงครึ่งหลังของเดือนสิงหาคมเล็กน้อย

ต้องจับตาดูกันว่า “เทพสามฤดู” จะกลับมาเร่งสปีด จนผลักดันเรตติ้งของตัวเองให้พุ่งเกิน 7 ได้หรือไม่? เมื่อไหร่?

“หมอสมิท” แพทย์ฝรั่งผู้ให้กำเนิด “วรรณกรรมวัดเกาะ” ต้นธารละครจักรๆ วงศ์ๆ ไทย

อยากชวนไปอ่านบทความเนื้อหาดีๆ จากเว็บศิลปวัฒนธรรมตามลิงก์ด้านล่างครับ

บทความชิ้นนี้ชื่อ “หมอสมิทกับนิยายจักรๆ วงศ์ๆ และสุนทรภู่” เป็นการสรุปความมาจากบทความชิ้นยาวของคุณสุรพงษ์ จันทร์เกษมพงษ์ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี 2549

เป็นที่ทราบกันดีว่าละครโทรทัศน์จักรๆ วงศ์ๆ นั้น ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มาจาก “วรรณกรรมวัดเกาะ” หรือ “นิทานวัดเกาะ”

หมอสมิท
ที่มา https://www.silpa-mag.com

แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบกันว่า เมื่อครั้งที่เทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มเผยแพร่เข้ามาสู่สยาม ผู้ที่ทำให้หนังสือนิทานคำกลอนจักรๆ วงศ์ๆ กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในท้องตลาด ก็คือ นายแพทย์แซมมวล จอห์น สมิท หรือ “หมอสมิท” ซึ่งมีกิจการโรงพิมพ์เป็นของตนเอง

ต่อมา เมื่อหมอสมิทถูกฟ้องร้องและสั่งห้ามไม่ให้พิมพ์หนังสือนิทานคำกลอน ก็ได้มีโรงพิมพ์อีกหลายแห่งเข้ามารับช่วงการพิมพ์หนังสือแนวนี้ต่อ

หนึ่งในนั้น คือ “โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ” ที่ตั้งอยู่หน้าวัดสัมพันธวงศ์หรือวัดเกาะ จนถูกเรียกขานกันติดปากว่า “โรงพิมพ์วัดเกาะ” ด้วยเหตุนี้ หนังสือนิทานคำกลอนจักรๆ วงศ์ๆ ที่ถูกจัดพิมพ์เผยแพร่โดยโรงพิมพ์ดังกล่าว จึงถูกขนานนามว่า “นิทานวัดเกาะ” ตามไปด้วย

“เรื่องที่หมอสมิทนำมาพิมพ์นั้นเป็นหนังสือนิทานกลอนในยุคแรกไม่ว่าจะเป็น โคบุตร สิงหไกรภพ หรือแม้แต่พระอภัยมณี คือเรื่องที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วแต่เดิมจากลักษณะอื่นๆ เช่น การแสดง กลอนสวด ละครนอก การร้องรำทำเพลง ตลอดจนเรื่องเล่าในแบบต่างๆ ในโลกของวรรณกรรมมุขปาฐะ หมอสมิทเพียงถ่ายโอนเรื่องเล่าอย่างเดียวกันจากสื่อจารีตเดิมไปสู่การพิมพ์ เฉกเช่นในปัจจุบันที่เปลี่ยนจากวรรณกรรมไปสู่ละครโทรทัศน์นั่นเอง”

คลิกอ่านบทความต้นทางได้ที่นี่

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.