เรตติ้ง “เทพสามฤดู” แรงทะลุ 6 และอิทธิพลซีรีส์มหากาพย์อินเดียต่อจักรๆ วงศ์ๆ ไทย

เรตติ้ง “เทพสามฤดู” ทะลุ 6 แล้วจ้า!!!

ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อินสตาแกรมของบริษัทสามเศียรได้รายงานผลการวัดเรตติ้งจำนวนผู้ชมละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง “เทพสามฤดู” ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม

เทพสามฤดูทะลุ 6

ผลปรากฏว่าในวันเสาร์ที่ 15 ละครเรื่องนี้คว้าเรตติ้งไป 6.3 ขณะที่วันอาทิตย์ที่ 16 เรตติ้งลดลงมาเล็กน้อยเป็น 6.2

นี่ถือเป็นสัปดาห์ดีๆ ที่ “เทพสามฤดู 2560” มีเรตติ้งทะลุหลัก 6 เป็นครั้งแรก และเป็นสัปดาห์ที่ละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องนี้ได้รับความนิยมสูงสุดหลังจากแพร่ภาพมาได้ 6 ตอน

เมื่อพิจารณาสถิติของเอจีบี นีลเซ่น โดยละเอียด พบว่าระหว่างวันที่ 10-16 กรกฎาคม 2560 “เทพสามฤดู” นับเป็นรายการยอดนิยมอันดับสามของช่อง 7 มีเรตติ้งเป็นรองเพียงละครหลังข่าวค่ำวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เรื่อง “เหนี่ยวหัวใจสุดไกปืน” ที่ได้เรตติ้งไป 7.9 และละครเย็นวันธรรมดาเรื่อง “มือปืนพ่อลูกติด” ที่ได้เรตติ้งไป 6.9

เรตติ้ง

เมื่อเปรียบเทียบกับอีกหนึ่งสถานีใหญ่อย่างช่อง 3 รายการที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่องดังกล่าว คือ การถ่ายทอดสดวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ซึ่งได้เรตติ้งไป 3.8 ส่วนละครหลังข่าวค่ำช่วงวันหยุดชุด “เดอะ คิวปิดส์” นั้น ได้เรตติ้งไป 3.7

เรตติ้ง 2

คู่แข่งสำคัญจริงๆ ของช่อง 7 ณ ปัจจุบัน จึงได้แก่ช่องเวิร์คพอยท์ ซึ่งแม้รายการยอดนิยมสูงสุดของช่องนี้อย่าง “The Mask Singer 2” จะเริ่มอ่อนกระแสลงไป แต่ยังได้รับเรตติ้งสูงถึงประมาณ 7.1 และ “หน้ากากนักร้อง” ก็ถือเป็นรายการเดียวของเวิร์คพอยท์ที่มีเรตติ้งเหนือกว่า “เทพสามฤดู” เพราะรายการยอดนิยมอันดับสองของช่อง คือ “I Can See Your Voice” ได้เรตติ้งไปราวๆ 5.7 เท่านั้น

อิทธิพลของซีรีส์มหากาพย์อินเดียต่อจักรๆ วงศ์ๆ ไทย

พร้อมๆ กับการได้รับความนิยมของ “เทพสามฤดู 2560” ซีรีส์มหากาพย์จักรๆ วงศ์ๆ จากอินเดีย ก็ยังไปได้สวยในสมรภูมิทีวีดิจิตอลไทย

โดย “สีดาราม ศึกรักมหาลงกา” ยังคงครองตำแหน่งรายการยอดนิยมอันดับหนึ่งของช่อง 8 ด้วยเรตติ้งประมาณ 3.3 

ส่วน “รามเกียรติ์” ที่ไบรท์ทีวี ก็มีสถานะเป็นโปรแกรมยอดนิยมอันดับหนึ่งของช่องเช่นกัน โดยมีเรตติ้งราว 0.4 

ปิดท้ายด้วย “อโศกมหาราช” ที่เป็นรายการยอดนิยมอันดับสองของช่อง 3 แฟมิลี่ โดยได้รับเรตติ้งไปประมาณ 0.7

ไม่แน่ใจว่า บรรดาผู้ชมละคร “เทพสามฤดู 2560” จะรู้สึกเหมือนผมไหมว่าละครฉบับนี้นั้นมีแนวโน้มจะได้รับอิทธิพลของซีรีส์ฝั่งอินเดียค่อนข้างสูง

(โดยไม่ต้องพูดถึงเรื่องชื่อเทวดาหรือระบบจักรวาลในละครจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียแน่นอนอยู่แล้ว)

เมื่อคราวผลิต “เทพสามฤดู 2546” ดูเหมือนทางสามเศียรจะพยายามผสมผสานอิทธิพลของ “เทพปกรณัมนานาชาติ” เข้ากับเรื่องราวพื้นบ้านแบบไทยๆ

นอกจากอาวุธ “พัดชีวิต” ที่มีอยู่ในนิทานเวอร์ชั่นดั้งเดิม ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก “ไซอิ๋ว” แล้ว ห่วงรัดศีรษะที่ใช้ปราบพยศ “เจ้างั่ง กระหังป่า” ในเวอร์ชั่นดังกล่าว ก็ทำให้หลายคนนึกถึงวรรณกรรมจีนเรื่องเดียวกัน ขณะที่จุดตายของตัวร้ายชื่อ “สามสี” ก็ดันไปพ้องกับ “อคิลลีส” ในเทพนิยายกรีกอย่างร้ายกาจ

มาถึง “เทพสามฤดู 2560” หากดูเฉพาะละคร 6 ตอนแรก คล้ายกับว่าอิทธิพลแบบอินเดียจะปรากฏให้เห็นเด่นชัดพอสมควร

 

ตั้งแต่ฉาก “ศิวนาฏราช” ของ “องค์อิศรา” มาจนถึงการกำหนดบทพูด “อาร้าย อาราย” ให้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของเทวดาอย่าง “มาตุลีเทพบุตร” ซึ่งชี้ชวนให้นึกถึงตัวละคร “พระนารทฤาษี” ผู้มีบทพูดประจำตัวอันแสนติดหูว่า “นาร้ายณ์ นารายณ์” ในซีรีส์เทพปกรณัมอินเดียหลายๆ เรื่อง

ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าอิทธิพลของซีรีส์มหากาพย์อินเดียรูปแบบอื่นๆ จะปรากฏใน “เทพสามฤดู” เวอร์ชั่นล่าสุดอีกหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน?

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.