สนทนากับคนทำหนัง “เพื่อนบ้าน”- ลาฟ ดิแอซ และ เดวี่ ชู

-ในท้องเรื่องของหนังเรื่องนี้ จุดประสงค์ของการปฏิวัติหรือความหมายแท้จริงของเสรีภาพ คือ การปลดแอกตนเองออกจากเจ้าอาณานิคมสเปน ถ้าปัจจุบันเรายังต้องการการปฏิวัติอยู่ อยากทราบว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของมัน?

เรื่องราวในหนังมันเป็นแค่พื้นผิว แต่ในความเป็นจริง พวกเรายังต้องทำงานให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทุกๆ ชาติ ก็เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้น ตอนนี้ พวกเรามีเสรีภาพกันจริงๆ ไหมล่ะ? นี่คือคำถาม

ปัจจุบันนี้ เราย้อนกลับไปมีประธานาธิบดีที่เป็นนักปลุกระดม นี่คือสิ่งที่ผมถ่ายทอดไว้ในหนัง เป็นฉากผู้คนเดินหลงวนไปมารอบต้นไม้ นั่นคือวิธีเลือกผู้นำของพวกเขา (ประชาชน) คุณคิดว่าตอนนี้มันมีเสรีภาพจริงไหมล่ะ?

ประชาชนเลือกผู้นำคนนี้ เพราะเชื่อว่าตนเองจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชาติ พวกเขาเคยถูกกีดกันออกไปเป็นคนชายขอบ แต่ “ดูแตร์เต” เป็นนักปลุกระดมที่เดินไปบอกคนเหล่านั้นว่า ถ้าคุณเลือกผม คุณจะได้กลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาติ นี่คือวิธีปลุกระดม

ดังนั้น ประเด็นการปลดแอกตนเองหรือการได้มาซึ่งเสรีภาพ มันจึงกว้างขวางมาก

คลิกอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่เว็บไซต์มติชนออนไลน์

-ถ้าอย่างนั้น หนึ่งในจุดหมายสำคัญของหนังเรื่องนี้ คือ การวิพากษ์ประเด็นชนชั้นในสังคมกัมพูชาใช่หรือไม่

หนังของผมไม่ได้มุ่งวิพากษ์ประเด็นชนชั้น เพราะน่าสนใจว่าชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันสองกลุ่มภายในหนัง ไม่ได้ปะทะกันจริงๆ

แน่นอนว่าตัวละครชนชั้นแรงงานในหนังนั้นมีความรู้สึกริษยาต่อตัวละครคนชั้นกลาง แต่ขณะเดียวกัน คุณอาจรู้สึกอย่างที่ผมรู้สึกว่า แม้จะมีความริษยาระหว่างกันในประเทศของเรา ซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดและความเกลียดชังในบางครั้ง แต่มันน่าแปลกว่า แม้จะมีความริษยากันโดยปกติ ทว่า คุณยังรู้สึกได้ถึง “ความปรารถนา” (ที่คนทุกกลุ่มมีร่วมกัน) นี่คือสิ่งที่ผมอยากเล่า

คนรุ่นใหม่ทุกคนในกัมพูชาต่างปรารถนาจะมีไอโฟน 6 ผมมีเพื่อนหลายคนในกัมพูชาที่ไม่มีเงิน บางครั้งก็ไม่มีเงินเดือน แต่เมื่อพวกเขามีงานทำ ได้ค่าจ้างราว 800 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ใช้ชีวิตไปได้สบายๆ อีก 4 เดือน พวกเขากลับนำเงินก้อนดังกล่าวไปซื้อไอโฟน 6

ตอนแรก ผมสงสัยว่าทำไมพวกเขาตัดสินใจอย่างนั้น? ต่อมาผมจึงเข้าใจว่ามันมีฐานคิดที่ต่างกัน เพราะสำหรับพวกเขา การได้ครอบครองไอโฟน 6 นั้นสำคัญกว่าการยังชีพไปได้อีก 4 เดือน

นี่ทำให้คุณเข้าใจอะไรหลายอย่าง ว่าทำไมเทคโนโลยี มอเตอร์ไซค์ การมีแฟน ถึงเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเรื่องความสุข ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน แล้วทุกคนก็เชื่อตามๆ กันไป

ดังนั้น มากกว่าการพูดเรื่องชนชั้น ผมจึงคิดว่าหนังเรื่องนี้อาจพยายามพูดถึงระบบทุนนิยม ไม่ใช่เฉพาะในสังคมกัมพูชา แต่ในที่อื่นๆ ด้วย

ความฝันในระบบทุนนิยมเป็นฝันอันเย้ายวนใจ ซึ่งท้ายสุด มันก็ดึงดูดทุกคนเข้าไปอยู่ในโลกใบนั้น โดยคุณอาจสูญเสียตัวตนในระหว่างทาง

หรือคุณอาจเริ่มต้นมีความฝันเหมือนเรื่องราวในหนัง ที่ตัวละคร “น้องชาย” เดินทางเข้ามาในเมืองหลวง ก่อนจะได้พบกับ “พี่ชาย” และถูกบ่มเพาะให้มีแนวคิดเรื่องความทะเยอทะยาน, การเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคม และการมีความฝัน

มันอาจเป็นดีเอ็นเอของระบบทุนนิยม ที่เมื่อคุณเริ่มเดินทางเข้าไปในโลกใบนั้น คุณจะหยุดตัวเองไม่ได้ เพราะความอยากในใจคุณไม่อาจหยุดยั้งลงได้ ตรงกันข้าม คุณกลับต้องการสิ่งต่างๆ มากขึ้นๆ นี่คือนิยามขั้นพื้นฐานของทุนนิยม

เราสามารถเห็นชะตากรรมเช่นนั้นได้จากหนังเรื่องนี้ เมื่อพี่ชายขายฝันเรื่องชีวิตชนชั้นกลางในจินตนาการให้น้องชาย แต่ตัวพี่ชายเองกลับไม่พอใจอยู่แค่นั้น เขาฝันไกลอีกระดับ ถึงการเดินทางไปอเมริกา น้องชายจึงรู้สึกช็อก เพราะในขณะที่ตนเองเริ่มเชื่อใน “ความฝันแบบหนึ่ง” ลำดับชั้นของ “ความฝัน” กลับขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ในหนังเรื่องนี้ ผมจึงต้องการนำเสนอถึงเรื่องความอยากที่ไม่เคยพอ และไม่มีทางจะพอ

คลิกอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่เว็บไซต์มติชนออนไลน์

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.