“สี่ยอดกุมาร 2559” จะมีตัวละครนำเป็น “หญิงรักหญิง” หรือไม่???

จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในละครจักรๆ วงศ์ๆ “สี่ยอดกุมาร” หรือไม่?

เมื่อเพจเฟซบุ๊ก Lakornthaiboran ละครพื้นบ้านไทย จุดประเด็นขึ้นมาด้วยรูปภาพและข้อความว่า

หญิงรักหญิง สี่ยอดกุมาร

เอ๊ะ..อะไรยังไงคู่นี้… 5555+ สาววายเตรียมฟินได้แล้ว

ช่องอื่นมีชาย-ชาย ช่อง 7 จัดบ้าง สามเศียร หญิง-หญิง

แต่หญิงแท้อย่างมัลลิกานารีไม่ทราบนิว่าเพชรราชกุมารเป็นหญิงไม่ใช่ผู้ชายอย่างที่นางคิด..อะไรจะเกิดขึ้นกับคู่นี้

ความอลวนปนเปของคู่นี้จะดำเนินไปแบบไหน

ฝากติดตามด้วยครับ สี่ยอดกุมาร

ขอบคุณภาพน้องปูเป้ Kessarin Noiphueng

เรื่องของเรื่องก็คือ สี่ยอดกุมาร 2559 นั้นเติบโตเป็นหนุ่มสาวแล้ว และ “เพชรราชกุมาร” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น “หญิง” (อย่างน้อยก็ในทางกายภาพ) หากแต่งตัวเป็น “ชาย” นั้น ถูกจับเข้าไปในเมืองยักษ์ มิหนำซ้ำ ยังตกเป็นที่หลงใหลหมายปองของธิดาพญายักษ์อย่าง “มัลลิกานารี”

ซึ่งสร้างกระแสร้อนแรงในหมู่แฟนละครจักรๆ วงศ์ๆ ได้ไม่น้อย พร้อมคำถามคลางแคลงใจว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง “เพชรราชกุมาร” และ “มัลลิกานารี” จะถูกผลักไปจนสุดทางแค่ไหน? และ “สี่ยอดกุมาร 2559” จะเป็นละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องแรก ที่นำเสนอประเด็นเรื่อง “เพศทางเลือก” อย่างปกติสามัญหรือไม่?

ต่อมา แอดมินเพจ Lakornthaiboran ละครพื้นบ้านไทย ได้ชี้แจงกรณีนี้เพิ่มเติม ในสองประเด็น

ข้อแรก คือการยืนยันว่า “เพชรราชกุมาร” นั้นเป็น “ผู้หญิง” ในทางกายภาพแน่ๆ (มิใช่ตัวละครชาย ที่สวมบทบาทโดยนักแสดงหญิง)

ข้อสอง “เพชรราชกุมาร” จะได้คู่เป็นชายหรือหญิง?

คำถามข้อนี้ แอดมินเพจดังกล่าวก็ยังไม่ทราบคำตอบเช่นกัน โดยระบุว่า “สี่ยอดกุมาร” และ “ดินน้ำลมไฟ” เวอร์ชั่นเดิมๆ ไม่เคยแตะประเด็นนี้มาก่อน

ข้อสังเกตบล็อกคนมองหนัง

ละคร “ดินน้ำลมไฟ” ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับ “สี่ยอดกุมาร” และใช้โครงเรื่องของนิทาน “จำปาสี่ต้น” เหมือนกันนั้น เคยถูกสร้างมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2534 และก็มีตัวละครเอกหนึ่งคนเป็นผู้หญิงเหมือนกับ “ดินน้ำลมไฟ/สี่ยอดกุมาร” เวอร์ชั่นปัจจุบัน (เพียงแต่ในเวอร์ชั่นก่อน เด็กผู้หญิงเป็นตัวแทนของธาตุน้ำ แต่ในเวอร์ชั่นนี้ เด็กผู้หญิงเป็นตัวแทนของธาตุไฟ)

ผมไม่ได้ดูละครเรื่องนั้น เลยไม่ทราบว่า ตัวละครหญิงหนึ่งในตัวแทนธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อ 25 ปีก่อน เติบโตขึ้นมามีความรักหรือไม่? และความรักของเธอเป็นเช่นไร?

อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่า ผู้เขียนบทละครจักรๆ วงศ์ๆ ณ พ.ศ.นี้ คือ “นันทนา วีระชน” ซึ่งหนึ่งในนิยายคลาสสิคยุคท้ายๆ ของนันทนา ก็ได้แก่ “ดงดอกเหมย” ที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน “พหุนิยมทางวัฒนธรรม” ทั้งในประเด็นชาติพันธุ์และเพศสภาพ ของผู้เขียน

ที่น่าสนใจ คือ หนึ่งในตัวละครนำของนิยายดงดอกเหมยนั้น เปิดเผยตนเองว่าเป็น “หญิงรักหญิง” อย่างชัดแจ้ง (ในเวอร์ชั่นละครโทรทัศน์ รับบทโดย “อ้อม สุนิสา”)

โดยมิได้ถูกประณามเบียดขับจากตัวละครรายอื่นๆ แต่อย่างใด

อ้อม ดงดอกเหมย

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.