คนมองหนัง… ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน 6 Oct 20206 Oct 2020 (หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…
จักรๆ วงศ์ๆ วิทยาลัย อำลา “เจ้าเงาะ” – เปิดตัว “พยนตรา” 26 Oct 201826 Oct 2018 “เงาะ” ในสังคมไทย จาก “สังข์ทอง” ถึง “คนัง” https://www.instagram.com/p/BpYr64bDvVU/?taken-by=pond_ophaphoom หลังจากฉาก “พระสังข์ถอดรูปและเริ่มตีคลี” ออกอากาศ นั่นก็ย่อมหมายความว่าบทบาทของตัวละคร “เจ้าเงาะ” ใน “สังข์ทอง 2561” จะต้องลดความสำคัญหรือสิ้นสุดยุติลง ในการนี้ เลยอยากจะขออำลา “เจ้าเงาะ” ด้วยความรู้เกี่ยวกับ “เงาะ” ในสังคมไทย ซึ่งอ่านเจอมาจากบทความ “คนอื่น” ในผืนดินตน : การเดินทางกับการจำแนกชาติพันธุ์ของราษฎรสยามตามถิ่นฐาน ระหว่าง พ.ศ.2428-2453 ในหนังสือ…
ในน้ำเน่ามีเงาจันทร์ ธงชัย วินิจจะกูล ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์-ความต่อเนื่อง-การแทนที่-ฟิล์มภาพยนตร์” 20 Nov 201620 Nov 2016 ต้นเรื่อง "...อาจารย์สายชล (สัตยานุรักษ์ - บล็อกคนมองหนัง) เข้าใจว่าการแทนที่หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่าอย่างรวดเร็วฉับพลัน ส่วนความต่อเนื่องหมายถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ขยับปรับตัวเป็นวิวัฒนาการในสังคมนั้นเอง อาจารย์สายชลยังเห็นว่าลักษณะแรกเกิดกับสังคมฝรั่ง ลักษณะหลังเกิดกับสังคมไทย อย่างแรกคือพวกที่เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นผลจากปัจจัยภายนอก ส่วนอย่างหลังเป็นผลของการคลี่คลายภายใน อาจารย์สายชลจึงวิพากษ์ผมว่า เอาทฤษฎีวิธีการฝรั่งมาใช้กับสังคมไทย..." ประวัติศาสตร์-ความต่อเนื่อง-การแทนที่-ฟิล์มภาพยนตร์ "...ขอยกตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเลย แต่เพื่อเป็นอุปมาว่าความต่อเนื่องกับการแทนที่นั้นบางกรณีอาจเป็นกระบวนการเดียวกันสนิท แยกไม่มีทางได้ ความต่างกลับอยู่ที่แง่มุมและวิธีการของตัวผู้ศึกษาเอง "ผู้อ่านทุกท่านเคยดูภาพยนตร์จอใหญ่มาแล้วทั้งนั้น คงไม่มีใครเถียงว่าความเคลื่อนไหวบนจอภาพยนตร์มีลักษณะต่อเนื่องราบเรียบ แต่ผู้พอมีความรู้พื้น ๆ ย่อมรู้ดีว่าความต่อเนื่องบนจอนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นผลของการที่ภาพนิ่งในกรอบต่าง ๆ กันบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาแทนที่กรอบก่อนหน้าในอัตราเร็วเกินกว่าสายตามนุษย์จะจับการเข้าแทนที่นั้นได้ "คิดในทางกลับกัน การเคลื่อนไหวของเวลาซึ่งดูเหมือนต่อเนื่องราบเรียบไปเรื่อย…
คนมองหนัง ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง” 6 Oct 20166 Oct 2016 ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ถูกชวนให้ไปดูหนังเรื่องนี้ในรอบพิเศษ เพื่อรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาฯ ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ เมื่อได้ดูหนังแล้ว ก็พบว่าเป็นงาน "ยาก" มากๆ ที่จะเรียบเรียง-ประมวลความคิดออกมา เพื่อเขียนถึงหนังเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เลยคิดว่า คงยังไม่เขียนบทความถึง "ดาวคะนอง" อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะได้ดูซ้ำอีกอย่างน้อยสักหนึ่งรอบในช่วงปลายปี ที่หนังจะเข้าฉายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อสังเกต-ความรู้สึกสั้นๆ ที่กระจัดกระจาย และไม่เป็นระบบระเบียบเท่าไหร่ครับ…
ตัวตลกในละครจักรๆ วงศ์ๆ “ตลกล้อเลียนอำนาจ” ยังมีอยู่ในละครจักรๆ วงศ์ๆ ไทย 27 Sep 201627 Sep 2016 ในส่วนหนึ่งของปาฐกถา "งานทางปัญญาในสังคมอับจนปัญญา" ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ตั้งข้อสังเกตกรณี "นักแสดงตลกเสียดสี" ในสังคมไทย ดังที่เว็บไซต์ประชาไทได้เก็บความเอาไว้ว่า "ความแตกต่างระหว่างหม่ำ จ๊กม๊ก กับพวก จอห์น วิญญู, จอห์น โอลิเวอร์, จอน สจ๊วต คือ อย่างแรกเป็นนักแสดงตลก อย่างหลังคือนักแสดงตลกเสียดสี ซึ่งอย่างหลังนี้ไม่เห็นในผังรายการทีวีไทย แต่สำหรับสังคมฝรั่งพวกนี้อยู่ในรายการช่วงไพรม์ไทม์ "การแสดงตลกของไทยมีแบบแผนการพัฒนาเหมือนกับทั่วโลก นั่นคือ มีตลกผู้ดีกับชาวบ้าน ลักษณะที่ต่างกันระหว่างสองอย่างนี้ คือ…